คณะผู้พิพากษาศาลสูงสุดของสหรัฐฯตัดสินเมื่อวันพฤหัสบดี(12)ว่า บรรดานักโทษที่ถูกรัฐบาลอเมริกันจองจำไว้ในคุกกวนตานาโมมานานปี มีสิทธิที่จะต่อสู้คดีในศาลพลเรือนของสหรัฐฯได้ คำพิพากษาที่ออกมาเช่นนี้ถือเป็นความปราชัยอีกก้าวหนึ่งในนโยบายทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช
คณะผู้พิพากษาศาลสูงสุดของสหรัฐฯมีมติด้วยคะแนน 5 ต่อ 4 ให้ยกเลิกกฎหมายที่ประธานาธิบดีผลักดันผ่านรัฐสภาเมื่อปี 2006 ที่เวลานั้นพรรครีพับลิกันคุมเสียงข้างมากอยู่ โดยกฎหมายดังกล่าวมีสาระสำคัญที่ให้เพิกถอนสิทธิ์ของพวกผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ในการร้องขอให้ศาลสหรัฐฯไต่สวนว่า การถูกคุมขังของพวกเขาเป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
การตัดสินล่าสุดของศาลสูงสุดคราวนี้ นับเป็นการปฏิเสธครั้งที่สี่ของศาลสูงสุด ต่อการตีความกฎหมายอันเนื่องมาจากนโยบายสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของรัฐบาล และทำให้พวกนักโทษในกวนตานาโมราว 270 คนตลอดจนทนายความของพวกเขา มีสิทธิที่จะเรียกร้องขอรับรู้ข้อกล่าวหาที่มีตัวนักโทษเหล่านี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลบุชปฏิเสธตลอดมา เพราะเกรงว่าจะต้องเปิดเผยถึงหลักฐานที่ใช้ในตั้งข้อหาและควบคุมบุคคลเหล่านั้น ทั้งนี้รัฐบาลบุชให้เหตุผลว่าการเปิดเผยจะทำให้เกิดผลร้ายต่อความมั่นคงของชาติ
ภายหลังการตัดสินของศาลสูงสุด บุชซึ่งกำลังอยู่ระหว่างเยือนยุโรปอย่างเป็นทางการ ได้กล่าวในการแถลงข่าวที่กรุงโรมว่า "รัฐบาลจะทำตามคำสั่งของศาล แต่ไม่ได้หมายความว่าผมจะเห็นด้วยกับคำตัดสินนี้" เขากล่าวด้วยว่า "รัฐบาลก็คงจะนำเอาสิ่งที่ศาลตัดสินมาศึกษา เพื่อที่จะดูว่าจะต้องใช้วิธีการทางกฎหมายอื่นใดเข้ามาอีกหรือไม่"
คณะผู้พิพากษาศาลสูงสุดของสหรัฐฯมีมติด้วยคะแนน 5 ต่อ 4 ให้ยกเลิกกฎหมายที่ประธานาธิบดีผลักดันผ่านรัฐสภาเมื่อปี 2006 ที่เวลานั้นพรรครีพับลิกันคุมเสียงข้างมากอยู่ โดยกฎหมายดังกล่าวมีสาระสำคัญที่ให้เพิกถอนสิทธิ์ของพวกผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ในการร้องขอให้ศาลสหรัฐฯไต่สวนว่า การถูกคุมขังของพวกเขาเป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
การตัดสินล่าสุดของศาลสูงสุดคราวนี้ นับเป็นการปฏิเสธครั้งที่สี่ของศาลสูงสุด ต่อการตีความกฎหมายอันเนื่องมาจากนโยบายสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของรัฐบาล และทำให้พวกนักโทษในกวนตานาโมราว 270 คนตลอดจนทนายความของพวกเขา มีสิทธิที่จะเรียกร้องขอรับรู้ข้อกล่าวหาที่มีตัวนักโทษเหล่านี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลบุชปฏิเสธตลอดมา เพราะเกรงว่าจะต้องเปิดเผยถึงหลักฐานที่ใช้ในตั้งข้อหาและควบคุมบุคคลเหล่านั้น ทั้งนี้รัฐบาลบุชให้เหตุผลว่าการเปิดเผยจะทำให้เกิดผลร้ายต่อความมั่นคงของชาติ
ภายหลังการตัดสินของศาลสูงสุด บุชซึ่งกำลังอยู่ระหว่างเยือนยุโรปอย่างเป็นทางการ ได้กล่าวในการแถลงข่าวที่กรุงโรมว่า "รัฐบาลจะทำตามคำสั่งของศาล แต่ไม่ได้หมายความว่าผมจะเห็นด้วยกับคำตัดสินนี้" เขากล่าวด้วยว่า "รัฐบาลก็คงจะนำเอาสิ่งที่ศาลตัดสินมาศึกษา เพื่อที่จะดูว่าจะต้องใช้วิธีการทางกฎหมายอื่นใดเข้ามาอีกหรือไม่"