นายฟีลาเกปา เสนาบดีกระทรวงวัง และโฆษกสำนักพระราชวังตองกา ราชอาณาจักรเล็กๆ ในหมู่เกาะโพลีนีเซียในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ แถลงว่า กษัตริย์จอร์จ ทูโพ ที่ 5 พระชนม์ 60 พรรษา จะสละพระราชอำนาจส่วนมาก เพื่อปูทางสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยให้รัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจมากขึ้น หลังราชวงศ์ตองกากุมอำนาจเยี่ยงระบบราชาธิปไตยมาหลายชั่วอายุคน
นายฟีลาเกปา เผยว่า กษัตริย์จอร์จ ทูโพ ที่ 5 ทรงสมัครพระทัยสละพระราชอำนาจเพื่อเห็นแก่ประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตย โดยกษัตริย์จะยุติบทบาทกำกับดูแลการทำงานของรัฐบาลแบบวันต่อวัน และให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ชี้แนะการปกครองในทุกเรื่องแทน จะวางพระองค์เป็นกลางอย่างเคร่งครัดเมื่อประชุมกับคณะรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภา และไม่แสดงความเห็นใดๆ ในเรื่องการเมือง
แถลงการณ์ครั้งนี้มีขึ้น 2 วันก่อนตองกาจะเริ่มจัดพิธีบรมราชาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ให้กษัตริย์จอร์จ ทูโพ ที่ 5 นาน 4 วัน ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์อย่างเป็นทางการใน 1 ส.ค.นี้ หลังพระองค์ขึ้นครองบัลลังก์ในปี 2549 สืบแทนอดีตกษัตริย์ทูโพ ที่ 4 พระราชบิดาที่สิ้นพระชนม์ และให้คำมั่นว่าจะเร่งปฏิรูปประเทศ โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐสภาเพิ่งอนุมัติให้ตั้งคณะกรรมการร่างแผนเปลี่ยนระบบรัฐบาลซึ่งระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ค.ศ.1875 คาดว่าการเปลี่ยนระบบจะมีผลบังคับใช้หลังการเลือกตั้งปี 2553 รัฐบาลยังประกาศว่ากษัตริย์จอร์จ ทูโป ที่ 5 ทรงขายธุรกิจทั้งหมดซึ่งเป็นหุ้นในบริษัทของรัฐบาลที่สร้างความร่ำรวยให้ราชวงศ์เรียบร้อยแล้ว
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นขณะที่ราชวงศ์ เผชิญแรงกดดันให้สละพระราชอำนาจ หลังมีเรื่องอื้อฉาวและการบริหารแผ่นดินผิดพลาด ทำให้ตองกาไม่สามารถขจัดปัญหาความยากจนได้ ส่วนการปฏิรูปประชาธิปไตยก็ล่าช้าทำให้ประชาชนไม่พอใจ จนเกิดการประท้วงจลาจลในกรุงนูกูอะโลฟา ในปี 2549 มีผู้เสียชีวิต 8 ศพ ตองกาเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่ยังปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อดีตกษัตริย์ทูโพ ที่ 4 ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 41 ปี เป็นรองแค่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของไทย สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ ที่ 2 แห่งอังกฤษ และกษัตริย์แห่งซามัว แต่พระองค์ทรงเผชิญเรื่องอื้อฉาวด้านธุรกิจหลายเรื่อง รวมทั้งถูกกล่าวหาว่าครอบครองกิจการบริษัทไฟฟ้า สื่อสารโทรคมนาคม ดาวเทียมสื่อสาร และสายการบินที่ถูกแปรรูปมาจากรัฐวิสาหกิจอย่างไม่ชอบธรรม ส่วนกษัตริย์จอร์จ ทูโพ ที่ 5 ทรงพยายามกำจัดภาพลักษณ์เพลย์บอย ตั้งแต่สมัยยังเป็นมกุฎราชกุมาร เพื่อหวังฟื้นฟูความศรัทธาในราชวงศ์
นายฟีลาเกปา เผยว่า กษัตริย์จอร์จ ทูโพ ที่ 5 ทรงสมัครพระทัยสละพระราชอำนาจเพื่อเห็นแก่ประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตย โดยกษัตริย์จะยุติบทบาทกำกับดูแลการทำงานของรัฐบาลแบบวันต่อวัน และให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ชี้แนะการปกครองในทุกเรื่องแทน จะวางพระองค์เป็นกลางอย่างเคร่งครัดเมื่อประชุมกับคณะรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภา และไม่แสดงความเห็นใดๆ ในเรื่องการเมือง
แถลงการณ์ครั้งนี้มีขึ้น 2 วันก่อนตองกาจะเริ่มจัดพิธีบรมราชาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ให้กษัตริย์จอร์จ ทูโพ ที่ 5 นาน 4 วัน ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์อย่างเป็นทางการใน 1 ส.ค.นี้ หลังพระองค์ขึ้นครองบัลลังก์ในปี 2549 สืบแทนอดีตกษัตริย์ทูโพ ที่ 4 พระราชบิดาที่สิ้นพระชนม์ และให้คำมั่นว่าจะเร่งปฏิรูปประเทศ โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐสภาเพิ่งอนุมัติให้ตั้งคณะกรรมการร่างแผนเปลี่ยนระบบรัฐบาลซึ่งระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ค.ศ.1875 คาดว่าการเปลี่ยนระบบจะมีผลบังคับใช้หลังการเลือกตั้งปี 2553 รัฐบาลยังประกาศว่ากษัตริย์จอร์จ ทูโป ที่ 5 ทรงขายธุรกิจทั้งหมดซึ่งเป็นหุ้นในบริษัทของรัฐบาลที่สร้างความร่ำรวยให้ราชวงศ์เรียบร้อยแล้ว
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นขณะที่ราชวงศ์ เผชิญแรงกดดันให้สละพระราชอำนาจ หลังมีเรื่องอื้อฉาวและการบริหารแผ่นดินผิดพลาด ทำให้ตองกาไม่สามารถขจัดปัญหาความยากจนได้ ส่วนการปฏิรูปประชาธิปไตยก็ล่าช้าทำให้ประชาชนไม่พอใจ จนเกิดการประท้วงจลาจลในกรุงนูกูอะโลฟา ในปี 2549 มีผู้เสียชีวิต 8 ศพ ตองกาเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่ยังปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อดีตกษัตริย์ทูโพ ที่ 4 ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 41 ปี เป็นรองแค่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของไทย สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ ที่ 2 แห่งอังกฤษ และกษัตริย์แห่งซามัว แต่พระองค์ทรงเผชิญเรื่องอื้อฉาวด้านธุรกิจหลายเรื่อง รวมทั้งถูกกล่าวหาว่าครอบครองกิจการบริษัทไฟฟ้า สื่อสารโทรคมนาคม ดาวเทียมสื่อสาร และสายการบินที่ถูกแปรรูปมาจากรัฐวิสาหกิจอย่างไม่ชอบธรรม ส่วนกษัตริย์จอร์จ ทูโพ ที่ 5 ทรงพยายามกำจัดภาพลักษณ์เพลย์บอย ตั้งแต่สมัยยังเป็นมกุฎราชกุมาร เพื่อหวังฟื้นฟูความศรัทธาในราชวงศ์