ภายหลังสภาคองเกรสสหรัฐฯ เห็นชอบในหลักการเบื้องต้นนำเงินจำนวน 8.5 ล้านล้านบาท หรือ 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าฟื้นฟูภาคการเงินในประเทศ นายสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมืองของไทย เชื่อว่า เป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนในระดับหนึ่ง แต่จำนวนเงินอาจจะไม่เพียงพอต่อปัญหาวิกฤตการณ์การเงินที่เกิดขึ้น เนื่องจากมูลค่าหนี้เสียที่เกิดขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงราคาตลอด ขณะที่ปัญหานี้ได้ลุกลามไปยังสถาบันการเงินในยุโรป อังกฤษ และสเปน
นอกจากนี้ นายสมชาย ยังกล่าวด้วยว่า แม้ว่าปัญหานี้ยังไม่ส่งผลกระทบต่อไทย แต่รัฐบาลควรออกมาตรการรองรับวิกฤตการเงินโลกครั้งนี้ โดยดำเนินนโยบายการกระตุ้นการลงทุนขนาดใหญ่ การส่งออก การท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนด้วย
นายตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเห็นชอบของสภาคองเกรสสหรัฐฯ ครั้งนี้ เป็นการส่งสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม อีกทั้งมีการปรับแผนเพื่อให้ประชาชนยอมรับ โดยแบ่งซื้อหนี้เสียของสถาบันการเงินที่ประสบวิกฤตสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ส่วนที่เหลือจะเป็นการนำไปซื้อหนี้เสียของธนาคารอื่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดตลาดเงินขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง
แต่ทั้งนี้ รัฐบาลไทยต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะการช่วยเหลือของรัฐบาลสหรัฐฯ ครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่มีปัญหา เพราะเงินจำนวนนี้ต้องพิจารณาว่าเข้าไปช่วยสถาบันการเงินใด และเป็นจำนวนเท่าไร
ส่วนการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ กลุ่มสินค้าที่จะได้รับผลกระทบ คือสินค้าราคาถูกมากกว่าคุณภาพ เพราะขณะนี้ค่าเงินดอลลาร์ผันผวนมาก แต่หากแผนการกอบกู้วิกฤตการเงินผ่านไป สถานการณ์น่าจะคลี่คลาย และทิศทางของเงินดอลลาร์จะเริ่มอ่อนตัว
ขณะที่นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย เชื่อว่า ปริมาณเงิน 8.5 ล้านล้านบาทนั้น ไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหา และขาดความยืดหยุ่นในการอนุมัติวงเงิน จึงยังส่งผลให้สถาบันการเงินในสหรัฐฯ ขาดสภาพคล่องต่อไป พร้อมกับส่งผลให้มีการดึงเม็ดเงินจากต่างประเทศเข้าไปช่วยอีก และมีผลให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น
นอกจากนี้ นายสมชาย ยังกล่าวด้วยว่า แม้ว่าปัญหานี้ยังไม่ส่งผลกระทบต่อไทย แต่รัฐบาลควรออกมาตรการรองรับวิกฤตการเงินโลกครั้งนี้ โดยดำเนินนโยบายการกระตุ้นการลงทุนขนาดใหญ่ การส่งออก การท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนด้วย
นายตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเห็นชอบของสภาคองเกรสสหรัฐฯ ครั้งนี้ เป็นการส่งสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม อีกทั้งมีการปรับแผนเพื่อให้ประชาชนยอมรับ โดยแบ่งซื้อหนี้เสียของสถาบันการเงินที่ประสบวิกฤตสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ส่วนที่เหลือจะเป็นการนำไปซื้อหนี้เสียของธนาคารอื่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดตลาดเงินขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง
แต่ทั้งนี้ รัฐบาลไทยต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะการช่วยเหลือของรัฐบาลสหรัฐฯ ครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่มีปัญหา เพราะเงินจำนวนนี้ต้องพิจารณาว่าเข้าไปช่วยสถาบันการเงินใด และเป็นจำนวนเท่าไร
ส่วนการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ กลุ่มสินค้าที่จะได้รับผลกระทบ คือสินค้าราคาถูกมากกว่าคุณภาพ เพราะขณะนี้ค่าเงินดอลลาร์ผันผวนมาก แต่หากแผนการกอบกู้วิกฤตการเงินผ่านไป สถานการณ์น่าจะคลี่คลาย และทิศทางของเงินดอลลาร์จะเริ่มอ่อนตัว
ขณะที่นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย เชื่อว่า ปริมาณเงิน 8.5 ล้านล้านบาทนั้น ไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหา และขาดความยืดหยุ่นในการอนุมัติวงเงิน จึงยังส่งผลให้สถาบันการเงินในสหรัฐฯ ขาดสภาพคล่องต่อไป พร้อมกับส่งผลให้มีการดึงเม็ดเงินจากต่างประเทศเข้าไปช่วยอีก และมีผลให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น