นายสุสิโล บัมบัง ยุโดโยโน ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เป็นประธานในพิธีเปิดตัวระบบเตือนภัยล่วงหน้าคลื่นสึนาม ที่จัดขึ้นที่กรุงจาการ์ตา
โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์การวิจัยแห่งเยอรมนีเพื่อภูมิศาสตร์วิทยา หรือ จีเอฟซี ที่ได้ค้นคว้าและออกแบบระบบเตือนภัยให้เหมาะสมกับสภาพชายฝั่งของหมู่เกาะ ราว 17,000 เกาะทั่วอินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นระบบที่ทันสมัยที่สุดในโลก เบื้องต้นจีเอฟซีจะดูแลระบบนี้จนถึงปี 2553 จากนั้นระบบจะอยู่ในความดูแลของรัฐบาลอินโดนีเซีย
รายงานของนักวิทยาศาสตร์ ระบุว่า แผ่นดินไหวในอินโดนีเซียมักเกิดขึ้นนอกชายฝั่งในบริเวณที่เรียกว่า แนวโค้งซุลดร้า ดังนั้นเมื่อเกิดคลื่นสึนามิคลื่นจะซัดเข้าฝั่งภายใน 20 นาที ทำให้มีเวลาเตรียมตัวน้อยมาก แต่ด้วยระบบใหม่ที่มีเซนต์เซอร์เชื่อมต่อกับสถานีตรวจจับคลื่น 120 แห่ง จะทำให้การตรวจจับทำได้เร็วและเชื่อถือได้มากกว่าระบบเดิม ช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิได้
โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์การวิจัยแห่งเยอรมนีเพื่อภูมิศาสตร์วิทยา หรือ จีเอฟซี ที่ได้ค้นคว้าและออกแบบระบบเตือนภัยให้เหมาะสมกับสภาพชายฝั่งของหมู่เกาะ ราว 17,000 เกาะทั่วอินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นระบบที่ทันสมัยที่สุดในโลก เบื้องต้นจีเอฟซีจะดูแลระบบนี้จนถึงปี 2553 จากนั้นระบบจะอยู่ในความดูแลของรัฐบาลอินโดนีเซีย
รายงานของนักวิทยาศาสตร์ ระบุว่า แผ่นดินไหวในอินโดนีเซียมักเกิดขึ้นนอกชายฝั่งในบริเวณที่เรียกว่า แนวโค้งซุลดร้า ดังนั้นเมื่อเกิดคลื่นสึนามิคลื่นจะซัดเข้าฝั่งภายใน 20 นาที ทำให้มีเวลาเตรียมตัวน้อยมาก แต่ด้วยระบบใหม่ที่มีเซนต์เซอร์เชื่อมต่อกับสถานีตรวจจับคลื่น 120 แห่ง จะทำให้การตรวจจับทำได้เร็วและเชื่อถือได้มากกว่าระบบเดิม ช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิได้