วันนี้ (18 ส.ค.) เวลา 14.00 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ม.ล.ไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ผู้พิพากษาอาวุโส เจ้าของสำนวน พร้อมองค์คณะ 9 คน ในคดีทุจริตที่ดินคลองด่าน นัดอ่านคำพิพากษาที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายวัฒนา อัศวเหม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และประธานพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจ หรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใด มอบให้ หรือหามาซึ่งทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น และเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้เกิดความเสียหายแกผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต
กรณีสืบเนื่องจากนายวัฒนา ใช้อำนาจข่มขู่ หรือชักจูงใจให้ผู้อื่นร่วมออกโฉนดที่ดิน 1,900 ไร่ ทับที่คลองสาธารณะประโยชน์ และที่เทขยะมูลฝอยซึ่งเป็นที่สงวนหวงห้าม เพื่อนำไปขายให้กรมควบคุมมลพิษเพื่อก่อสร้างโครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
สำหรับคดีนี้มีอัตราโทษจำคุก ตั้งแต่ 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 2,000-40,000 บาท หรือประหารชีวิต
วันที่ 9 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันนัดอ่านคำพิพากษาครั้งแรก นายวัฒนา ได้หลบหนีไปอยู่ในประเทศกัมพูชา ไม่เดินทางมาฟังคำพิพากษาตามกำหนดนัด ศาลจึงได้มีคำสั่งให้ออกหมายจับนายวัฒนา และปรับนายประกันจำนวน 2,200,000 บาท
ด้าน พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงความคืบหน้าการติดตามตัวนายวัฒนา มาฟังพิพากษา ว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ยังคงพยายามติดตามจับกุมนายวัฒนา ตามหมายจับของศาลมาโดยตลอด เนื่องจากได้รับรายงานจากการข่าวหลายสายสอดคล้องต้องกัน ว่า นายวัฒนา ได้หลบหนีไปประเทศกัมพูชาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งตนคงจะต้องเดินทางไปแถลงต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถึงผลการดำเนินการตามหมายจับของศาลที่ส่งมาให้ สตช. ติดตามตัวนายวัฒนา และศาลก็อาจใช้ดุลพินิจอ่านคำพิพากษาจำเลยได้ เพราะเป็นดุลพินิจและอำนาจของศาลอยู่แล้ว
พล.ต.อ.จงรัก กล่าวว่า สำหรับการร้องขอให้ประเทศกัมพูชาส่งตัวนายวัฒนา เป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมาดำเนินคดีประเทศไทยนั้น ทางประเทศกัมพูชาปฏิเสธที่จะส่งให้ เพราะเนื่องจากขณะนี้นายวัฒนา ยังไม่ได้ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิดและลงโทษจำคุก เป็นแต่เพียงการหลบหนีไม่ไปฟังคำพิพากษาของศาลเท่านั้น ต้องรอฟังผลจากคำพิพากษาของศาลในวันนี้ก่อนว่า นายวัฒนา กระทำความผิดหรือไม่ และถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกหรือไม่ ซึ่งหากนายวัฒนา ถูกพิพากษาว่ามีความผิดและถูกศาลพิพากษาจำคุก และถูกออกหมายจับอีกครั้งหนึ่ง ทางตำรวจก็จะนำมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่าจะเข้าหลักเกณฑ์ตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศไทยหรือไม่ เพื่อให้ประเทศกัมพูชาส่งตัวนายวัฒนา กลับมาลงโทษตามคำพิพากษา แต่ถ้าหากปรากฏว่า ศาลพิพากษายกฟ้องแล้ว นายวัฒนาก็สามารถเดินทางกลับมาประเทศไทยได้เองตามปกติ เพราะถือว่าไม่มีความผิดใดๆ
สำหรับคดีนี้พยานฝ่ายโจทก์ที่เข้าไต่สวนมีจำนวนทั้งสิ้น 40 ปาก โดยไต่สวนรวม 10 นัด ตั้งแต่ 12, 13, 15, 19, 20, 22, 26, 27, 29 กุมภาพันธ์ และ 11 มีนาคม ส่วนพยานจำเลยที่เข้าไต่สวนทั้งสิ้น 15 ปาก ใช้เวลาไต่สวน 5 นัด วันที่ 28 มีนาคม, 2, 8, 11 และ 17 เมษายน 2551 โดยที่ผ่านมา นายวัฒนา เคยได้ยื่นใบรับรองแพทย์ต่อศาล ระบุว่า ป่วยเป็นโรคก้านสมองตีบ มีอาการสับสนเฉียบพลัน ความจำหลงลืมชั่วคราว เพื่อขอศาลเลื่อนขึ้นเบิกความถึง 4 ครั้ง
นอกจากนี้ ยังได้ร้องขอต่อศาลไม่ขึ้นเบิกความด้วยตนเอง แต่ขอยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรแทน แต่ศาลไม่อนุญาต ศาลจึงให้นายวัฒนา เข้าไต่สวนในวันที่ 2, 6 และ 8 พฤษภาคม 2551 พร้อมพยานที่ศาลเรียกไต่สวนเองอีก 9 ปาก ประกอบด้วย 1.นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 2.นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย 3.นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช 4.นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 5.นายอนันต์ อนันตกูล อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ 6.นายบัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 7.นายผัน จันทรปาน อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและอดีต ป.ป.ช. 8.นายไพศาล กาญจนประพันธ์ อดีตเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ สาขาบางพลี 9. นายสมชัย แตงน้อย อดีตนายช่างรังวัด 6 ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายรังวัด โดยการไต่สวนพยานคดีนี้นอกจากพยานบุคคลแล้ว ยังมีพยานเอกสารที่โจทก์-จำเลย อีก 28 แฟ้มจำนวนหลายพันหน้า และพยานวัตถุอีกหลายรายการ
กรณีสืบเนื่องจากนายวัฒนา ใช้อำนาจข่มขู่ หรือชักจูงใจให้ผู้อื่นร่วมออกโฉนดที่ดิน 1,900 ไร่ ทับที่คลองสาธารณะประโยชน์ และที่เทขยะมูลฝอยซึ่งเป็นที่สงวนหวงห้าม เพื่อนำไปขายให้กรมควบคุมมลพิษเพื่อก่อสร้างโครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
สำหรับคดีนี้มีอัตราโทษจำคุก ตั้งแต่ 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 2,000-40,000 บาท หรือประหารชีวิต
วันที่ 9 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันนัดอ่านคำพิพากษาครั้งแรก นายวัฒนา ได้หลบหนีไปอยู่ในประเทศกัมพูชา ไม่เดินทางมาฟังคำพิพากษาตามกำหนดนัด ศาลจึงได้มีคำสั่งให้ออกหมายจับนายวัฒนา และปรับนายประกันจำนวน 2,200,000 บาท
ด้าน พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงความคืบหน้าการติดตามตัวนายวัฒนา มาฟังพิพากษา ว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ยังคงพยายามติดตามจับกุมนายวัฒนา ตามหมายจับของศาลมาโดยตลอด เนื่องจากได้รับรายงานจากการข่าวหลายสายสอดคล้องต้องกัน ว่า นายวัฒนา ได้หลบหนีไปประเทศกัมพูชาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งตนคงจะต้องเดินทางไปแถลงต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถึงผลการดำเนินการตามหมายจับของศาลที่ส่งมาให้ สตช. ติดตามตัวนายวัฒนา และศาลก็อาจใช้ดุลพินิจอ่านคำพิพากษาจำเลยได้ เพราะเป็นดุลพินิจและอำนาจของศาลอยู่แล้ว
พล.ต.อ.จงรัก กล่าวว่า สำหรับการร้องขอให้ประเทศกัมพูชาส่งตัวนายวัฒนา เป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมาดำเนินคดีประเทศไทยนั้น ทางประเทศกัมพูชาปฏิเสธที่จะส่งให้ เพราะเนื่องจากขณะนี้นายวัฒนา ยังไม่ได้ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิดและลงโทษจำคุก เป็นแต่เพียงการหลบหนีไม่ไปฟังคำพิพากษาของศาลเท่านั้น ต้องรอฟังผลจากคำพิพากษาของศาลในวันนี้ก่อนว่า นายวัฒนา กระทำความผิดหรือไม่ และถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกหรือไม่ ซึ่งหากนายวัฒนา ถูกพิพากษาว่ามีความผิดและถูกศาลพิพากษาจำคุก และถูกออกหมายจับอีกครั้งหนึ่ง ทางตำรวจก็จะนำมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่าจะเข้าหลักเกณฑ์ตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศไทยหรือไม่ เพื่อให้ประเทศกัมพูชาส่งตัวนายวัฒนา กลับมาลงโทษตามคำพิพากษา แต่ถ้าหากปรากฏว่า ศาลพิพากษายกฟ้องแล้ว นายวัฒนาก็สามารถเดินทางกลับมาประเทศไทยได้เองตามปกติ เพราะถือว่าไม่มีความผิดใดๆ
สำหรับคดีนี้พยานฝ่ายโจทก์ที่เข้าไต่สวนมีจำนวนทั้งสิ้น 40 ปาก โดยไต่สวนรวม 10 นัด ตั้งแต่ 12, 13, 15, 19, 20, 22, 26, 27, 29 กุมภาพันธ์ และ 11 มีนาคม ส่วนพยานจำเลยที่เข้าไต่สวนทั้งสิ้น 15 ปาก ใช้เวลาไต่สวน 5 นัด วันที่ 28 มีนาคม, 2, 8, 11 และ 17 เมษายน 2551 โดยที่ผ่านมา นายวัฒนา เคยได้ยื่นใบรับรองแพทย์ต่อศาล ระบุว่า ป่วยเป็นโรคก้านสมองตีบ มีอาการสับสนเฉียบพลัน ความจำหลงลืมชั่วคราว เพื่อขอศาลเลื่อนขึ้นเบิกความถึง 4 ครั้ง
นอกจากนี้ ยังได้ร้องขอต่อศาลไม่ขึ้นเบิกความด้วยตนเอง แต่ขอยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรแทน แต่ศาลไม่อนุญาต ศาลจึงให้นายวัฒนา เข้าไต่สวนในวันที่ 2, 6 และ 8 พฤษภาคม 2551 พร้อมพยานที่ศาลเรียกไต่สวนเองอีก 9 ปาก ประกอบด้วย 1.นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 2.นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย 3.นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช 4.นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 5.นายอนันต์ อนันตกูล อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ 6.นายบัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 7.นายผัน จันทรปาน อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและอดีต ป.ป.ช. 8.นายไพศาล กาญจนประพันธ์ อดีตเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ สาขาบางพลี 9. นายสมชัย แตงน้อย อดีตนายช่างรังวัด 6 ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายรังวัด โดยการไต่สวนพยานคดีนี้นอกจากพยานบุคคลแล้ว ยังมีพยานเอกสารที่โจทก์-จำเลย อีก 28 แฟ้มจำนวนหลายพันหน้า และพยานวัตถุอีกหลายรายการ