นายอัมมาร สยามวาลา รักษาการประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้คือ การยุบสภาแล้วจัดการเลือกตั้งใหม่ เพื่อยุติปัญหาโดยเร็วที่สุด
นายอัมมาร กล่าวว่า หากพรรคร่วมรัฐบาลในชุดปัจจุบันยังยึดถือในกระบวนการรัฐธรรมนูญอยู่ เมื่อเห็นว่าประชาชนหลายกลุ่มไม่ยอมรับก็ควรยุติปัญหาโดยการยุบสภาโดยเร็ว เพราะหากปล่อยให้เหตุการณ์ยืดเยื้อต่อไป จะทำให้ประชาชนในประเทศแตกแยกกันมากขึ้น ซึ่งกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ขาดคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมา จะทำให้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองลดความรุนแรงลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการดำเนินการในขั้นตอนต่อไปของพรรคพลังประชาชน หากสนับสนุนให้นายสมัคร สุนทรเวช กลับเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เชื่อว่าสถานการณ์ทางการเมืองก็ยังคงเหมือนเดิม เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยสถานการณ์ทางการเมืองจะผ่อนคลายลง หากพรรคพลังประชาชนเลือกบุคคลที่เหมาะสม ไม่ก้าวร้าวเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
นายอัมมาร กล่าวถึงปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับนโยบายการทำงานที่เกิดขึ้นระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ตามกระบวนการทางเศรษฐกิจทั้ง 2 ฝ่ายต้องแบ่งงานกันทำ โดย ธปท.ดูแลนโยบายทางด้านการเงิน ขณะที่กระทรวงการคลังดูแลนโยบายทางด้านการคลัง ซึ่งโดยส่วนตัวเห็นว่าการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์พี) ของ ธปท. ในช่วงที่ผ่านมาเป็นแนวทางที่เหมาะสมแล้ว แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐที่ถดถอยลง ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยของไทย ดังนั้น แนวทางที่ ธปท.ควรทำคือการตรึงอัตราดอกเบี้ย เพื่อป้องกันไม่ให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
นายอัมมาร กล่าวว่า หากพรรคร่วมรัฐบาลในชุดปัจจุบันยังยึดถือในกระบวนการรัฐธรรมนูญอยู่ เมื่อเห็นว่าประชาชนหลายกลุ่มไม่ยอมรับก็ควรยุติปัญหาโดยการยุบสภาโดยเร็ว เพราะหากปล่อยให้เหตุการณ์ยืดเยื้อต่อไป จะทำให้ประชาชนในประเทศแตกแยกกันมากขึ้น ซึ่งกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ขาดคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมา จะทำให้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองลดความรุนแรงลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการดำเนินการในขั้นตอนต่อไปของพรรคพลังประชาชน หากสนับสนุนให้นายสมัคร สุนทรเวช กลับเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เชื่อว่าสถานการณ์ทางการเมืองก็ยังคงเหมือนเดิม เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยสถานการณ์ทางการเมืองจะผ่อนคลายลง หากพรรคพลังประชาชนเลือกบุคคลที่เหมาะสม ไม่ก้าวร้าวเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
นายอัมมาร กล่าวถึงปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับนโยบายการทำงานที่เกิดขึ้นระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ตามกระบวนการทางเศรษฐกิจทั้ง 2 ฝ่ายต้องแบ่งงานกันทำ โดย ธปท.ดูแลนโยบายทางด้านการเงิน ขณะที่กระทรวงการคลังดูแลนโยบายทางด้านการคลัง ซึ่งโดยส่วนตัวเห็นว่าการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์พี) ของ ธปท. ในช่วงที่ผ่านมาเป็นแนวทางที่เหมาะสมแล้ว แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐที่ถดถอยลง ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยของไทย ดังนั้น แนวทางที่ ธปท.ควรทำคือการตรึงอัตราดอกเบี้ย เพื่อป้องกันไม่ให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น