(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
China outward bound through Myanmar
By Brian McCartan
07/01/2011
ประเทศพม่าอยู่ในฐานะที่ทรงความสำคัญเป็นอย่างมาก ในแผนการอันใหญ่โตมโหฬารของปักกิ่งที่จะสร้างโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อระหว่างจีนกับบรรดาชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และดินแดนที่อยู่ถัดออกไปอีก ถ้าหากแผนการนี้เสร็จสมบูรณ์ได้ตามที่วาดวางเอาไว้ มันก็จะเป็นโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีขนาดใหญ่โตที่สุดในประวัติศาสตร์ทีเดียว อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งของโครงการนี้ ก็คือการที่ระบบรางรถไฟของพม่าและประเทศอื่นๆ ใช้ช่วงกว้างระหว่างรางที่แตกต่างกันอยู่
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**ส่วนเชื่อมต่อที่ยังขาดหายไป**
อุปสรรคใหญ่ประการหนึ่งสำหรับการดำเนินการตามแผนการสร้างโครงข่ายทางรถไฟต่อเชื่อมระหว่างภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และดินแดนที่เลยออกไปอีก ก็คือ การที่ปักกิ่งยืนกรานให้ใช้รางรถไฟที่มีช่วงกว้างระหว่างรางในมาตรฐานเดียวกันกับโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงภายในประเทศของจีน ในปัจจุบันระบบรางรถไฟในพม่าตลอดจนในชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ ต่างก็ใช้มาตรฐานช่วงกว้างระหว่างรางที่แตกต่างกันอยู่ นั่นหมายความว่าถ้าหากจะให้สามารถแล่นรถไฟต่อเชื่อมกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยแล้ว จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนรางปรับขนาดช่วงห่างของรางที่วางอยู่ในปัจจุบัน หรือไม่ก็ต้องถึงขั้นวางรางกันใหม่ไปเลย
อุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งได้แก่ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว รวมทั้งปัญหาที่ติดตามมาว่าจะแบ่งต้นทุนค่าใช้จ่ายให้แต่ละฝ่ายแบกรับกันอย่างไร มีรายงานว่าจีนกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาหารือกับบรรดาประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทั้ง 17 ประเทศ โดยมีการหารือทั้งในเรื่องเกี่ยวกับช่วงกว้างระหว่างราง, แนวทางรถไฟจะผ่านไปตรงไหนบ้าง, และการแบ่งปันแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตการณ์จำนวนมากรู้สึกข้องใจสงสัยต่อประมาณการที่หลายๆ ฝ่ายระบุว่า โครงข่ายอันมโหฬารใหญ่โตนี้สามารถที่จะสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ได้ภายในระยะเวลา 10 ปีต่อจากนี้ไป นอกจากนั้นปักกิ่งยังจะต้องให้ความมั่นอกมั่นใจว่าโครงข่ายทางรถไฟนี้สามารถทำอัตราผลกำไรที่ดีได้ในระยะยาว จึงจะบังเกิดเหตุผลความชอบธรรมที่จะทำให้โครงการนี้เดินหน้าไปได้ จวบจนถึงเวลานี้ โครงข่ายทางรถไฟที่จีนวางแผนเอาไว้ดังกล่าว ส่วนที่กำลังมีการดำเนินการก่อสร้างกันจริงๆ ก็มีเพียงเส้นทางติดต่อระหว่างมณฑลหยุนหนัน กับภาคเหนือของพม่าเท่านั้น
มีรายงานว่า จีนกำลังเสนอที่จะเป็นผู้ออกเงินทุนสำหรับการก่อสร้างเส้นทางรถไฟใหม่ๆ ตลอดจนการปรับปรุงยกระดับระบบรถไฟในปัจจุบันของพม่าให้ทันสมัย โดยแลกเปลี่ยนกับการที่แดนมังกรสามารถเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ซึ่งแดนหม่องมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ หวัง เมิ่งซู (Wang Mengshu) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่งเจียงถง (Beijing Jiaotong University) และก็เป็นสมาชิกคนสำคัญคนหนึ่งของบัณฑิตยสถานทางวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Engineering) ได้กล่าวกับนิตยสารรายสัปดาห์ “แดร์ สปิเกล” (Der Spiegel) ของเยอรมนีตั้งแต่เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วว่า “เราจะได้รับสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการของประชากรชาวจีนที่มีจำนวนมหึมา ตัวอย่างเช่น (พม่า) ไม่มีเงินแต่มีทรัพยากรต่างๆ อยู่มากมาย เราก็จะช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนาดังกล่าวเหล่านี้ในการสร้างทางรถไฟ และก็ขอใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของพวกเขา ประเทศจำนวนมากเลยมีน้ำมัน, ก๊าซ, และทรัพยากรน้ำ”
นอกเหนือจากการได้เส้นทางส่งออกอันขยายใหญ่โตขึ้นเป็นอันมาก สำหรับสินค้าจีนจากพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้อันห่างไกลและไม่มีทางออกทางทะเลของแดนมังกรแล้ว ผลประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนอีกด้านหนึ่ง ซึ่งจีนจะได้รับจากโครงข่ายทางรถไฟมหึมาเช่นนี้ ก็คือ ทางรถไฟเหล่านี้จะสามารถใช้เป็นช่องทางการขนส่งอันทรงประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในการนำเอาสินค้าทรัพยากรทางด้านพลังงานจากพวกประเทศซัปพลายเออร์ในตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกามาสู่แดนมังกร ท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ ค็อกส์ บาซาร์ (Cox's Bazaar) ในบังกลาเทศ หรือ จ๊อกเปียว (Kyaukphyu) และ ทวาย (Dawei) ในพม่า เมื่อเชื่อมกับเส้นทางรถไฟสายใหม่ๆ ดังกล่าวข้างต้น ก็จะสามารถตัดลดระยะทางการขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางและแอฟริกามายังจีนโดยทางทะเล ลงไปได้เกือบครึ่งหนึ่งทีเดียว
ท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ๆ และทางรถไฟเชื่อมต่อเหล่านี้ จึงเป็นการเสนอเส้นทางเลือกสำหรับการลำเลียงทรัพยากรที่ทรงความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของแดนมังกร ซึ่งสามารถที่จะหลีกเลี่ยงจุดบริเวณที่อาจสร้างปัญหาติดขัดเนื่องจากมีลักษณะเป็นคอขวดในการขนส่งทางทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณช่องแคบมะละกา ที่ปัจจุบันเป็นจุดที่สินค้าพลังงานนำเข้าของจีนจะต้องแล่นผ่านถึงประมาณ 80% ทั้งนี้พวกนักวิเคราะห์ทางด้านยุทธศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นมานานแล้วว่า สหรัฐฯสามารถที่จะปิดกั้นขัดขวางการเดินทางของสินค้าพลังงานเหล่านี้ได้อย่างไม่ยากลำบากอะไรนัก ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งเกิดการสู้รบกับจีนขึ้นมา
เวลานี้จีนกับบังกลาเทศมีการเจรจาหารือกันในเรื่องการสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างเมืองคุนหมิง กับโครงการท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ซึ่งกำลังก่อสร้างกันอยู่ที่เมืองค็อกส์ บาซาร์ โดยผ่านโครงข่ายทางรถไฟของประเทศพม่า ทั้งนี้ข้อตกลงที่เจรจาจัดทำกันระหว่างจีนกับบังกลาเทศยังไปไม่ถึงขั้นมีการลงนามผูกพันกัน แต่เป็นที่คาดหมายกันว่าเส้นทางรถไฟความยาวประมาณ 111 กิโลเมตรดังกล่าวนี้ น่าที่จะวางผ่านภาคตะวันออกของบังกลาเทศ ไปยังเมืองกุนดุม (Gundum) ในพม่า จากเมืองนี้ก็จะสามารถเชื่อมเข้ากับโครงข่ายทางรถไฟที่มีอยู่แล้วของแดนหม่อง หรือไม่ก็ต่อเข้ากับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่มีแผนการจะสร้างขึ้นมาใหม่
อันที่จริงไม่ว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากจีนหรือไม่ก็ตามที บังกลาเทศดูมีความกระตือรือร้นอยู่แล้วที่จะก่อสร้างทางรถไฟไปจรดพรมแดนพม่า เมื่อเดือนกรกฎาคม 2010 ทางการบังกลาเทศได้ประกาศแผนการสร้างทางรถไฟไปยังชายแดนติดต่อกับแดนหม่องภายในปี 2014 โดยประมาณการไว้ว่าจะสิ้นค่าใช้จ่ายราว 260 ล้านดอลลาร์ เส้นทางรถไฟรางเดี่ยวที่มีขนาดช่วงกว้างระหว่างราง 1 เมตรนี้ มีกำหนดเริ่มต้นกันตั้งแต่เดือนกรกฎาคม แต่ผู้สังเกตการณ์ชาวบังกลาเทศบางคนชี้ว่า เรื่องนี้อาจจะเป็นราคาคุยมากกว่าจะมีการลงมือทำอะไรจริงจัง อย่างไรก็ตาม เมื่อฝ่ายจีนทำท่าจะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่นนี้ มันก็น่าจะเป็นเสมือนการเพิ่มเติมเชื้อเพลิงทางการเงินอันสำคัญมากให้แก่แผนการของทางการบังกลาเทศ
ในระยะไม่กี่ปีหลังมานี้ สายสัมพันธ์ระหว่างบังกลาเทศกับพม่าอยู่ในสภาพมีปัญหาต่อกัน สืบเนื่องจากข้อพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่พรมแดนที่ประชิดติดกันของทั้งสองประเทศ, กรณีผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมโรฮิงยา (Muslim Rohingya) ที่ถูกขับไล่ออกมาจากพม่าจนต้องเข้ามาพักพิงกันในบังกลาเทศ, ตลอดจนการลักลอบขุดเจาะและข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ในแหล่งน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งอันมีมูลค่าสูงลิ่ว อย่างไรก็ดี ด้วยการเชื่อมต่อของรางรถไฟสายใหม่ มันอาจจะเป็นการเปิดช่องทางบางอย่างบางประการ ให้แก่การประสานโยงใยเศรษฐกิจของประเทศทั้งสองเข้าด้วยกัน และเป็นการลดทอนโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเกิดกรณีพิพาทเพิ่มขึ้นมาอีก
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการที่จีนแสดงตัวพร้อมทุ่มเทให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่โครงสร้างพื้นฐานด้านทางรถไฟของพม่าเช่นนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่อินเดียไม่อาจหยุดดูอยู่เฉยๆ ได้ แดนภารตะเองก็ได้อนุมัติให้ธนาคารเพื่อการส่งออก (EXIM Bank) ของตน ซึ่งมีฐานะเป็นรัฐวิสากิจ ปล่อยกู้แก่ทางการพม่าเป็นจำนวนร่วมๆ 60 ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้จ่ายในโครงการด้านทางรถไฟ การประกาศเรื่องเงินทุนก้อนนี้บังเกิดขึ้นในระหว่างที่ พล.อ.(พิเศษ) ตาน ฉ่วย ผู้นำของพม่าเดินทางไปเยือนกรุงนิวเดลีเมื่อไม่นานมานี้ โดยในการเดินทางเที่ยวนั้น ตาน ฉ่วย ได้พบปะกับเหล่าผู้นำอินเดียหลายคน รวมทั้งนายกรัฐมนตรีมานโมหัน ซิงห์
ความช่วยเหลือที่แดนภารตะให้แก่แดนหม่องคราวนี้ ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งในโครงการอันใหญ่โตมหึมาของอินเดียที่เรียกชื่อว่า โครงการความร่วมมือแม่น้ำโขง-แม่น้ำคงคา (Mekong-Ganga Cooperation ใช้อักษรย่อว่า MGC) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะให้กรุงนิวเดลีสามารถที่จะติดต่อกับกรุงฮานอยได้โดยทางรถไฟ ทั้งนี้อินเดียได้ลงนามในข้อตกลงฉบับหนึ่งที่ระบุถึงโครงการนี้เมื่อปี 2000 กับทางฝ่ายไทย, ลาว, พม่า, เวียดนาม, และกัมพูชา การที่อินเดียปล่อยสินเชื่อแก่พม่าเป็นจำนวน 56 ล้านดอลลาร์ เพื่อที่จะสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการรถไฟขึ้นในเขตภาคกลางและภาคตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดังกล่าว นอกจากนั้น แดนภารตะยังให้ความช่วยเหลือแดนหม่องในการปรับปรุงยกระดับเส้นทางรถไฟระหว่างเมืองย่างกุ้ง – เมืองมัณฑะเลย์ ในภาคกลางของพม่าให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
เพื่อให้อินเดียกับพม่ามีการเชื่อมต่อกันโดยทางรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศอินเดีย (Indian Railways) ได้เริ่มการเตรียมการเบื้องต้นสำหรับการขยายช่วงกว้างระหว่างรางของช่วงทางรถไฟตั้งแต่เมืองจิริบัม (Jiribam) ในรัฐมณีปุระ (Manipur) ที่อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของแดนภารตะ ไปจนถึงเมืองโมเรห์ (Moreh) ซึ่งอยู่บริเวณชายแดนติดพม่า ทางช่วงนี้จะเชื่อมต่อกับทางรถไฟที่เสนอกันไว้ให้สร้างสร้างขึ้นในพม่า โดยช่วงทางในพม่านั้นจะต่อออกจากเมืองเซจี (Segyi) ที่ตั้งอยู่ในเขตสะกาย (Sagaing Division) ทางภาคตะวันตกของแดนหม่อง ซึ่งเป็นจุดปลายทางรถไฟในปัจจุบัน ไปจนถึงเมืองตามู (Tamu) ที่อยู่ริมชายแดนพม่าติดกับอินเดีย
แต่การก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างอินเดียกับพม่าดังกล่าวนี้ ย่อมจะกลายเป็นการเปิดช่องทางให้สามารถทำการขนส่งสินค้าระหว่างอินเดียกับจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย ในปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียทั้งสองกำลังเติบโตขยายตัวอย่างรวดเร็ว เวลานี้จีนกลายเป็นชาติคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของอินเดียไปแล้ว โดยที่คาดการณ์กันว่าการค้าระหว่างสองประเทศได้บรรลุถึงระดับ 60,000 ล้านดอลลาร์ไปแล้วในปีที่ 2010 ที่ผ่านมา ขณะที่คู่แข่งทั้งสองรายนี้ต่างกำลังยื้อแย่งแผ่อิทธิพลในภูมิภาคแถบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพม่า เศรษฐกิจของพวกเขาก็กลับกำลังอยู่ในสภาพที่มีการพึ่งพาอาศัยกันและกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้มีเสียงร้องโวยวายจากพวกนักธุรกิจชาวอินเดียช่างจับผิดบางคน ที่บอกว่าการค้าของสองประเทศอยู่ในภาวะไม่สมดุล โดยที่ฝ่ายจีนเป็นฝ่ายได้เปรียบอย่างมาก
ไบรอัน แมคคาร์แทน เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระที่พำนักอยู่ในกรุงเทพฯ สามารถติดต่อเขาได้ทางอีเมล์ที่ brianpm@comcast.net
China outward bound through Myanmar
By Brian McCartan
07/01/2011
ประเทศพม่าอยู่ในฐานะที่ทรงความสำคัญเป็นอย่างมาก ในแผนการอันใหญ่โตมโหฬารของปักกิ่งที่จะสร้างโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อระหว่างจีนกับบรรดาชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และดินแดนที่อยู่ถัดออกไปอีก ถ้าหากแผนการนี้เสร็จสมบูรณ์ได้ตามที่วาดวางเอาไว้ มันก็จะเป็นโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีขนาดใหญ่โตที่สุดในประวัติศาสตร์ทีเดียว อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งของโครงการนี้ ก็คือการที่ระบบรางรถไฟของพม่าและประเทศอื่นๆ ใช้ช่วงกว้างระหว่างรางที่แตกต่างกันอยู่
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**ส่วนเชื่อมต่อที่ยังขาดหายไป**
อุปสรรคใหญ่ประการหนึ่งสำหรับการดำเนินการตามแผนการสร้างโครงข่ายทางรถไฟต่อเชื่อมระหว่างภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และดินแดนที่เลยออกไปอีก ก็คือ การที่ปักกิ่งยืนกรานให้ใช้รางรถไฟที่มีช่วงกว้างระหว่างรางในมาตรฐานเดียวกันกับโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงภายในประเทศของจีน ในปัจจุบันระบบรางรถไฟในพม่าตลอดจนในชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ ต่างก็ใช้มาตรฐานช่วงกว้างระหว่างรางที่แตกต่างกันอยู่ นั่นหมายความว่าถ้าหากจะให้สามารถแล่นรถไฟต่อเชื่อมกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยแล้ว จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนรางปรับขนาดช่วงห่างของรางที่วางอยู่ในปัจจุบัน หรือไม่ก็ต้องถึงขั้นวางรางกันใหม่ไปเลย
อุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งได้แก่ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว รวมทั้งปัญหาที่ติดตามมาว่าจะแบ่งต้นทุนค่าใช้จ่ายให้แต่ละฝ่ายแบกรับกันอย่างไร มีรายงานว่าจีนกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาหารือกับบรรดาประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทั้ง 17 ประเทศ โดยมีการหารือทั้งในเรื่องเกี่ยวกับช่วงกว้างระหว่างราง, แนวทางรถไฟจะผ่านไปตรงไหนบ้าง, และการแบ่งปันแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตการณ์จำนวนมากรู้สึกข้องใจสงสัยต่อประมาณการที่หลายๆ ฝ่ายระบุว่า โครงข่ายอันมโหฬารใหญ่โตนี้สามารถที่จะสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ได้ภายในระยะเวลา 10 ปีต่อจากนี้ไป นอกจากนั้นปักกิ่งยังจะต้องให้ความมั่นอกมั่นใจว่าโครงข่ายทางรถไฟนี้สามารถทำอัตราผลกำไรที่ดีได้ในระยะยาว จึงจะบังเกิดเหตุผลความชอบธรรมที่จะทำให้โครงการนี้เดินหน้าไปได้ จวบจนถึงเวลานี้ โครงข่ายทางรถไฟที่จีนวางแผนเอาไว้ดังกล่าว ส่วนที่กำลังมีการดำเนินการก่อสร้างกันจริงๆ ก็มีเพียงเส้นทางติดต่อระหว่างมณฑลหยุนหนัน กับภาคเหนือของพม่าเท่านั้น
มีรายงานว่า จีนกำลังเสนอที่จะเป็นผู้ออกเงินทุนสำหรับการก่อสร้างเส้นทางรถไฟใหม่ๆ ตลอดจนการปรับปรุงยกระดับระบบรถไฟในปัจจุบันของพม่าให้ทันสมัย โดยแลกเปลี่ยนกับการที่แดนมังกรสามารถเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ซึ่งแดนหม่องมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ หวัง เมิ่งซู (Wang Mengshu) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่งเจียงถง (Beijing Jiaotong University) และก็เป็นสมาชิกคนสำคัญคนหนึ่งของบัณฑิตยสถานทางวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Engineering) ได้กล่าวกับนิตยสารรายสัปดาห์ “แดร์ สปิเกล” (Der Spiegel) ของเยอรมนีตั้งแต่เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วว่า “เราจะได้รับสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการของประชากรชาวจีนที่มีจำนวนมหึมา ตัวอย่างเช่น (พม่า) ไม่มีเงินแต่มีทรัพยากรต่างๆ อยู่มากมาย เราก็จะช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนาดังกล่าวเหล่านี้ในการสร้างทางรถไฟ และก็ขอใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของพวกเขา ประเทศจำนวนมากเลยมีน้ำมัน, ก๊าซ, และทรัพยากรน้ำ”
นอกเหนือจากการได้เส้นทางส่งออกอันขยายใหญ่โตขึ้นเป็นอันมาก สำหรับสินค้าจีนจากพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้อันห่างไกลและไม่มีทางออกทางทะเลของแดนมังกรแล้ว ผลประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนอีกด้านหนึ่ง ซึ่งจีนจะได้รับจากโครงข่ายทางรถไฟมหึมาเช่นนี้ ก็คือ ทางรถไฟเหล่านี้จะสามารถใช้เป็นช่องทางการขนส่งอันทรงประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในการนำเอาสินค้าทรัพยากรทางด้านพลังงานจากพวกประเทศซัปพลายเออร์ในตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกามาสู่แดนมังกร ท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ ค็อกส์ บาซาร์ (Cox's Bazaar) ในบังกลาเทศ หรือ จ๊อกเปียว (Kyaukphyu) และ ทวาย (Dawei) ในพม่า เมื่อเชื่อมกับเส้นทางรถไฟสายใหม่ๆ ดังกล่าวข้างต้น ก็จะสามารถตัดลดระยะทางการขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางและแอฟริกามายังจีนโดยทางทะเล ลงไปได้เกือบครึ่งหนึ่งทีเดียว
ท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ๆ และทางรถไฟเชื่อมต่อเหล่านี้ จึงเป็นการเสนอเส้นทางเลือกสำหรับการลำเลียงทรัพยากรที่ทรงความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของแดนมังกร ซึ่งสามารถที่จะหลีกเลี่ยงจุดบริเวณที่อาจสร้างปัญหาติดขัดเนื่องจากมีลักษณะเป็นคอขวดในการขนส่งทางทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณช่องแคบมะละกา ที่ปัจจุบันเป็นจุดที่สินค้าพลังงานนำเข้าของจีนจะต้องแล่นผ่านถึงประมาณ 80% ทั้งนี้พวกนักวิเคราะห์ทางด้านยุทธศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นมานานแล้วว่า สหรัฐฯสามารถที่จะปิดกั้นขัดขวางการเดินทางของสินค้าพลังงานเหล่านี้ได้อย่างไม่ยากลำบากอะไรนัก ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งเกิดการสู้รบกับจีนขึ้นมา
เวลานี้จีนกับบังกลาเทศมีการเจรจาหารือกันในเรื่องการสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างเมืองคุนหมิง กับโครงการท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ซึ่งกำลังก่อสร้างกันอยู่ที่เมืองค็อกส์ บาซาร์ โดยผ่านโครงข่ายทางรถไฟของประเทศพม่า ทั้งนี้ข้อตกลงที่เจรจาจัดทำกันระหว่างจีนกับบังกลาเทศยังไปไม่ถึงขั้นมีการลงนามผูกพันกัน แต่เป็นที่คาดหมายกันว่าเส้นทางรถไฟความยาวประมาณ 111 กิโลเมตรดังกล่าวนี้ น่าที่จะวางผ่านภาคตะวันออกของบังกลาเทศ ไปยังเมืองกุนดุม (Gundum) ในพม่า จากเมืองนี้ก็จะสามารถเชื่อมเข้ากับโครงข่ายทางรถไฟที่มีอยู่แล้วของแดนหม่อง หรือไม่ก็ต่อเข้ากับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่มีแผนการจะสร้างขึ้นมาใหม่
อันที่จริงไม่ว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากจีนหรือไม่ก็ตามที บังกลาเทศดูมีความกระตือรือร้นอยู่แล้วที่จะก่อสร้างทางรถไฟไปจรดพรมแดนพม่า เมื่อเดือนกรกฎาคม 2010 ทางการบังกลาเทศได้ประกาศแผนการสร้างทางรถไฟไปยังชายแดนติดต่อกับแดนหม่องภายในปี 2014 โดยประมาณการไว้ว่าจะสิ้นค่าใช้จ่ายราว 260 ล้านดอลลาร์ เส้นทางรถไฟรางเดี่ยวที่มีขนาดช่วงกว้างระหว่างราง 1 เมตรนี้ มีกำหนดเริ่มต้นกันตั้งแต่เดือนกรกฎาคม แต่ผู้สังเกตการณ์ชาวบังกลาเทศบางคนชี้ว่า เรื่องนี้อาจจะเป็นราคาคุยมากกว่าจะมีการลงมือทำอะไรจริงจัง อย่างไรก็ตาม เมื่อฝ่ายจีนทำท่าจะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่นนี้ มันก็น่าจะเป็นเสมือนการเพิ่มเติมเชื้อเพลิงทางการเงินอันสำคัญมากให้แก่แผนการของทางการบังกลาเทศ
ในระยะไม่กี่ปีหลังมานี้ สายสัมพันธ์ระหว่างบังกลาเทศกับพม่าอยู่ในสภาพมีปัญหาต่อกัน สืบเนื่องจากข้อพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่พรมแดนที่ประชิดติดกันของทั้งสองประเทศ, กรณีผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมโรฮิงยา (Muslim Rohingya) ที่ถูกขับไล่ออกมาจากพม่าจนต้องเข้ามาพักพิงกันในบังกลาเทศ, ตลอดจนการลักลอบขุดเจาะและข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ในแหล่งน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งอันมีมูลค่าสูงลิ่ว อย่างไรก็ดี ด้วยการเชื่อมต่อของรางรถไฟสายใหม่ มันอาจจะเป็นการเปิดช่องทางบางอย่างบางประการ ให้แก่การประสานโยงใยเศรษฐกิจของประเทศทั้งสองเข้าด้วยกัน และเป็นการลดทอนโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเกิดกรณีพิพาทเพิ่มขึ้นมาอีก
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการที่จีนแสดงตัวพร้อมทุ่มเทให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่โครงสร้างพื้นฐานด้านทางรถไฟของพม่าเช่นนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่อินเดียไม่อาจหยุดดูอยู่เฉยๆ ได้ แดนภารตะเองก็ได้อนุมัติให้ธนาคารเพื่อการส่งออก (EXIM Bank) ของตน ซึ่งมีฐานะเป็นรัฐวิสากิจ ปล่อยกู้แก่ทางการพม่าเป็นจำนวนร่วมๆ 60 ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้จ่ายในโครงการด้านทางรถไฟ การประกาศเรื่องเงินทุนก้อนนี้บังเกิดขึ้นในระหว่างที่ พล.อ.(พิเศษ) ตาน ฉ่วย ผู้นำของพม่าเดินทางไปเยือนกรุงนิวเดลีเมื่อไม่นานมานี้ โดยในการเดินทางเที่ยวนั้น ตาน ฉ่วย ได้พบปะกับเหล่าผู้นำอินเดียหลายคน รวมทั้งนายกรัฐมนตรีมานโมหัน ซิงห์
ความช่วยเหลือที่แดนภารตะให้แก่แดนหม่องคราวนี้ ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งในโครงการอันใหญ่โตมหึมาของอินเดียที่เรียกชื่อว่า โครงการความร่วมมือแม่น้ำโขง-แม่น้ำคงคา (Mekong-Ganga Cooperation ใช้อักษรย่อว่า MGC) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะให้กรุงนิวเดลีสามารถที่จะติดต่อกับกรุงฮานอยได้โดยทางรถไฟ ทั้งนี้อินเดียได้ลงนามในข้อตกลงฉบับหนึ่งที่ระบุถึงโครงการนี้เมื่อปี 2000 กับทางฝ่ายไทย, ลาว, พม่า, เวียดนาม, และกัมพูชา การที่อินเดียปล่อยสินเชื่อแก่พม่าเป็นจำนวน 56 ล้านดอลลาร์ เพื่อที่จะสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการรถไฟขึ้นในเขตภาคกลางและภาคตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดังกล่าว นอกจากนั้น แดนภารตะยังให้ความช่วยเหลือแดนหม่องในการปรับปรุงยกระดับเส้นทางรถไฟระหว่างเมืองย่างกุ้ง – เมืองมัณฑะเลย์ ในภาคกลางของพม่าให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
เพื่อให้อินเดียกับพม่ามีการเชื่อมต่อกันโดยทางรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศอินเดีย (Indian Railways) ได้เริ่มการเตรียมการเบื้องต้นสำหรับการขยายช่วงกว้างระหว่างรางของช่วงทางรถไฟตั้งแต่เมืองจิริบัม (Jiribam) ในรัฐมณีปุระ (Manipur) ที่อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของแดนภารตะ ไปจนถึงเมืองโมเรห์ (Moreh) ซึ่งอยู่บริเวณชายแดนติดพม่า ทางช่วงนี้จะเชื่อมต่อกับทางรถไฟที่เสนอกันไว้ให้สร้างสร้างขึ้นในพม่า โดยช่วงทางในพม่านั้นจะต่อออกจากเมืองเซจี (Segyi) ที่ตั้งอยู่ในเขตสะกาย (Sagaing Division) ทางภาคตะวันตกของแดนหม่อง ซึ่งเป็นจุดปลายทางรถไฟในปัจจุบัน ไปจนถึงเมืองตามู (Tamu) ที่อยู่ริมชายแดนพม่าติดกับอินเดีย
แต่การก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างอินเดียกับพม่าดังกล่าวนี้ ย่อมจะกลายเป็นการเปิดช่องทางให้สามารถทำการขนส่งสินค้าระหว่างอินเดียกับจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย ในปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียทั้งสองกำลังเติบโตขยายตัวอย่างรวดเร็ว เวลานี้จีนกลายเป็นชาติคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของอินเดียไปแล้ว โดยที่คาดการณ์กันว่าการค้าระหว่างสองประเทศได้บรรลุถึงระดับ 60,000 ล้านดอลลาร์ไปแล้วในปีที่ 2010 ที่ผ่านมา ขณะที่คู่แข่งทั้งสองรายนี้ต่างกำลังยื้อแย่งแผ่อิทธิพลในภูมิภาคแถบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพม่า เศรษฐกิจของพวกเขาก็กลับกำลังอยู่ในสภาพที่มีการพึ่งพาอาศัยกันและกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้มีเสียงร้องโวยวายจากพวกนักธุรกิจชาวอินเดียช่างจับผิดบางคน ที่บอกว่าการค้าของสองประเทศอยู่ในภาวะไม่สมดุล โดยที่ฝ่ายจีนเป็นฝ่ายได้เปรียบอย่างมาก
ไบรอัน แมคคาร์แทน เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระที่พำนักอยู่ในกรุงเทพฯ สามารถติดต่อเขาได้ทางอีเมล์ที่ brianpm@comcast.net