นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กล่าวในการสัมมนา "นโยบายสาธารณะของไทย : การเชื่อมผสานระหว่างสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา" ว่า หนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลคือ นโยบายการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับการดูเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาในส่วนโครงการที่มีศักภาพเช่นโรงถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมรถยนต์ รัฐบาลได้กำหนดให้มีการจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสม โดยคำนึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ การจัดทำโครงการขนาดใหญ่จะต้องมีประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นงบประมาณที่แฝงอยู่ในมูลค่าโครงการฯ นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นควบคุมมลพิษจากการผลิตและบริโภค โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเช่นเพิ่มโรงกำจัดขยะ โรงบำบัดน้ำเสีย ซึ่งปัจจุบันมีแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรปกครองระดับเทศบาล
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะต้องมีองค์ประกอบจาก ภาครัฐ ภาคประชาชน และเอกชน แม้จะมีการมองว่าเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non Tariff Barrier) แต่ภาคอุตสาหกรรมของไทยจะมองว่าเป็นแนวโน้มที่ต้องทำ โดยมีเครื่องมือในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม อาทิ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มการลงทุน การมีระบบมาตรฐานจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบ ISO และที่สำคัญคือ จิตสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อมซึ่งสภาอุตสาหกรรมฯ พยายามเผยแพร่เรื่องนี้ โดยเฉพาะแนวคิด CSR เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมได้เป็นแบบอย่างในการพัฒนาอย่างมีจิตสำนึก การปรับระบบคิดว่า การลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมไม่ใช่การเพิ่มต้นทุน แต่ในทางตรงกันข้ามการที่มีของเสียออกมาจากกระบวนการผลิตน้อยเท่าไรก็จะทำให้ลดต้นทุนการในการบำบัดและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการแข่งขัน
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะต้องมีองค์ประกอบจาก ภาครัฐ ภาคประชาชน และเอกชน แม้จะมีการมองว่าเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non Tariff Barrier) แต่ภาคอุตสาหกรรมของไทยจะมองว่าเป็นแนวโน้มที่ต้องทำ โดยมีเครื่องมือในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม อาทิ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มการลงทุน การมีระบบมาตรฐานจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบ ISO และที่สำคัญคือ จิตสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อมซึ่งสภาอุตสาหกรรมฯ พยายามเผยแพร่เรื่องนี้ โดยเฉพาะแนวคิด CSR เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมได้เป็นแบบอย่างในการพัฒนาอย่างมีจิตสำนึก การปรับระบบคิดว่า การลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมไม่ใช่การเพิ่มต้นทุน แต่ในทางตรงกันข้ามการที่มีของเสียออกมาจากกระบวนการผลิตน้อยเท่าไรก็จะทำให้ลดต้นทุนการในการบำบัดและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการแข่งขัน