ที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช.วานนี้ (9 มิ.ย.) มีการหารือถึงแผนที่ฉบับใหม่ของฝ่ายกัมพูชา ที่จะเสนอให้ยูเนสโก (UNESCO) ใช้พิจารณาประกอบการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกต้นเดือนกรกฎาคมนี้ ที่ประเทศแคนาดา ที่ประชุมมีความพอใจในระดับหนึ่ง เนื่องจากเห็นว่ามีการปรับแก้ไปจากเดิม และได้ให้กรมแผนที่ทหารลงตรวจสอบพื้นที่จริงรอบตัวปราสาทเขาพระวิหาร เพื่อตรวจเช็คกับพิกัดที่เสนอขึ้นมาในแผนที่ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า แผนที่ฉบับใหม่มีความใกล้เคียงกับแนวเขตแดน ตามแผนที่ L7017 ที่ไทยใช้อยู่ และแผนที่ใหม่ของกัมพูชานั้น ไม่ได้อ้างสิทธิ์เข้าครอบครองพื้นที่ทับซ้อนทางด้านตะวันตก และทางด้านทิศเหนือของตัวปราสาท
นายทิวา รุ้งแก้ว ประธานคณะกรรมการประสานงานเพื่อพัฒนา จ.ศรีสะเกษ แสดงความกังวลเรื่องชาวกัมพูชารุกล้ำพื้นที่ทับซ้อนรอบตัวปราสาท ด้วยการสร้างอาคาร ร้านค้า ที่พักรวม 100 กว่าหลังคาเรือน โดยบอกว่า ถ้าปล่อยไปโดยไม่มีการแก้ไข จะทำให้กัมพูชาใช้เป็นเหตุในการเข้าครอบครองพื้นที่ทับซ้อนอย่างถาวร เพราะตามบันทึกช่วยจำ ระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชา ในปี 2543 มีบันทึกว่า ห้ามสร้างสิ่งปลูกสร้างใดๆ ในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบตัวปราสาท แต่กัมพูชา กลับปล่อยให้มีการสร้างบ้านเรือน ร้านค้าและวัด ในพื้นที่ทับซ้อน ตั้งแต่ปี 2543
นายทิวา รุ้งแก้ว ประธานคณะกรรมการประสานงานเพื่อพัฒนา จ.ศรีสะเกษ แสดงความกังวลเรื่องชาวกัมพูชารุกล้ำพื้นที่ทับซ้อนรอบตัวปราสาท ด้วยการสร้างอาคาร ร้านค้า ที่พักรวม 100 กว่าหลังคาเรือน โดยบอกว่า ถ้าปล่อยไปโดยไม่มีการแก้ไข จะทำให้กัมพูชาใช้เป็นเหตุในการเข้าครอบครองพื้นที่ทับซ้อนอย่างถาวร เพราะตามบันทึกช่วยจำ ระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชา ในปี 2543 มีบันทึกว่า ห้ามสร้างสิ่งปลูกสร้างใดๆ ในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบตัวปราสาท แต่กัมพูชา กลับปล่อยให้มีการสร้างบ้านเรือน ร้านค้าและวัด ในพื้นที่ทับซ้อน ตั้งแต่ปี 2543