นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีประเทศกัมพูชาขอจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ว่า สัปดาห์หน้า นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และคณะรัฐมนตรี ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ห่วงใยว่า ท่าทีของรัฐบาลเช่นนี้อาจจะกระทบต่อการสูญเสียสิทธิในการเรียกร้องอธิปไตยเหนือเขาพระวิหาร จึงขอให้ สมช.และรัฐบาล พิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ
ทั้งนี้ มีทางเลือกอยู่ 3 กรณี สำหรับการเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมรดกโลก ซึ่งจะมีการประชุมขึ้นในระหว่างวันที่ 2-10 กรกฎาคมนี้ ที่ประเทศแคนาดา ประกอบด้วย 1. ประเทศไทยคัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของประเทศกัมพูชา 2. ไทยและกัมพูชาร่วมกันเสนอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และ 3. เสนอให้องค์การยูเนสโกเลื่อนการพิจารณาออกไปจนกว่าจะได้ข้อยุติ
นายอลงกรณ์ กล่าวด้วยว่า ในอดีตประเทศไทยเคยแพ้คดีโดยที่ศาลโลก หรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในขณะนั้น ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ว่า เขาพระวิหารนั้นเป็นของประเทศกัมพูชา โดยคำพิพากษาดังกล่าวไม่เป็นธรรมและไม่ได้ยึดหลักกฎหมาย ทั้งที่ข้อเท็จจริงและสนธิสัญญาแวร์ซายน์ในเวลาต่อมายืนยันชัดเจนว่า การกำหนดพื้นที่ที่มีปัญหาข้อพิพาทชายแดนหรือเขตแดนนั้น ให้ยึดถือเอาหลักสันปันน้ำ ดังนั้นในวันที่ 3 กรกฎาคม 2505 ประเทศไทยจึงมีหนังสือถึงเลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) โดยสงวนสิทธิในการที่ประเทศไทยจะใช้สิทธิในอนาคตที่จะทวงคืนอธิปไตยที่มีเหนือเขาพระวิหารต่อไป
ทั้งนี้ มีทางเลือกอยู่ 3 กรณี สำหรับการเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมรดกโลก ซึ่งจะมีการประชุมขึ้นในระหว่างวันที่ 2-10 กรกฎาคมนี้ ที่ประเทศแคนาดา ประกอบด้วย 1. ประเทศไทยคัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของประเทศกัมพูชา 2. ไทยและกัมพูชาร่วมกันเสนอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และ 3. เสนอให้องค์การยูเนสโกเลื่อนการพิจารณาออกไปจนกว่าจะได้ข้อยุติ
นายอลงกรณ์ กล่าวด้วยว่า ในอดีตประเทศไทยเคยแพ้คดีโดยที่ศาลโลก หรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในขณะนั้น ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ว่า เขาพระวิหารนั้นเป็นของประเทศกัมพูชา โดยคำพิพากษาดังกล่าวไม่เป็นธรรมและไม่ได้ยึดหลักกฎหมาย ทั้งที่ข้อเท็จจริงและสนธิสัญญาแวร์ซายน์ในเวลาต่อมายืนยันชัดเจนว่า การกำหนดพื้นที่ที่มีปัญหาข้อพิพาทชายแดนหรือเขตแดนนั้น ให้ยึดถือเอาหลักสันปันน้ำ ดังนั้นในวันที่ 3 กรกฎาคม 2505 ประเทศไทยจึงมีหนังสือถึงเลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) โดยสงวนสิทธิในการที่ประเทศไทยจะใช้สิทธิในอนาคตที่จะทวงคืนอธิปไตยที่มีเหนือเขาพระวิหารต่อไป