นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ อดีตรองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การที่ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และคณะรัฐมนตรี เห็นชอบกับแผนที่ของประเทศกัมพูชา ที่จะขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้น เป็นการกระทำที่กระทบสิทธิอธิปไตยของประเทศ ตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ซึ่งเรื่องนี้ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ไม่ใช่การตัดสินใจของคนคนเดียว หรือกลุ่มเดียว เพราะเรื่องปราสาทพระวิหารเป็นเรื่องสลับซับซ้อน มีพัฒนาการความเป็นมาค่อนศตวรรษ จึงควรนำข้อมูลทั้งหมดมาเปิดเผยและอภิปรายในรัฐสภา ให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศได้มีส่วนร่วมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ตามมาตรา 87 แห่งรัฐธรรมนูญด้วย โดยมีคำถามที่ต้องพิจารณา ให้เกิดความกระจ่างชัดในรัฐสภา คือ ในระหว่างการเจรจาทำความตกลงกับกัมพูชา ได้มีการหยิบยกข้อสงวนของไทยที่ไม่เคยยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหารมาพิจารณาด้วยหรือไม่ และการยอมรับให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว รวมถึงการยอมรับแผนที่ของกัมพูชา ถือเป็นการยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหารหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้มีนัยสำคัญเกี่ยวกับสิทธิอธิปไตยของประเทศ การที่นายนพดลอ้างว่า ไทยไม่ได้เสียดินแดนให้กัมพูชาเลย ไม่ได้หมายความว่าจะไม่กระทบต่อสิทธิอธิปไตย เพราะอาจสูญเสียสิทธิที่จะอ้างอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารในอนาคตเลยก็ได้ และการที่นายนพดล อ้างว่า พร้อมจะลาออกจากตำแหน่ง เทียบไม่ได้กับความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นต่ออธิปไตยของประเทศไทยในอนาคต
นายแพทย์ชูชัย กล่าวอีกว่า การพิจารณาเรื่องนี้ควรให้วุฒิสมาชิก 63 คน ซึ่งเป็นจำนวนหนึ่งในสิบของสมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภา เสนอเรื่องนี้ต่อประธานวุฒิสภาโดยตรง แล้วให้ประธานวุฒิสภาเสนอความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว เพราะประธานวุฒิสภา เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจได้
นายแพทย์ชูชัย กล่าวอีกว่า การพิจารณาเรื่องนี้ควรให้วุฒิสมาชิก 63 คน ซึ่งเป็นจำนวนหนึ่งในสิบของสมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภา เสนอเรื่องนี้ต่อประธานวุฒิสภาโดยตรง แล้วให้ประธานวุฒิสภาเสนอความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว เพราะประธานวุฒิสภา เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจได้