พล.ต.กนก เนตระคเวสนะ ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่จากกรมแผนที่ทหารและจากกรมสนธิสัญญาของกระทรวงการต่างประเทศ เสร็จสิ้นภารกิจตรวจสอบพิกัดแผนที่ บริเวณรอบตัวปราสาทเขาพระวิหารแล้ว ซึ่งเป็นการตรวจสอบตามรายละเอียดในแผนที่ฉบับใหม่ที่ฝ่ายกัมพูชาเสนอให้ไทย และเป็นแผนที่ฉบับเดียวกันที่จะเสนอให้ทางยูเนสโก ใช้พิจารณาประกอบการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก ในเดือนกรกฏกาคมนี้
ส่วนเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงที่เกี่ยวข้องเรื่องนี้ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบพื้นที่ ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า พิกัดที่มีการเสนอตามแผนที่ฉบับใหม่ เมื่อมีการพิจารณาโดยรวมแล้ว คณะทำงานมีความพอใจร้อยละ 80 และเห็นว่า แนวเขตแดนที่เสนอใหม่ โดยให้มีระยะห่าง 30 เมตร จากตัวปราสาท ทั้งทางทิศตะวันตก และทิศเหนือนั้น ไม่ล้ำแนวเขตแดนของไทย ที่ถือตามมติคณะรัฐมนตรี ปี 2505 ซึ่งให้มีแนวเขตแดนที่ระยะ 100 เมตร จากทางทิศตะวันตกและ 20 เมตรทางทิศเหนือของตัวปราสาท และสภาความมั่นคงแห่งชาติ จะหารือเรื่องนี้อีกครั้ง ในการประชุมวันพรุ่งนี้
ขณะที่กลุ่มสมัชชาประชาชน จ.ศรีสะเกษ ได้ออกมาชุมนุมแสดงความไม่พอใจ ที่ชาวกัมพูชาเข้าไปปลูกสร้างบ้านเรือน ร้านค้า ปริมาณกว่า 100 หลังคาเรือน ที่รุกล้ำบริเวณพื้นที่ทับซ้อนทางทิศเหนือรอบตัวปราสาท โดยมีการชุมนุมถือป้ายประท้วงไปตามถนนสายหลัก ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษเมื่อเช้านี้ โดยเรียกร้องให้มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากพื้นที่ทับซ้อน พร้อมโจมตีเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยที่ไม่ดำเนินการใดๆ ปล่อยให้มีการปลูกสร้าง โดยไม่มีการผลักดัน
ขณะเดียวกัน พล.ต.กนก ยืนยันว่า กองกำลังสุรนารี ไม่ได้ละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะได้รายงานต่อกระทรวงการต่างประเทศให้รับทราบตลอด ซึ่งพร้อมเข้าดำเนินการรื้อถอนทันที หากมีคำสั่งลงมาจากหน่วยเหนือ
โดยการสร้างในพื้นที่ทับซ้อนนั้น เป็นการละเมิดบันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชา พุทธศักราช 2543 และกระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้ทำหนังสือประท้วงรัฐบาลกัมพูชา ผ่านการทูตมาแล้ว 4 ครั้ง แต่ฝ่ายกัมพูชาไม่ได้ดำเนินการใดๆ จนขณะนี้ กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ในพื้นที่ทับซ้อน รวมทั้งฝ่ายกัมพูชาอ้างมาตลอดว่า พื้นที่ทับซ้อนที่ไทยกล่าวอ้างนั้น อยู่ในเขตแดนของกัมพูชา
ส่วนเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงที่เกี่ยวข้องเรื่องนี้ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบพื้นที่ ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า พิกัดที่มีการเสนอตามแผนที่ฉบับใหม่ เมื่อมีการพิจารณาโดยรวมแล้ว คณะทำงานมีความพอใจร้อยละ 80 และเห็นว่า แนวเขตแดนที่เสนอใหม่ โดยให้มีระยะห่าง 30 เมตร จากตัวปราสาท ทั้งทางทิศตะวันตก และทิศเหนือนั้น ไม่ล้ำแนวเขตแดนของไทย ที่ถือตามมติคณะรัฐมนตรี ปี 2505 ซึ่งให้มีแนวเขตแดนที่ระยะ 100 เมตร จากทางทิศตะวันตกและ 20 เมตรทางทิศเหนือของตัวปราสาท และสภาความมั่นคงแห่งชาติ จะหารือเรื่องนี้อีกครั้ง ในการประชุมวันพรุ่งนี้
ขณะที่กลุ่มสมัชชาประชาชน จ.ศรีสะเกษ ได้ออกมาชุมนุมแสดงความไม่พอใจ ที่ชาวกัมพูชาเข้าไปปลูกสร้างบ้านเรือน ร้านค้า ปริมาณกว่า 100 หลังคาเรือน ที่รุกล้ำบริเวณพื้นที่ทับซ้อนทางทิศเหนือรอบตัวปราสาท โดยมีการชุมนุมถือป้ายประท้วงไปตามถนนสายหลัก ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษเมื่อเช้านี้ โดยเรียกร้องให้มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากพื้นที่ทับซ้อน พร้อมโจมตีเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยที่ไม่ดำเนินการใดๆ ปล่อยให้มีการปลูกสร้าง โดยไม่มีการผลักดัน
ขณะเดียวกัน พล.ต.กนก ยืนยันว่า กองกำลังสุรนารี ไม่ได้ละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะได้รายงานต่อกระทรวงการต่างประเทศให้รับทราบตลอด ซึ่งพร้อมเข้าดำเนินการรื้อถอนทันที หากมีคำสั่งลงมาจากหน่วยเหนือ
โดยการสร้างในพื้นที่ทับซ้อนนั้น เป็นการละเมิดบันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชา พุทธศักราช 2543 และกระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้ทำหนังสือประท้วงรัฐบาลกัมพูชา ผ่านการทูตมาแล้ว 4 ครั้ง แต่ฝ่ายกัมพูชาไม่ได้ดำเนินการใดๆ จนขณะนี้ กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ในพื้นที่ทับซ้อน รวมทั้งฝ่ายกัมพูชาอ้างมาตลอดว่า พื้นที่ทับซ้อนที่ไทยกล่าวอ้างนั้น อยู่ในเขตแดนของกัมพูชา