ปลากระป๋องที่นำไปแจกช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม และเกิดอาการท้องเสียนั้น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า อาจมาจากกระบวนการผลิตที่ไม่สะอาด โดยปลากระป๋องชุดที่มีปัญหา ผลิตโดยบริษัท ทองกิ่งแก้วฟูดส์ ตั้งอยู่ที่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร จำหน่ายโดยบริษัท ไทยเออีฟูดส์ ล็อตผลิตวันที่ 24 ธันวาคม 2551 หมดอายุวันที่ 24 ธันวาคม 2554 โดยขณะนี้สาธารณสุข จ.พัทลุง เก็บตัวอย่างส่งตรวจ คาดว่า ต้องใช้เวลาเพาะเชื้อ 24 ชั่วโมง หรือ 72 ชั่วโมง จึงจะทราบชนิดของเชื้อต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรง
นายแพทย์นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เชื้อโรคที่ชอบอยู่ในอาหารกระป๋องจะมี 3 กลุ่ม โดยจะสร้างพิษทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสียรุนแรง แต่พิษจะไม่ทนต่อความร้อนสูง หากได้รับพิษจากการบริโภค ก็จะมีอาการหลังรับประทาน 18-36 ชั่วโมง เริ่มจากอ่อนเพลีย มึนงง ริมฝีปากและลำคอแห้ง และมีอาการอาเจียนและท้องเสียร่วมด้วย หลังจากนั้น ระบบประสาทตาจะพร่า ม่านตาขยาย กลืนและพูดลำบาก หายใจไม่ออก และอาจเสียชีวิตได้ ขณะเดียวกันสาธารณสุข จ.สมุทรสาคร ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบมาตรฐานการผลิตของโรงงานดังกล่าวแล้ว
ด้านนายวิฑูรย์ นามบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่พัทลุงได้รับคืนถุงยังชีพที่มีปลากระป๋องเน่ากลับมา 5,000 ชุด และเปลี่ยนปลากระป๋องยี่ห้ออื่นให้ใหม่แล้ว
นอกจากนี้ วันนี้คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้สั่งเอาผิดบริษัทผลิตน้ำดื่ม ของบริษัท ชมารินทร์ หลังจากตรวจพบว่า โรงงานไม่ผ่านมาตรฐาน จีเอ็มพี ขณะที่ผลตรวจสอบยังพบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ชนิดอีโคไล และโคลีฟอม มากกว่า 23.0 ต่อน้ำบริโภค 100 มิลลิลิตร ทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการท้องเสีย
นายแพทย์นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เชื้อโรคที่ชอบอยู่ในอาหารกระป๋องจะมี 3 กลุ่ม โดยจะสร้างพิษทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสียรุนแรง แต่พิษจะไม่ทนต่อความร้อนสูง หากได้รับพิษจากการบริโภค ก็จะมีอาการหลังรับประทาน 18-36 ชั่วโมง เริ่มจากอ่อนเพลีย มึนงง ริมฝีปากและลำคอแห้ง และมีอาการอาเจียนและท้องเสียร่วมด้วย หลังจากนั้น ระบบประสาทตาจะพร่า ม่านตาขยาย กลืนและพูดลำบาก หายใจไม่ออก และอาจเสียชีวิตได้ ขณะเดียวกันสาธารณสุข จ.สมุทรสาคร ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบมาตรฐานการผลิตของโรงงานดังกล่าวแล้ว
ด้านนายวิฑูรย์ นามบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่พัทลุงได้รับคืนถุงยังชีพที่มีปลากระป๋องเน่ากลับมา 5,000 ชุด และเปลี่ยนปลากระป๋องยี่ห้ออื่นให้ใหม่แล้ว
นอกจากนี้ วันนี้คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้สั่งเอาผิดบริษัทผลิตน้ำดื่ม ของบริษัท ชมารินทร์ หลังจากตรวจพบว่า โรงงานไม่ผ่านมาตรฐาน จีเอ็มพี ขณะที่ผลตรวจสอบยังพบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ชนิดอีโคไล และโคลีฟอม มากกว่า 23.0 ต่อน้ำบริโภค 100 มิลลิลิตร ทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการท้องเสีย