นายอานายาต อุลเลาะห์ (Enayat Ullah) อายุ 55 ปี รักษาการเลขาธิการสมาคมชาวพม่าเชื้อสายโรฮิงยา (Burmese Rohingya Association) BRAT. ในพื้นที่ชายแดนไทย–พม่า จ.ตาก กล่าวว่า ได้ส่งหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อให้นำประเด็นปัญหาชาวโรฮิงยาอพยพไปสู่เวทีการประชุมสุดยอมผู้นำอาเซียน โดยต้องการให้นายอภิสิทธิ์ ใช้เวทีอาเซียนคุยกับรัฐบาลพม่า ไม่ใช่รัฐบาลไทยคุยกับรัฐบาลพม่า เพราะปัญหาจะไม่จบ เพราะรัฐบาลพม่าไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในการเจรจาลำพังเพียง 2 ประเทศ ซึ่งรัฐบาลบังกลาเทศเคยคุยปัญหานี้กับรัฐบาลพม่าแล้ว แต่ไม่ได้ผล โดยทางสมาคมฯ ขอขอบคุณนายกรัฐมนตรีไทย ที่นำประเด็นปัญหานี้เข้าสู่เวทีอาเซียน
นายอานายาตกล่าวว่า อาเซียนควรตั้งคณะทำงานลงไปดูรากเหง้าของปัญหาที่ชาวโรฮิงยาอาศัยอยู่ในพม่า เพื่อจะได้รู้ข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร และถ้าหากประเทศไทยสามารถแก้ปัญหานี้ได้ ทำให้ไทยไม่ต้องรับผิดชอบ และชาวโรฮิงยาก็ไม่มาอีก และสิ่งที่ต้องแก้ไขคือให้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานกับชาวโรฮิงยา ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้รับการปฏิบัติเฉกเช่นมนุษย์ทั่วไป
สำหรับสมาคมชาวพม่าเชื้อสายโรฮิงยา มีนายอาลี ฮูเซ็น เป็นประธาน และคณะกรรมการกลุ่มหนึ่งที่มีการเคลื่อนไหวต่อสู้เรียกร้องความเป็นสิทธิเสรีให้ชาวโรฮิงยา
นายอานายาต กล่าวด้วยว่า ชาวโรฮิงยาเสียชีวิตไปจำนวนมากจากการทิ้งถิ่นฐานที่บ้านเกิด และประสบปัญหาเรืออับปาง โดยอพยพไปหลายประเทศ ส่วนเป้าหมายจริงๆ ไม่ใช่ประเทศไทย แต่เป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งมีชาวโรฮิงยาทิ้งภูมิลำเนาออกไปจากประเทศพม่ากว่า 1 ล้านคนแล้ว
นายอานายาตกล่าวว่า อาเซียนควรตั้งคณะทำงานลงไปดูรากเหง้าของปัญหาที่ชาวโรฮิงยาอาศัยอยู่ในพม่า เพื่อจะได้รู้ข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร และถ้าหากประเทศไทยสามารถแก้ปัญหานี้ได้ ทำให้ไทยไม่ต้องรับผิดชอบ และชาวโรฮิงยาก็ไม่มาอีก และสิ่งที่ต้องแก้ไขคือให้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานกับชาวโรฮิงยา ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้รับการปฏิบัติเฉกเช่นมนุษย์ทั่วไป
สำหรับสมาคมชาวพม่าเชื้อสายโรฮิงยา มีนายอาลี ฮูเซ็น เป็นประธาน และคณะกรรมการกลุ่มหนึ่งที่มีการเคลื่อนไหวต่อสู้เรียกร้องความเป็นสิทธิเสรีให้ชาวโรฮิงยา
นายอานายาต กล่าวด้วยว่า ชาวโรฮิงยาเสียชีวิตไปจำนวนมากจากการทิ้งถิ่นฐานที่บ้านเกิด และประสบปัญหาเรืออับปาง โดยอพยพไปหลายประเทศ ส่วนเป้าหมายจริงๆ ไม่ใช่ประเทศไทย แต่เป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งมีชาวโรฮิงยาทิ้งภูมิลำเนาออกไปจากประเทศพม่ากว่า 1 ล้านคนแล้ว