กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) แถลงเมื่อวันพฤหัสบดี(9) ว่าพร้อมจะอัดฉีดเงินเข้าสู่ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสภาพคล่องระหว่างประเทศขาดแคลน ขณะเดียวกันก็ประกาศฟื้นฟูกลไกการให้เม็ดเงินช่วยเหลือแก่ประเทศที่ต้องการแบบเดียวกับที่เคยใช้ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งในเอเชียเมื่อปี 1997
กองทุนยังได้ส่งคณะทำงานไปไอซ์แลนด์ เพื่อวางแผนให้ความช่วยเหลือ หลังจากรัฐบาลของประเทศเกาะทางแอตแลนติกเหนือแห่งนี้ ต้องเข้าโอนธนาคารใหญ่ที่สุดของประเทศมาเป็นของรัฐ นอกจากนี้ไอเอ็มเอฟก็ยังได้เตือนด้วยว่าวิกฤตการเงินครั้งนี้ซึ่งถือว่าร้ายแรงสุดในรอบมากกว่า 70 ปี อาจจะดำเนินต่อไปอีกนานและส่งผลต่อเศรษฐกิจของโลกโดยรวม
"เมื่อวานนี้(วันพุธที่8) ผมได้ฟื้นกระบวนการฉุกเฉินที่จะทำให้ไอเอ็มเอฟสามารถโต้ตอบกับปัญหาได้อย่างรวดเร็ว" โดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการของไอเอ็มเอฟกล่าวในการแถลงข่าวที่กรุงวอชิงตัน "เราพร้อมแล้วที่จะตอบสนองความต้องการของประเทศต่าง ๆที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหา" นอกจากนี้เขายังบอกอีกว่าไม่มีประเทศใดที่มีภูมิคุ้มกันจนไม่ได้รับความกระทบกระเทือนจากวิกฤตครั้งนี้
สเตราส์-คาห์นย้ำว่าไอเอ็มเอฟต้องการที่จะให้ความช่วยเหลือไม่เพียงแต่กับประเทศที่กำลังพัฒนาหรือเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่เท่านั้น ยังรวมไปถึงประเทศตะวันตกทั้งหลายอีกด้วย
"ไม่มีใครรู้ว่าบรรดาเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าแล้วยังจะต้องการความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟอีกหรือไม่" เขากล่าวและเพิ่มเติมว่าหากต้องการจะขอยืมเงินเพื่อนำไปประคองสถานการณ์ของประเทศแล้ว ก็จะต้องยอมทำตามเงื่อนไขที่เข้มงวดมากกว่าปกติ แต่ก็จะได้เม็ดเงินเข้าไปอย่างรวดเร็ว "คำว่ารวดเร็วหมายความว่าเงินทุนน่าจะเข้าไปได้ในเวลาสองสัปดาห์"
กองทุนยังได้ส่งคณะทำงานไปไอซ์แลนด์ เพื่อวางแผนให้ความช่วยเหลือ หลังจากรัฐบาลของประเทศเกาะทางแอตแลนติกเหนือแห่งนี้ ต้องเข้าโอนธนาคารใหญ่ที่สุดของประเทศมาเป็นของรัฐ นอกจากนี้ไอเอ็มเอฟก็ยังได้เตือนด้วยว่าวิกฤตการเงินครั้งนี้ซึ่งถือว่าร้ายแรงสุดในรอบมากกว่า 70 ปี อาจจะดำเนินต่อไปอีกนานและส่งผลต่อเศรษฐกิจของโลกโดยรวม
"เมื่อวานนี้(วันพุธที่8) ผมได้ฟื้นกระบวนการฉุกเฉินที่จะทำให้ไอเอ็มเอฟสามารถโต้ตอบกับปัญหาได้อย่างรวดเร็ว" โดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการของไอเอ็มเอฟกล่าวในการแถลงข่าวที่กรุงวอชิงตัน "เราพร้อมแล้วที่จะตอบสนองความต้องการของประเทศต่าง ๆที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหา" นอกจากนี้เขายังบอกอีกว่าไม่มีประเทศใดที่มีภูมิคุ้มกันจนไม่ได้รับความกระทบกระเทือนจากวิกฤตครั้งนี้
สเตราส์-คาห์นย้ำว่าไอเอ็มเอฟต้องการที่จะให้ความช่วยเหลือไม่เพียงแต่กับประเทศที่กำลังพัฒนาหรือเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่เท่านั้น ยังรวมไปถึงประเทศตะวันตกทั้งหลายอีกด้วย
"ไม่มีใครรู้ว่าบรรดาเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าแล้วยังจะต้องการความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟอีกหรือไม่" เขากล่าวและเพิ่มเติมว่าหากต้องการจะขอยืมเงินเพื่อนำไปประคองสถานการณ์ของประเทศแล้ว ก็จะต้องยอมทำตามเงื่อนไขที่เข้มงวดมากกว่าปกติ แต่ก็จะได้เม็ดเงินเข้าไปอย่างรวดเร็ว "คำว่ารวดเร็วหมายความว่าเงินทุนน่าจะเข้าไปได้ในเวลาสองสัปดาห์"