นายแพทย์ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวยอมรับว่า ขณะนี้ความรุนแรงในเด็กและสตรี เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวัน จากสถิติการให้บริการของศูนย์พึ่งได้ ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ประจำจังหวัดทั่วประเทศ 297 แห่ง ในปี 2550 มีเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงเข้ารับบริการจำนวน 19,068 ราย เฉลี่ยนาทีละ 2 ราย เป็นหญิงอายุ 18 ปีขึ้นไป 8,172 ราย ที่เหลือเป็นเด็กจำนวน 9,579 ราย ขณะที่ปี 2548 มีสถิติถูกทำร้ายเฉลี่ยวันละ 32 ราย ในกลุ่มเด็กพบว่าเป็นเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย 3 - 4 เท่าตัว การบาดเจ็บในกลุ่มผู้หญิงมักถูกทุบตี ผู้ทำร้ายเป็นเพื่อนผู้ใกล้ชิด เช่น แฟน สามี สาเหตุมาจากเมาสุรา หึงหวง ส่วนปัญหาที่พบในกลุ่มเด็กอันดับ 1 คือการถูกละเมิดทางเพศ พบร้อยละ 64 และยังพบปัญหาจากสื่อลามกได้ร้อยละ 2 ที่น่าสังเกตในปี 2550 มีผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง 109 ราย ซึ่งผลกระทบของความรุนแรงทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 36,000 ล้านบาทต่อปี
นายแพทย์ศุภชัย กล่าวต่อไปว่า สถิติที่พบครั้งนี้ เชื่อว่ายังต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากความรุนแรงในเด็กและผู้หญิงกว่าร้อยละ 80 เกิดในครอบครัว ซึ่งสังคมไทยยังมีความเชื่อว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ควรเปิดเผยให้ใครทราบ และเด็กมักตกเป็นเหยื่อความรุนแรงได้ง่าย ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ขณะนี้ได้เปิดศูนย์พึ่งได้ ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศแล้ว เปิดรับแจ้งทางหมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง ในปี 2552 มีนโยบายจะขยายบริการศูนย์พึ่งได้ไปยังโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศจำนวน 729 แห่ง โดยเพิ่มบริการผู้สูงอายุด้วย และภายในปี 2555 จะขยายการบริการของศูนย์พึ่งได้ให้ครอบคลุมทุกสถานบริการสาธารณสุขระดับตำบลคือสถานีอนามัยทั่วประเทศ และประสานการทำงานกันเป็นเครือข่าย เพื่อรองรับและช่วยเหลือเด็ก สตรีและผู้สูงอายุ ที่ถูกกระทำรุนแรงให้ทันท่วงทีมากขึ้น
นายแพทย์ศุภชัย กล่าวต่อไปว่า สถิติที่พบครั้งนี้ เชื่อว่ายังต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากความรุนแรงในเด็กและผู้หญิงกว่าร้อยละ 80 เกิดในครอบครัว ซึ่งสังคมไทยยังมีความเชื่อว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ควรเปิดเผยให้ใครทราบ และเด็กมักตกเป็นเหยื่อความรุนแรงได้ง่าย ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ขณะนี้ได้เปิดศูนย์พึ่งได้ ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศแล้ว เปิดรับแจ้งทางหมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง ในปี 2552 มีนโยบายจะขยายบริการศูนย์พึ่งได้ไปยังโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศจำนวน 729 แห่ง โดยเพิ่มบริการผู้สูงอายุด้วย และภายในปี 2555 จะขยายการบริการของศูนย์พึ่งได้ให้ครอบคลุมทุกสถานบริการสาธารณสุขระดับตำบลคือสถานีอนามัยทั่วประเทศ และประสานการทำงานกันเป็นเครือข่าย เพื่อรองรับและช่วยเหลือเด็ก สตรีและผู้สูงอายุ ที่ถูกกระทำรุนแรงให้ทันท่วงทีมากขึ้น