(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
China outward bound through Myanmar
By Brian McCartan
07/01/2011
ประเทศพม่าอยู่ในฐานะที่ทรงความสำคัญเป็นอย่างมาก ในแผนการอันใหญ่โตมโหฬารของปักกิ่งที่จะสร้างโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อระหว่างจีนกับบรรดาชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และดินแดนที่อยู่ถัดออกไปอีก ถ้าหากแผนการนี้เสร็จสมบูรณ์ได้ตามที่วาดวางเอาไว้ มันก็จะเป็นโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีขนาดใหญ่โตที่สุดในประวัติศาสตร์ทีเดียว อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งของโครงการนี้ ก็คือการที่ระบบรางรถไฟของพม่าและประเทศอื่นๆ ใช้ช่วงกว้างระหว่างรางที่แตกต่างกันอยู่
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
เชียงใหม่ - พม่ากำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมด้วยระบบรางรถไฟแห่งสำคัญแห่งหนึ่งในระดับภูมิภาค โดยจะเป็นจุดเชื่อมต่อจีนและอินเดียเข้ากับตลาดต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดินแดนที่อยู่ถัดออกไปอีก ทั้งนี้ถ้าหากแผนการลงทุนต่างๆ ที่กำลังเสนอกันอยู่ในเวลานี้จักบังเกิดผลขึ้นมาได้จริง และก็เฉกเช่นเดียวกับการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ จำนวนมากมายในภูมิภาคแถบนี้ ผู้ที่เป็นพลังขับดันอยู่เบื้องหลังการออกแบบอันใหญ่โตมโหฬารในเรื่องนี้ก็คือปักกิ่งเจ้าเก่า
จีนกำลังวางแผนการที่จะก่อสร้างเส้นทางรถไฟจำนวนมาก ซึ่งจะเชื่อมต่อภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้อันห่างไกลของตน เข้ากับเมืองท่าต่างๆ ในพม่า แล้วต่อไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการวางแผนกำหนดให้มีเส้นทางรถไฟสายสำคัญสายหนึ่งโยงต่อเมืองคุนหมิง (เมืองหลวงของมณฑลหยุนหนัน ที่อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของแดนมังกร) เข้ากับท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่รวมทั้งพื้นที่เขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพิเศษ ซึ่งกำลังก่อสร้างกันอยู่ที่เมืองจ๊อกเปียว (Kyaukpyu) บนชายฝั่งด้านตะวันตกของพม่า
แผนการสร้างเส้นทางรถไฟสายนี้ได้รับการกระจายข่าวเป็นครั้งแรกในนิตยสารรายสัปดาห์ “วีกลี อีเลฟเวน นิวส์” (Weekly Eleven News) ของพม่าเมื่อวันที่ 16 ตุลาคมปีที่แล้ว โดยเป็นที่คาดหมายกันว่าจะสร้างแล้วเสร็จในปี 2015 นอกจากนั้นจีนยังเกี่ยวข้องกับการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและเขตอุตสาหกรรมที่จ๊อกเปียวด้วย ทั้งเส้นทางรถไฟ, ท่าเรือน้ำลึก, และเขตอุตสาหกรรมดังที่กล่าวมา ถือเป็นส่วนหนึ่งในแผนการของแดนมังกรที่จะพัฒนาช่องทางทางการค้าให้แก่ภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่ไร้ทางออกทางทะเลของตน รวมทั้งยังจะใช้เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าน้ำมันและก๊าซ โดยจะมีการเชื่อมต่อไปยังสายท่อส่งน้ำมันและก๊าซซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
นอกจากทางรถไฟคุนหมิง-จ๊อกเปียว ยังมีการวางแผนสร้างเส้นทางรางรถไฟอีกเส้นหนึ่งเชื่อมต่อเมืองคุนหมิงเข้ากับเมืองย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวงเก่าและเมืองท่าใหญ่ของพม่า คิดเป็นระยะทาง 1,920 กิโลเมตร การก่อสร้างน่าที่จะอาศัยเส้นทางรถไฟสายเหนือ-ใต้ที่มีอยู่แล้วของพม่า แทนที่จะต้องวางรางวางเส้นทางกันใหม่หมด
ทางรถไฟเส้นนี้ยังจะต่อเข้ากับเส้นทางรถไฟสายซึ่งเชื่อมโยงไปสู่โครงการท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ที่เมืองทวาย (Dawei) บนชายฝั่งด้านใต้ของพม่า ทั้งนี้ส่วนประกอบสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของโครงการท่าเรือแห่งนี้ตามที่ได้มีการแถลงกันไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ก็คือจะมีการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ระหว่างทวายกับกรุงเทพฯ
ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังมีการวางแผนการสร้างทางรถไฟติดต่อระหว่างภาคตะวันตกเฉียงใต้ของแดนมังกรกับดินแดนพม่าเส้นที่สาม โดยรางรถไฟของสายนี้จะทอดผ่านรัฐฉาน (Shan State) ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของพม่า ทั้งนี้จากจุดเริ่มต้นที่เมืองคุนหมิง ทางรถไฟสายนี้เมื่อผ่านรัฐฉานแล้วก็จะมาจนถึงจังหวัดเชียงรายทางภาคเหนือของประเทศไทย และจากเชียงรายก็จะโยงเข้าสู่โครงข่ายรางรถไฟของไทยได้ เส้นทางคุนหมิง-เชียงรายสายนี้เมื่อบวกเข้ากับอีกเส้นหนึ่งที่ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการสำรวจวางแนวทางในประเทศลาว ก็จะทำให้สามารถขนส่งสินค้าด้วยรางรถไฟระหว่างจีน, กัมพูชา, พม่า, ไทย, ลาว, มาเลเซีย, และสิงคโปร์
หวัง เมิ่งซู (Wang Mengshu) นักวิชาการของบัณฑิตยสถานทางวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Engineering) ได้กล่าวกับสื่อมวลชนจีนในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาว่า “คณะผู้แทนที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงการรถไฟ (Ministry of Railroads) ได้ไปเยือน (พม่า) และลาวในกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อดำเนินการสำรวจ และทันทีที่มีการกำหนดแนวเส้นทางรถไฟระหว่างจีน-พม่าแล้ว การก่อสร้างก็สามารถเริ่มต้นได้อย่างเร็วที่สุดคือภายในเวลา 2 เดือน โดยที่เส้นทางสายนี้น่าที่จะกลายเป็นเส้นทางขนส่งสายหลักที่ทำให้จีนเชื่อมต่อด้วยทางรถไฟกับประเทศทั้งหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
นอกเหนือจากพวกเส้นทางรถไฟซึ่งออกมาจากเมืองคุนมิงดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีแผนการทำทางรถไฟเพิ่มเติมอีก 2 เส้นที่จะโยงภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเข้ากับโครงข่ายรางรถไฟของพม่า โดยเป็นเส้นทางจากเมืองตาหลี่ ของจีน ไปยังเมืองมีตจีนา (Myitkyina) และเมืองลาเฉียว (Lashio) ของพม่า เมืองทั้ง 2 แห่งนี้ของพม่าต่างก็เป็นศูนย์กลางการค้าขนาดใหญ่และเป็นปลายทางของทางรถไฟ
ไม่เฉพาะแต่เรื่องเส้นทางรางรถไฟผ่านพม่า แดนมังกรยังกำลังให้ความช่วยเหลือเพื่อยกระดับอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือเกี่ยวกับรถไฟของแดนหม่องให้ทันสมัยยิ่งขึ้นด้วย เป็นต้นว่า ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ปักกิ่งได้บริจาคหัวรถจักร 30 หัวจากกรมการขนส่งทางรถไฟของจีน เพื่อเป็น “ของขวัญแห่งมิตรภาพ” ให้แก่พม่า ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวซินหวาของทางการจีน
เมื่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ เส้นทางรถไฟใหม่ๆ เหล่านี้ก็จะยิ่งกระชับสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่จีนมีอยู่กับพม่าให้แข็งแกร่งขึ้นอีกมาก อีกทั้งยังจะร่วมส่วนในการบูรณาการเศรษฐกิจของภูมิภาคแถบนี้ด้วย ประเทศจีนเองก็กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินโครงการที่ประมาณการกันว่ามีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อขยายระบบทางรถไฟภายในประเทศ จากที่มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 78,000 กิโลเมตรในปัจจุบัน ให้เป็น 110,000 กิโลเมตรภายในปี 2012 และเป็น 120,000 กิโลเมตรภายในปี 2020 โครงการอันมหึมานี้ยังตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้ว่า จะต้องทำให้เมืองใหญ่เมืองสำคัญทั้งหมดในแดนมังกรสามารถติดต่อเชื่อมโยงกันด้วยทางรถไฟความเร็วสูง (high-speed line) ซึ่งสามารถรองรับขบวนรถไฟที่แล่นด้วยความเร็วเกินกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมก็จะเห็นได้ว่า พม่าอยู่ในฐานะที่ทรงความสำคัญเป็นพิเศษในแผนการอันใหญ่โตมโหฬารของปักกิ่งที่จะก่อสร้างโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงซึ่งเชื่อมโยงจีนเข้ากับบรรดาชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้, ตะวันออกกลาง, และยุโรป อันที่จริงหลายๆ ส่วนของโครงข่ายนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่ผ่านประเทศพม่านั้น สอดคล้องต้องกันกับแผนการริเริ่มจัดทำเส้นทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย (Trans-Asian Railway initiative) รวมระยะทางทั้งสิ้นราว 14,000 กิโลเมตร ซึ่งสำนักงานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ สำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific ใช้อักษรย่อว่า UNESCAP หรือย่อกันยิ่งกว่านั้นว่า ESCAP) ได้เสนอกันขึ้นมาเป็นครั้งแรกตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 ถ้าหากเสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามแผนการได้เมื่อใด มันก็จะกลายเป็นโครงการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ทีเดียว
เส้นทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย จะมีแนวเส้นทางอย่างไรแน่ๆ เวลานี้ยังคงไม่เป็นที่กระจ่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ย่อมหนีไม่พ้นว่าโครงข่ายนี้จะต้องไปตามทิศทางใหญ่ๆ รวม 3 ทิศทาง กล่าวคือ แนวเส้นทางสายเหนือจะแผ่ขยายผ่านมองโกเลีย, คาซัคสถาน, รัสเซีย, ยูเครน และต่อออกไปเชื่อมโยงกับโครงข่ายทางรถไฟของยุโรป สำหรับแนวเส้นทางสายกลางจะผ่านพม่า, บังกลาเทศ, อินเดีย, ปากีสถาน, อิหร่าน, ไปจนถึงตุรกี ส่วนแนวเส้นทางสายใต้จะออกจากจีนไปจนถึงสิงคโปร์ โดยผ่านพม่า, ลาว, เวียดนาม, และไทย ในปัจจุบันจีนมีเส้นทางรถไฟที่สามารถเชื่อมต่อกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็คือผ่านไปทางเวียดนามเท่านั้น
ไบรอัน แมคคาร์แทน เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระที่พำนักอยู่ในกรุงเทพฯ สามารถติดต่อเขาได้ทางอีเมล์ที่ brianpm@comcast.net
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
China outward bound through Myanmar
By Brian McCartan
07/01/2011
ประเทศพม่าอยู่ในฐานะที่ทรงความสำคัญเป็นอย่างมาก ในแผนการอันใหญ่โตมโหฬารของปักกิ่งที่จะสร้างโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อระหว่างจีนกับบรรดาชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และดินแดนที่อยู่ถัดออกไปอีก ถ้าหากแผนการนี้เสร็จสมบูรณ์ได้ตามที่วาดวางเอาไว้ มันก็จะเป็นโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีขนาดใหญ่โตที่สุดในประวัติศาสตร์ทีเดียว อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งของโครงการนี้ ก็คือการที่ระบบรางรถไฟของพม่าและประเทศอื่นๆ ใช้ช่วงกว้างระหว่างรางที่แตกต่างกันอยู่
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
เชียงใหม่ - พม่ากำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมด้วยระบบรางรถไฟแห่งสำคัญแห่งหนึ่งในระดับภูมิภาค โดยจะเป็นจุดเชื่อมต่อจีนและอินเดียเข้ากับตลาดต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดินแดนที่อยู่ถัดออกไปอีก ทั้งนี้ถ้าหากแผนการลงทุนต่างๆ ที่กำลังเสนอกันอยู่ในเวลานี้จักบังเกิดผลขึ้นมาได้จริง และก็เฉกเช่นเดียวกับการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ จำนวนมากมายในภูมิภาคแถบนี้ ผู้ที่เป็นพลังขับดันอยู่เบื้องหลังการออกแบบอันใหญ่โตมโหฬารในเรื่องนี้ก็คือปักกิ่งเจ้าเก่า
จีนกำลังวางแผนการที่จะก่อสร้างเส้นทางรถไฟจำนวนมาก ซึ่งจะเชื่อมต่อภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้อันห่างไกลของตน เข้ากับเมืองท่าต่างๆ ในพม่า แล้วต่อไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการวางแผนกำหนดให้มีเส้นทางรถไฟสายสำคัญสายหนึ่งโยงต่อเมืองคุนหมิง (เมืองหลวงของมณฑลหยุนหนัน ที่อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของแดนมังกร) เข้ากับท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่รวมทั้งพื้นที่เขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพิเศษ ซึ่งกำลังก่อสร้างกันอยู่ที่เมืองจ๊อกเปียว (Kyaukpyu) บนชายฝั่งด้านตะวันตกของพม่า
แผนการสร้างเส้นทางรถไฟสายนี้ได้รับการกระจายข่าวเป็นครั้งแรกในนิตยสารรายสัปดาห์ “วีกลี อีเลฟเวน นิวส์” (Weekly Eleven News) ของพม่าเมื่อวันที่ 16 ตุลาคมปีที่แล้ว โดยเป็นที่คาดหมายกันว่าจะสร้างแล้วเสร็จในปี 2015 นอกจากนั้นจีนยังเกี่ยวข้องกับการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและเขตอุตสาหกรรมที่จ๊อกเปียวด้วย ทั้งเส้นทางรถไฟ, ท่าเรือน้ำลึก, และเขตอุตสาหกรรมดังที่กล่าวมา ถือเป็นส่วนหนึ่งในแผนการของแดนมังกรที่จะพัฒนาช่องทางทางการค้าให้แก่ภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่ไร้ทางออกทางทะเลของตน รวมทั้งยังจะใช้เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าน้ำมันและก๊าซ โดยจะมีการเชื่อมต่อไปยังสายท่อส่งน้ำมันและก๊าซซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
นอกจากทางรถไฟคุนหมิง-จ๊อกเปียว ยังมีการวางแผนสร้างเส้นทางรางรถไฟอีกเส้นหนึ่งเชื่อมต่อเมืองคุนหมิงเข้ากับเมืองย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวงเก่าและเมืองท่าใหญ่ของพม่า คิดเป็นระยะทาง 1,920 กิโลเมตร การก่อสร้างน่าที่จะอาศัยเส้นทางรถไฟสายเหนือ-ใต้ที่มีอยู่แล้วของพม่า แทนที่จะต้องวางรางวางเส้นทางกันใหม่หมด
ทางรถไฟเส้นนี้ยังจะต่อเข้ากับเส้นทางรถไฟสายซึ่งเชื่อมโยงไปสู่โครงการท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ที่เมืองทวาย (Dawei) บนชายฝั่งด้านใต้ของพม่า ทั้งนี้ส่วนประกอบสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของโครงการท่าเรือแห่งนี้ตามที่ได้มีการแถลงกันไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ก็คือจะมีการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ระหว่างทวายกับกรุงเทพฯ
ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังมีการวางแผนการสร้างทางรถไฟติดต่อระหว่างภาคตะวันตกเฉียงใต้ของแดนมังกรกับดินแดนพม่าเส้นที่สาม โดยรางรถไฟของสายนี้จะทอดผ่านรัฐฉาน (Shan State) ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของพม่า ทั้งนี้จากจุดเริ่มต้นที่เมืองคุนหมิง ทางรถไฟสายนี้เมื่อผ่านรัฐฉานแล้วก็จะมาจนถึงจังหวัดเชียงรายทางภาคเหนือของประเทศไทย และจากเชียงรายก็จะโยงเข้าสู่โครงข่ายรางรถไฟของไทยได้ เส้นทางคุนหมิง-เชียงรายสายนี้เมื่อบวกเข้ากับอีกเส้นหนึ่งที่ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการสำรวจวางแนวทางในประเทศลาว ก็จะทำให้สามารถขนส่งสินค้าด้วยรางรถไฟระหว่างจีน, กัมพูชา, พม่า, ไทย, ลาว, มาเลเซีย, และสิงคโปร์
หวัง เมิ่งซู (Wang Mengshu) นักวิชาการของบัณฑิตยสถานทางวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Engineering) ได้กล่าวกับสื่อมวลชนจีนในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาว่า “คณะผู้แทนที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงการรถไฟ (Ministry of Railroads) ได้ไปเยือน (พม่า) และลาวในกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อดำเนินการสำรวจ และทันทีที่มีการกำหนดแนวเส้นทางรถไฟระหว่างจีน-พม่าแล้ว การก่อสร้างก็สามารถเริ่มต้นได้อย่างเร็วที่สุดคือภายในเวลา 2 เดือน โดยที่เส้นทางสายนี้น่าที่จะกลายเป็นเส้นทางขนส่งสายหลักที่ทำให้จีนเชื่อมต่อด้วยทางรถไฟกับประเทศทั้งหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
นอกเหนือจากพวกเส้นทางรถไฟซึ่งออกมาจากเมืองคุนมิงดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีแผนการทำทางรถไฟเพิ่มเติมอีก 2 เส้นที่จะโยงภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเข้ากับโครงข่ายรางรถไฟของพม่า โดยเป็นเส้นทางจากเมืองตาหลี่ ของจีน ไปยังเมืองมีตจีนา (Myitkyina) และเมืองลาเฉียว (Lashio) ของพม่า เมืองทั้ง 2 แห่งนี้ของพม่าต่างก็เป็นศูนย์กลางการค้าขนาดใหญ่และเป็นปลายทางของทางรถไฟ
ไม่เฉพาะแต่เรื่องเส้นทางรางรถไฟผ่านพม่า แดนมังกรยังกำลังให้ความช่วยเหลือเพื่อยกระดับอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือเกี่ยวกับรถไฟของแดนหม่องให้ทันสมัยยิ่งขึ้นด้วย เป็นต้นว่า ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ปักกิ่งได้บริจาคหัวรถจักร 30 หัวจากกรมการขนส่งทางรถไฟของจีน เพื่อเป็น “ของขวัญแห่งมิตรภาพ” ให้แก่พม่า ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวซินหวาของทางการจีน
เมื่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ เส้นทางรถไฟใหม่ๆ เหล่านี้ก็จะยิ่งกระชับสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่จีนมีอยู่กับพม่าให้แข็งแกร่งขึ้นอีกมาก อีกทั้งยังจะร่วมส่วนในการบูรณาการเศรษฐกิจของภูมิภาคแถบนี้ด้วย ประเทศจีนเองก็กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินโครงการที่ประมาณการกันว่ามีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อขยายระบบทางรถไฟภายในประเทศ จากที่มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 78,000 กิโลเมตรในปัจจุบัน ให้เป็น 110,000 กิโลเมตรภายในปี 2012 และเป็น 120,000 กิโลเมตรภายในปี 2020 โครงการอันมหึมานี้ยังตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้ว่า จะต้องทำให้เมืองใหญ่เมืองสำคัญทั้งหมดในแดนมังกรสามารถติดต่อเชื่อมโยงกันด้วยทางรถไฟความเร็วสูง (high-speed line) ซึ่งสามารถรองรับขบวนรถไฟที่แล่นด้วยความเร็วเกินกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมก็จะเห็นได้ว่า พม่าอยู่ในฐานะที่ทรงความสำคัญเป็นพิเศษในแผนการอันใหญ่โตมโหฬารของปักกิ่งที่จะก่อสร้างโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงซึ่งเชื่อมโยงจีนเข้ากับบรรดาชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้, ตะวันออกกลาง, และยุโรป อันที่จริงหลายๆ ส่วนของโครงข่ายนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่ผ่านประเทศพม่านั้น สอดคล้องต้องกันกับแผนการริเริ่มจัดทำเส้นทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย (Trans-Asian Railway initiative) รวมระยะทางทั้งสิ้นราว 14,000 กิโลเมตร ซึ่งสำนักงานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ สำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific ใช้อักษรย่อว่า UNESCAP หรือย่อกันยิ่งกว่านั้นว่า ESCAP) ได้เสนอกันขึ้นมาเป็นครั้งแรกตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 ถ้าหากเสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามแผนการได้เมื่อใด มันก็จะกลายเป็นโครงการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ทีเดียว
เส้นทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย จะมีแนวเส้นทางอย่างไรแน่ๆ เวลานี้ยังคงไม่เป็นที่กระจ่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ย่อมหนีไม่พ้นว่าโครงข่ายนี้จะต้องไปตามทิศทางใหญ่ๆ รวม 3 ทิศทาง กล่าวคือ แนวเส้นทางสายเหนือจะแผ่ขยายผ่านมองโกเลีย, คาซัคสถาน, รัสเซีย, ยูเครน และต่อออกไปเชื่อมโยงกับโครงข่ายทางรถไฟของยุโรป สำหรับแนวเส้นทางสายกลางจะผ่านพม่า, บังกลาเทศ, อินเดีย, ปากีสถาน, อิหร่าน, ไปจนถึงตุรกี ส่วนแนวเส้นทางสายใต้จะออกจากจีนไปจนถึงสิงคโปร์ โดยผ่านพม่า, ลาว, เวียดนาม, และไทย ในปัจจุบันจีนมีเส้นทางรถไฟที่สามารถเชื่อมต่อกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็คือผ่านไปทางเวียดนามเท่านั้น
ไบรอัน แมคคาร์แทน เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระที่พำนักอยู่ในกรุงเทพฯ สามารถติดต่อเขาได้ทางอีเมล์ที่ brianpm@comcast.net
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)