นายยู่สิน จินตภากร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า หลังจากประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งในส่วนของจังหวัดยะลาได้รับผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าวเช่นกัน โดยเฉพาะธุรกิจไม้ยางพาราซึ่งที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในพื้นที่ และเมื่อมีวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์เกิดขึ้น ก็กระทบกับผู้ประกอบการธุรกิจไม้ยางพาราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะธุรกิจเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา ที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ และ ยุโรป ส่วนใหญ่จะเป็นเฟอร์นิเจอร์
ปัจจุบันจังหวัดยะลามีโรงงานไม้ยางพาราประมาณ 30 โรง บางแห่งต้องลดการผลิตลง เนื่องจากไม่สามารถนำไม้ยางเข้ามาสู่กระบวนการผลิตได้ เนื่องจากเหตุความไม่สงบ จากเดิมสามารถตัดไม้ยางได้วันละ 2-3 รอบ แต่ปัจจุบันได้วันละครั้งเดียว จึงมีการลดการผลิตลงประมาณร้อยละ 50-60 ซึ่งสภาวะดังกล่าว ส่งผลกระทบไปทุกด้าน ในส่วนของธนาคารก็ปล่อยสินเชื่อน้อยลง ผู้ประเมินสินทรัพย์ไม่กล้าไปประเมิน ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าจากต่างประเทศ ไม่กล้าลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบสินค้า รวมทั้งการขนส่ง นอกจากนั้นปัญหาทางด้านเชื้อเพลิง มีผลกระทบจากราคาที่ยังไม่นิ่ง หากภาครัฐจะลงมาดู อยากให้สนใจแก้ปัญหาด้านความไม่สงบมาเป็นอันดับ 1 ถึงแม้ในปัจจุบันสถานการณ์ดีขึ้น แต่ความมั่นใจยังไม่มี
ประธานสภาอุตสาหกรรมยะลา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังพบปัญหาบุคลากรที่จะทำงานเกิดการขาดแคลนแรงงานจากภาคอีสาน ย้ายกลับไปหมด เนื่องจากเหตุความไม่สงบ ทำให้ขาดแคลนแรงงาน ทางสภาอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา ได้เรียกร้องให้มีการจ้างงานแรงงานต่างด้าวให้มากขึ้น สำหรับยอดการสั่งซื้อสินค้าจำพวกไม้ยางพาราจากประเทศสหรัฐอเมริกา เท่าที่สอบถามตามโรงงานต่างๆ ก็ทราบว่ายอดสั่งซื้อลดลงมากกว่าร้อยละ 30-40 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ดังนั้นภาครัฐจะต้องเข้ามาช่วยดูแลพื้นที่ 3 จังหวัดใต้ รวมทั้งพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม รวมทั้งยางพารา อยากให้รัฐบาลตั้งกองทุนประกันราคายางขั้นต่ำ เพื่อดูแลภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้สภาพการณ์ดีขึ้น ส่วนวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ขณะนี้คงยังไม่ส่งผลกระทบโดยตรงกับประเทศไทยมากนัก แต่เชื่อว่าประมาณต้นปี 2552 ก็จะกระทบอย่างชัดเจน ดังนั้นภาครัฐก็ควรจะรีบดำเนินการเพื่อเตรียมรองรับวิกฤตดังกล่าวโดยเร็ว
ปัจจุบันจังหวัดยะลามีโรงงานไม้ยางพาราประมาณ 30 โรง บางแห่งต้องลดการผลิตลง เนื่องจากไม่สามารถนำไม้ยางเข้ามาสู่กระบวนการผลิตได้ เนื่องจากเหตุความไม่สงบ จากเดิมสามารถตัดไม้ยางได้วันละ 2-3 รอบ แต่ปัจจุบันได้วันละครั้งเดียว จึงมีการลดการผลิตลงประมาณร้อยละ 50-60 ซึ่งสภาวะดังกล่าว ส่งผลกระทบไปทุกด้าน ในส่วนของธนาคารก็ปล่อยสินเชื่อน้อยลง ผู้ประเมินสินทรัพย์ไม่กล้าไปประเมิน ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าจากต่างประเทศ ไม่กล้าลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบสินค้า รวมทั้งการขนส่ง นอกจากนั้นปัญหาทางด้านเชื้อเพลิง มีผลกระทบจากราคาที่ยังไม่นิ่ง หากภาครัฐจะลงมาดู อยากให้สนใจแก้ปัญหาด้านความไม่สงบมาเป็นอันดับ 1 ถึงแม้ในปัจจุบันสถานการณ์ดีขึ้น แต่ความมั่นใจยังไม่มี
ประธานสภาอุตสาหกรรมยะลา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังพบปัญหาบุคลากรที่จะทำงานเกิดการขาดแคลนแรงงานจากภาคอีสาน ย้ายกลับไปหมด เนื่องจากเหตุความไม่สงบ ทำให้ขาดแคลนแรงงาน ทางสภาอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา ได้เรียกร้องให้มีการจ้างงานแรงงานต่างด้าวให้มากขึ้น สำหรับยอดการสั่งซื้อสินค้าจำพวกไม้ยางพาราจากประเทศสหรัฐอเมริกา เท่าที่สอบถามตามโรงงานต่างๆ ก็ทราบว่ายอดสั่งซื้อลดลงมากกว่าร้อยละ 30-40 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ดังนั้นภาครัฐจะต้องเข้ามาช่วยดูแลพื้นที่ 3 จังหวัดใต้ รวมทั้งพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม รวมทั้งยางพารา อยากให้รัฐบาลตั้งกองทุนประกันราคายางขั้นต่ำ เพื่อดูแลภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้สภาพการณ์ดีขึ้น ส่วนวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ขณะนี้คงยังไม่ส่งผลกระทบโดยตรงกับประเทศไทยมากนัก แต่เชื่อว่าประมาณต้นปี 2552 ก็จะกระทบอย่างชัดเจน ดังนั้นภาครัฐก็ควรจะรีบดำเนินการเพื่อเตรียมรองรับวิกฤตดังกล่าวโดยเร็ว