นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงว่า ในช่วงครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยยังเติบโตต่อเนื่องร้อยละ 5.5 ซึ่งเป็นผลมาจากรัฐบาลใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ 6 มาตรการ 6 เดือน ที่มีวงเงินรวม 49,000 ล้านบาท ประกอบกับราคาน้ำมันเฉลี่ยในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มทรงตัวที่ 100 - 120 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาพืชผลการเกษตรสูงต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ยังต้องติดตามหากปัญหาการเมืองมีผลกระทบ เศรษฐกิจอาจจะขยายตัวเหลือร้อยละ 4.5 - 5 ส่วนปัจจัยที่ยังน่ากังวล และต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ ราคาน้ำมัน ปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐฯ ความไม่แน่นอนทางการเมือง
ทางศูนย์ฯ ได้ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้ใหม่ คาดว่าตลอดทั้งปีมีโอกาสขยายตัวเพิ่มเป็นร้อยละ 5.5 - 6 จากเดิมร้อยละ 5 - 5.5 ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ที่ 110 - 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และค่าเงินบาทอยู่ที่ 32.50 บาท - 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราเงินเฟ้อลดลง จากร้อยละ 7.2 - 7.3 เหลือร้อยละ 6.8 - 7.2 การส่งออกเติบโตสูงถึงร้อยละ 18 - 20 ส่วนการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 28 - 30 ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าประมาณ 500 - 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 3,000 - 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 1 - 1.5 จีดีพี
ทั้งนี้ ยังต้องติดตามหากปัญหาการเมืองมีผลกระทบ เศรษฐกิจอาจจะขยายตัวเหลือร้อยละ 4.5 - 5 ส่วนปัจจัยที่ยังน่ากังวล และต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ ราคาน้ำมัน ปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐฯ ความไม่แน่นอนทางการเมือง
ทางศูนย์ฯ ได้ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้ใหม่ คาดว่าตลอดทั้งปีมีโอกาสขยายตัวเพิ่มเป็นร้อยละ 5.5 - 6 จากเดิมร้อยละ 5 - 5.5 ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ที่ 110 - 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และค่าเงินบาทอยู่ที่ 32.50 บาท - 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราเงินเฟ้อลดลง จากร้อยละ 7.2 - 7.3 เหลือร้อยละ 6.8 - 7.2 การส่งออกเติบโตสูงถึงร้อยละ 18 - 20 ส่วนการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 28 - 30 ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าประมาณ 500 - 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 3,000 - 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 1 - 1.5 จีดีพี