นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า ในโอกาสครบรอบ 3 ปี การจัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะเน้นย้ำภารกิจด้านการเตือนภัยธรรมชาติ โดยเน้นไปที่การเพิ่มหอเตือนภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีก 144 จุด คากว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ นอกจากนี้ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะเร่งศึกษาและวิเคราะห์การเกิดภัยธรรมชาติ เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันด้วยปัญหาสภาวะโลกร้อน และทำให้ประเทศไทยต้องเตรียมแผนรับมือกับภัยธรรมชาติ 2 ชนิด คือ พายุและแผ่นดินไหว ซึ่งประเทศไทยมีโอกาสจะได้รับผลกระทบดังกล่าวนี้ และมีความรุนแรงคล้ายพายุนาร์กีส และเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงได้อีก คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในเดือนสิงหาคม - ธันวาคมนี้
อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยาและศูนย์เตือนภัยฯ จะมีการตรวจ วิเคราะห์อย่างใกล้ชิด และจะแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบล่วงหน้า ประมาณ 3-5 วัน ซึ่งมั่นใจว่าระบบเตือนภัยสามารถครอบคลุมและทำให้ประเทศไทยรับมือกับภัยธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยาและศูนย์เตือนภัยฯ จะมีการตรวจ วิเคราะห์อย่างใกล้ชิด และจะแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบล่วงหน้า ประมาณ 3-5 วัน ซึ่งมั่นใจว่าระบบเตือนภัยสามารถครอบคลุมและทำให้ประเทศไทยรับมือกับภัยธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ