องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานพิธีรำลึก 32 ปี 6 ตุลาคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยในช่วงเช้ามีพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 33 รูป อุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ และพิธีเข้าบัว ขณะที่ญาติวีรชนและอดีตนักศึกษาซึ่งเดินทางมาร่วมในพิธีครั้งนี้เป็นจำนวนมาก ได้ร่วมกันวางพวงหรีด รำลึกและไว้อาลัยให้กับผู้ที่จากไป
โอกาสนี้ น.พ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานมูลนิธิ 14 ตุลา เป็นประธานมอบรางวัล "คมตุลา" ประจำปี 2551 ให้กับ น.ส.วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ แกนนำม็อบเกษตรกร และเป็น 1 ในคนเดือนตุลาคมที่ร่วมต่อสู้ในเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย ปัจจุบันได้เสียชีวิตไปแล้ว มีญาติเป็นตัวแทนรับรางวัล สำหรับรางวัน "คมตุลา" เป็นรางวัลที่มอบให้แด่บุคคลที่เสียชีวิตและสละชีวิตหรือวีรชน มีชื่อเสียงกึกก้องเป็นอมตะ เสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม มีอุดมการณ์ที่ยึดมั่นและสละชีวิตระหว่างปฏิบัตภารกิจอย่างมีเกียรติ มีศักดิศรี
ในการปาฐกถาเชิงวิชาการเรื่อง "อนาคตของ 6 ตุลา 2519" นายธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ หัวหน้าภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์การเมืองไทย กล่าวว่า การทำวิจัยสอบถามประชาชนและนักศึกษาระดับอุดมศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าเหตุการณ์ 6 ตุลา คืออะไร แต่กลับตอบว่าเหตุการณ์ 14 ตุลา หรือเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ได้ถูกต้อง จึงเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ขยายความรู้เหตุการณ์ 6 ตุลาสู่ประชาชนในสังคม โดยเฉพาะคนรุ่นหลัง และเรียกร้องให้จัดทำเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองในระดับมหาวิทยาลัย ก่อนที่จะเป็นความหลังที่ถูกลืม
ทั้งนี้ เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 นักศึกษาและประชาชนได้ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตผู้นำเผด็จการ โดยปราศจากอาวุธ แต่ถูกทางการใช้อาวุธปราบปรามทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับร้อยคน ที่เหลืออีกหลายพันคนถูกจับกุมและหนีเข้าป่า ถือเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญต่อเนื่องจากวันที่ 14 ตุลาคม 2516
โอกาสนี้ น.พ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานมูลนิธิ 14 ตุลา เป็นประธานมอบรางวัล "คมตุลา" ประจำปี 2551 ให้กับ น.ส.วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ แกนนำม็อบเกษตรกร และเป็น 1 ในคนเดือนตุลาคมที่ร่วมต่อสู้ในเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย ปัจจุบันได้เสียชีวิตไปแล้ว มีญาติเป็นตัวแทนรับรางวัล สำหรับรางวัน "คมตุลา" เป็นรางวัลที่มอบให้แด่บุคคลที่เสียชีวิตและสละชีวิตหรือวีรชน มีชื่อเสียงกึกก้องเป็นอมตะ เสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม มีอุดมการณ์ที่ยึดมั่นและสละชีวิตระหว่างปฏิบัตภารกิจอย่างมีเกียรติ มีศักดิศรี
ในการปาฐกถาเชิงวิชาการเรื่อง "อนาคตของ 6 ตุลา 2519" นายธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ หัวหน้าภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์การเมืองไทย กล่าวว่า การทำวิจัยสอบถามประชาชนและนักศึกษาระดับอุดมศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าเหตุการณ์ 6 ตุลา คืออะไร แต่กลับตอบว่าเหตุการณ์ 14 ตุลา หรือเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ได้ถูกต้อง จึงเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ขยายความรู้เหตุการณ์ 6 ตุลาสู่ประชาชนในสังคม โดยเฉพาะคนรุ่นหลัง และเรียกร้องให้จัดทำเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองในระดับมหาวิทยาลัย ก่อนที่จะเป็นความหลังที่ถูกลืม
ทั้งนี้ เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 นักศึกษาและประชาชนได้ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตผู้นำเผด็จการ โดยปราศจากอาวุธ แต่ถูกทางการใช้อาวุธปราบปรามทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับร้อยคน ที่เหลืออีกหลายพันคนถูกจับกุมและหนีเข้าป่า ถือเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญต่อเนื่องจากวันที่ 14 ตุลาคม 2516