นางยาใจ ชูวิชา ประธานคณะจัดทำการสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจ ระหว่างวันที่ 29 กันยายน ถึง 7 ตุลาคมนี้ โดยสำรวจระหว่างวันที่ 22-24 กันยายนที่ผ่านมา จำนวน 1,200 ตัวอย่างทั่วประเทศ ปรากฏว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ระบุว่าจะเข้าร่วมในช่วงเทศกาลกินเจ
อย่างไรก็ตาม นางยาใจ ยอมรับว่า เทศกาลกินเจปีนี้เป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ประกอบกับราคาสินค้าอุปโภค บริโภค โดยเฉพาะอาหารเจมีราคาแพง ไม่ว่าผัก ผลไม้ อาหารเจสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูปแช่เย็นแช่แข็ง น้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลือง โปรตีนเกษตร น้ำมันพืชและซอสปรุงรส ทำให้ค่าใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.03 หากคิดเป็นสัดส่วนค่าใช้จ่ายที่มีราคาเพิ่มขึ้นตามกระแสเศรษฐกิจ โดยเป็นค่าใช้จ่ายด้านอาหาร ข้าวต้มต่อวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 77.5 คิดเป็นเงินเฉลี่ยต่อคน 213.68 บาท ทำบุญเพิ่มขึ้น ร้อยละ 48.5 คิดเป็นเงิน 933.56 บาท ค่าเดินทางไปทำบุญต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 คิดเป็นเงิน 2,419.35 บาทต่อคน ค่าที่พักทำบุญต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.4 คิดเป็นเงิน 2,863.11 บาทต่อคน ทำให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.7 คิดเป็น 6,115.59 บาท
นอกจากนี้ ยังได้มีการสอบถามถึงทัศนคติอื่น ๆ เช่น สถานการณ์ใดที่น่าเป็นห่วงที่สุดในประเทศ กว่าร้อยละ 17.2 ห่วงเศรษฐกิจ การเมืองร้อยละ 15.8 ระดับราคาสินค้าร้อยละ 14.2 ราคาน้ำมัน ร้อยละ 14.1 สถานการณ์เศรษฐกิจโลกร้อยละ 11.3 สังคมร้อยละ 9.8 ดอกเบี้ยร้อยละ 8.9
ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลสมชาย 1 โดยเฉพาะประเด็นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ มีความเชื่อมั่นปานกลางร้อยละ 45.2 ส่วนการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง มีความเชื่อมั่นร้อยละ 44.0 ความโปร่งใสในการบริหารงาน เชื่อมั่นระดับปานกลางร้อยละ 51.5
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า หากดูผลสำรวจผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงกินเจปีนี้ส่วนใหญ่แม้จะระบุจะเข้าร่วม แต่ปัญหาปีนี้มี 2 สาเหตุ คือ ปัญหาของแพง เศรษฐกิจไม่ดี ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่ยังมองว่ากินเจปีนี้น่าจะมีเงินสะพัดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาร้อยละ 10 ไม่ต่ำกว่า 25,000 ล้านบาท ซึ่งเทศกาลกินเจปีที่แล้วมีเพียง 22,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม นางยาใจ ยอมรับว่า เทศกาลกินเจปีนี้เป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ประกอบกับราคาสินค้าอุปโภค บริโภค โดยเฉพาะอาหารเจมีราคาแพง ไม่ว่าผัก ผลไม้ อาหารเจสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูปแช่เย็นแช่แข็ง น้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลือง โปรตีนเกษตร น้ำมันพืชและซอสปรุงรส ทำให้ค่าใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.03 หากคิดเป็นสัดส่วนค่าใช้จ่ายที่มีราคาเพิ่มขึ้นตามกระแสเศรษฐกิจ โดยเป็นค่าใช้จ่ายด้านอาหาร ข้าวต้มต่อวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 77.5 คิดเป็นเงินเฉลี่ยต่อคน 213.68 บาท ทำบุญเพิ่มขึ้น ร้อยละ 48.5 คิดเป็นเงิน 933.56 บาท ค่าเดินทางไปทำบุญต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 คิดเป็นเงิน 2,419.35 บาทต่อคน ค่าที่พักทำบุญต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.4 คิดเป็นเงิน 2,863.11 บาทต่อคน ทำให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.7 คิดเป็น 6,115.59 บาท
นอกจากนี้ ยังได้มีการสอบถามถึงทัศนคติอื่น ๆ เช่น สถานการณ์ใดที่น่าเป็นห่วงที่สุดในประเทศ กว่าร้อยละ 17.2 ห่วงเศรษฐกิจ การเมืองร้อยละ 15.8 ระดับราคาสินค้าร้อยละ 14.2 ราคาน้ำมัน ร้อยละ 14.1 สถานการณ์เศรษฐกิจโลกร้อยละ 11.3 สังคมร้อยละ 9.8 ดอกเบี้ยร้อยละ 8.9
ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลสมชาย 1 โดยเฉพาะประเด็นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ มีความเชื่อมั่นปานกลางร้อยละ 45.2 ส่วนการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง มีความเชื่อมั่นร้อยละ 44.0 ความโปร่งใสในการบริหารงาน เชื่อมั่นระดับปานกลางร้อยละ 51.5
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า หากดูผลสำรวจผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงกินเจปีนี้ส่วนใหญ่แม้จะระบุจะเข้าร่วม แต่ปัญหาปีนี้มี 2 สาเหตุ คือ ปัญหาของแพง เศรษฐกิจไม่ดี ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่ยังมองว่ากินเจปีนี้น่าจะมีเงินสะพัดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาร้อยละ 10 ไม่ต่ำกว่า 25,000 ล้านบาท ซึ่งเทศกาลกินเจปีที่แล้วมีเพียง 22,000 ล้านบาท