นายวรเทพ มุธุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดเผยถึงน้ำทะเลชายหาดบางแสน อ.เมือง จ.ชลบุรี เปลี่ยนเป็นสีแดงขุ่นว่า จากการสังเกตสภาพน้ำพบว่าแพลงตอนเจริญเติบโตทั่วบริเวณชายหาด เนื่องจากได้รับสารอาหารจากการปล่อยน้ำเสียของชุมชน และฝนที่ตกหนักชะล้างของเสียลงทะเล ประกอบกับช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา แสงแดดแรงมาก ทำให้พืชเกิดการสังเคราะห์สารอาหาร แพลงตอนจึงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ถือว่ายังไม่เกิดผลกระทบรุนแรงต่อสัตว์น้ำ แต่ถ้าแสงแดดยังแรงอยู่ คาดว่า 5-7 วัน เมื่อแพลงตอนขยายตัวเต็มที่และใช้ออกซิเจนในน้ำจนหมด แพลงตอนจะตายลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลไม่มีอากาศหายใจและตายลง
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดหมุนเวียนเป็นประจำทุกปี อาจจะเกิดปีละหลายครั้ง แล้วแต่วงจรของแพลงตอนจะสมบูรณ์หรือไม่ คือ แสงแดด และอาหารพอเพียง ก็จะเกิดเหตุการณ์ขี้ปลาวาฬ ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถหาวิธีป้องกันได้ ต้องปล่อยเป็นไปตามธรรมชาติ
ส่วนวิธีป้องกันสามารถทำได้โดยรณรงค์ให้ประชาชนไม่ทิ้งน้ำเสียลงทะเล หรือต้องผ่านบำบัดน้ำเสียก่อนจะทิ้ง ซึ่งจะทำให้แพลงตอนไม่มีสารอาหาร การเติบโตช้าลง ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเกิดน้อยเช่นกัน
นายวรเทพ ยืนยันด้วยว่า ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี หรือขี้ปลาวาฬ ไม่เป็นอันตรายกับผู้ที่ลงเล่นน้ำทะเล ส่วนแพลงตอนจะเป็นชนิดใดนั้น อยู่ระหว่างการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดหมุนเวียนเป็นประจำทุกปี อาจจะเกิดปีละหลายครั้ง แล้วแต่วงจรของแพลงตอนจะสมบูรณ์หรือไม่ คือ แสงแดด และอาหารพอเพียง ก็จะเกิดเหตุการณ์ขี้ปลาวาฬ ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถหาวิธีป้องกันได้ ต้องปล่อยเป็นไปตามธรรมชาติ
ส่วนวิธีป้องกันสามารถทำได้โดยรณรงค์ให้ประชาชนไม่ทิ้งน้ำเสียลงทะเล หรือต้องผ่านบำบัดน้ำเสียก่อนจะทิ้ง ซึ่งจะทำให้แพลงตอนไม่มีสารอาหาร การเติบโตช้าลง ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเกิดน้อยเช่นกัน
นายวรเทพ ยืนยันด้วยว่า ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี หรือขี้ปลาวาฬ ไม่เป็นอันตรายกับผู้ที่ลงเล่นน้ำทะเล ส่วนแพลงตอนจะเป็นชนิดใดนั้น อยู่ระหว่างการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่