นายสุริยะ โกพัฒน์ตา หัวหน้าสำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 3 สาขาประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ได้สำรวจพบมีผู้บุกรุกที่สาธารณะชายทะเลใกล้บริเวณป่าสน หมู่ 2 ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จำนวน 35 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง โดยบุกรุกเข้าสร้างเพิงพัก จึงได้มีหนังสือแจ้งให้เพิกถอนออกไป แต่ยังไม่ได้ดำเนินการทางกฎหมาย เพราะได้รับสำเนาจากอธิบดีกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (ขสน.) เป็นหนังสือจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้ชะลอการดำเนินคดีกับชาวบ้านผู้บุกรุกไว้ก่อน
นายสุริยะ ชี้แจงว่า อธิบดีกรมขนส่งทางน้ำฯ มีคำสั่งให้ชะลอการดำเนินคดี และให้แก้ไขปัญหา โดยให้ตรวจสอบรายและให้หาที่อยู่ใหม่ให้กับชาวบ้าน ซึ่งได้ทำหนังสือถึงนายเกรียง ไกร ใจดี นายก อบต.แม่รำพึง และนายธวัชชัย ดิษยนันทน์ นายอำเภอบางสะพาน ให้ทำบัญชีตรวจสอบรายชื่อผู้บุกรุกทั้งหมดแล้ว จากนั้นจะนำรายชื่อเสนอจังหวัด เพื่อให้จังหวัดจัดตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐต่อไป
ทางด้านนายเกรียงไกร ใจดี นายก อบต. แม่รำพึง กล่าวว่า เตรียมให้เจ้าหน้าที่โยธาฯ ของ อบต.เข้าสำรวจ แต่ไม่ทราบจะเข้าพื้นที่ได้หรือไม่ เนื่องจากกลุ่มชาวบ้านผู้บุกรุกเป็นกลุ่มต่อต้านโรงงานถลุงเหล็ก และที่ดินป่าสนติดชายทะเลเป็นที่ดินของเอกชน ทั้งนี้ เป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี แล้ว ที่ชาวบ้านผู้ประกอบอาชีพประมงได้อาศัยบริเวณหน้าชายหาดโดยเข้าปลูกเพิงพักชั่วคราวเพื่อใช้หลบแดดหลบฝน เฝ้าเรือและเครื่องมือจับปลา เดิมมีอยู่ประมาณ 2-3 ครัวเรือน ต่อมาได้มีชาวบ้านทั้งในและนอกพื้นที่ ต.แม่รำพึง ทยอยเข้าปลูกเพิงพักถาวรกลายเป็นชุมชน ทำให้ยากต่อการขับไล่
ขณะที่นางสุนีย์ ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านและได้ทำหนังสือขอความร่วมมือไปที่อธิบดีกรมขนส่งทางน้ำฯ เพื่อให้ช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริง เพราะเห็นว่าบริเวณชุมชนที่ชาวบ้านอาศัยอยู่นั้นอยู่กันมาเป็นเวลายาวนาน จึงอยากให้สำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 3 สาขาประจวบ ฯ ตรวจสอบข้อเท็จจริง และหากเป็นไปได้ จะสามารถผ่อนผันให้ชาวบ้านได้หรือไม่ ขณะเดียวกัน ยังมีพื้นที่อื่นอีกมากมายที่สำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 3 ยังไม่ได้ดำเนินการ และไม่เห็นด้วยกับการที่จะย้ายชาวบ้านให้ออกนอกพื้นที่นั้น เพราะในความเป็นจริงยังไม่มีหน่วยงานราชการใดสามารถหาที่อยู่ใหม่ให้ชาวบ้านผู้เดือดร้อน
นายสุริยะ ชี้แจงว่า อธิบดีกรมขนส่งทางน้ำฯ มีคำสั่งให้ชะลอการดำเนินคดี และให้แก้ไขปัญหา โดยให้ตรวจสอบรายและให้หาที่อยู่ใหม่ให้กับชาวบ้าน ซึ่งได้ทำหนังสือถึงนายเกรียง ไกร ใจดี นายก อบต.แม่รำพึง และนายธวัชชัย ดิษยนันทน์ นายอำเภอบางสะพาน ให้ทำบัญชีตรวจสอบรายชื่อผู้บุกรุกทั้งหมดแล้ว จากนั้นจะนำรายชื่อเสนอจังหวัด เพื่อให้จังหวัดจัดตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐต่อไป
ทางด้านนายเกรียงไกร ใจดี นายก อบต. แม่รำพึง กล่าวว่า เตรียมให้เจ้าหน้าที่โยธาฯ ของ อบต.เข้าสำรวจ แต่ไม่ทราบจะเข้าพื้นที่ได้หรือไม่ เนื่องจากกลุ่มชาวบ้านผู้บุกรุกเป็นกลุ่มต่อต้านโรงงานถลุงเหล็ก และที่ดินป่าสนติดชายทะเลเป็นที่ดินของเอกชน ทั้งนี้ เป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี แล้ว ที่ชาวบ้านผู้ประกอบอาชีพประมงได้อาศัยบริเวณหน้าชายหาดโดยเข้าปลูกเพิงพักชั่วคราวเพื่อใช้หลบแดดหลบฝน เฝ้าเรือและเครื่องมือจับปลา เดิมมีอยู่ประมาณ 2-3 ครัวเรือน ต่อมาได้มีชาวบ้านทั้งในและนอกพื้นที่ ต.แม่รำพึง ทยอยเข้าปลูกเพิงพักถาวรกลายเป็นชุมชน ทำให้ยากต่อการขับไล่
ขณะที่นางสุนีย์ ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านและได้ทำหนังสือขอความร่วมมือไปที่อธิบดีกรมขนส่งทางน้ำฯ เพื่อให้ช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริง เพราะเห็นว่าบริเวณชุมชนที่ชาวบ้านอาศัยอยู่นั้นอยู่กันมาเป็นเวลายาวนาน จึงอยากให้สำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 3 สาขาประจวบ ฯ ตรวจสอบข้อเท็จจริง และหากเป็นไปได้ จะสามารถผ่อนผันให้ชาวบ้านได้หรือไม่ ขณะเดียวกัน ยังมีพื้นที่อื่นอีกมากมายที่สำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 3 ยังไม่ได้ดำเนินการ และไม่เห็นด้วยกับการที่จะย้ายชาวบ้านให้ออกนอกพื้นที่นั้น เพราะในความเป็นจริงยังไม่มีหน่วยงานราชการใดสามารถหาที่อยู่ใหม่ให้ชาวบ้านผู้เดือดร้อน