นายแพทย์วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กล่าวว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบอย่างมากกับระบบป้องกันสุขภาพของคนไทย ซึ่งจากการสร้างงานที่ลดลง เม็ดเงินที่หายไปจากระบบ ในขณะที่มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นจากภาวะความเครียดเป็นเท่าตัว ดังนั้น สมัชชาสุขภาพ จึงเสนอมาตรการเร่งด่วน 3 ข้อ เกี่ยวกับการแก้ปัญหาสุขภาพแก่ประชาชน โดยขอให้รัฐบาลใหม่บรรเทาผลกระทบต่อผู้ตกงาน ด้วยการให้ผู้ตกงานย้ายภูมิลำเนากลับไปทำงานที่บ้านเกิด ให้คนเหล่านั้นเปลี่ยนสถานพยาบาลคู่สัญญากับสำนักงานประกันสังคม ให้รัฐจัดงบประมาณปี 2552 และ 2553 เพิ่มเติมให้กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เพื่อรองรับผู้ตกงาน กว่า 2 ล้านคน ที่จะไหลเข้ามายังระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หลังหมดสัญญากับสำนักงานประกันสังคมแล้ว ขอให้รัฐเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรด้านสาธารณสุข ด้วยการทบทวนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านสาธารณสุข ให้เน้นโครงการบริการระดับปฐมภูมิในชุมชน เพื่อกระตุ้นการสร้างงานในชนบท พร้อมเข้มงวดการให้บริการสถานพยาบาลภาครัฐ ให้ใช้ยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ และขอให้รัฐบาล ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน ด้วยการเร่งออกกฎหมายควบคุมการโฆษณาสุรา ปรับระบบภาษีสรรพสามิตสุรา และยกเลิกการแบ่งประเภทเครื่องดื่ม 7 ประเภท เพื่อลดความลักลั่นของอัตราภาษีด้วย
ทั้งนี้ จากการศึกษาผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจกับภาวะสุขภาพของประชาชน จากตัวอย่างเมื่อวิกฤตปี 40 พบ เศรษฐกิจทำให้เกิดความเครียด และอัตราการฆ่าตัวตายของประชาชนเพิ่มมากขึ้น เกิดภาวะโภชนาการ มีเด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ที่ 2,500 กรัม มากขึ้น ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขถาวร นอกจากนี้ ยังมีโรคติดต่อ เพิ่มสูงขึ้นด้วย และคาดว่าวิกฤตเศรษฐกิจในปีนี้จะเกิดผลไม่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม มีการตั้งหน่วยเฝ้าระวังวิกฤตการป้องกันสุขภาพคนไทย เพื่อศึกษาผลกระทบจากเศรษฐกิจต่อภาวะสุขภาพของประชาชน เพื่อให้หาทางแก้ไขต่อไป
ทั้งนี้ จากการศึกษาผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจกับภาวะสุขภาพของประชาชน จากตัวอย่างเมื่อวิกฤตปี 40 พบ เศรษฐกิจทำให้เกิดความเครียด และอัตราการฆ่าตัวตายของประชาชนเพิ่มมากขึ้น เกิดภาวะโภชนาการ มีเด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ที่ 2,500 กรัม มากขึ้น ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขถาวร นอกจากนี้ ยังมีโรคติดต่อ เพิ่มสูงขึ้นด้วย และคาดว่าวิกฤตเศรษฐกิจในปีนี้จะเกิดผลไม่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม มีการตั้งหน่วยเฝ้าระวังวิกฤตการป้องกันสุขภาพคนไทย เพื่อศึกษาผลกระทบจากเศรษฐกิจต่อภาวะสุขภาพของประชาชน เพื่อให้หาทางแก้ไขต่อไป