นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวในการสัมมนาของชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เรื่อง "แผนลงทุนชายฝั่งทะเลตะวันตก : อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ" ว่า อุตสาหกรรมเหล็กและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นอนาคตประเทศ ปัจจุบันผลิตได้เฉพาะเหล็กปลายน้ำที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่เหล็กซึ่งต้องนำเข้า คือ เหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ อาหารกระป๋อง ภาชนะบรรจุต่างๆ มีความต้องการเพิ่มมากขึ้น และระยะหลังวงการก่อสร้างก็ต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูง โดยเฉพาะการก่อสร้างอาคารที่สามารถรับมือกับสถานการณ์แผ่นดินไหว ซึ่งการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในประเทศ นอกเหนือจากเรื่องความคุ้มทุนแล้ว ยังพิจารณาในประเด็นลดการพึ่งพาอีกด้วย
รองเลขาธิการ สศช. กล่าวว่า การส่งเสริมอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งยังไม่มีการดำเนินการเรื่องโครงสร้างพื้นฐานนั้น เพราะต้องทำควบคู่กับการเชิญชวนนักลงทุน หากมีความชัดเจน รัฐบาลจึงจะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐจำเป็นต้องจัดหา โดยขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ประกาศเชิญชวน และมีนักลงทุนแสดงเจตจำนงเบื้องต้น ได้แก่ บริษัท Arcelor Mittal บริษัท Nippon Steel Coporation บริษัท JEF และบริษัท Baostell
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สภาพัฒน์ ช่วยดูว่า การส่งเสริมอุตสาหกรรมเหล็กที่เหมาะสมเป็นอย่างไร ซึ่งต้องดูทั้งเรื่องเทคโนโลยี การมีส่วนร่วมของชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยได้แจ้งกับนักลงทุนทั้ง 4 รายในเรื่องนี้แล้ว
"เรื่องผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมไม่น่าห่วงเท่าไร เพราะอุตสาหกรรมเหล็กในเรื่องของเทคโนโลยีมีพัฒนาการมาตลอด แต่สิ่งที่ต้องทำเพิ่มคือจะอยู่กับชุมชนอย่างไร เช่นในกรณีของจีนจะมีข้อกำหนดว่า ต้องมีงบลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม 5 เปอร์เซ็นต์ ของงบประมาณ แต่เงินอย่างเดียวไม่ยั่งยืน ต้องเป็นเรื่องของความสัมพันธ์กับชุมชน ดูแลชุมชน จะยั่งยืนกว่า เช่น การจ้างงาน การส่งเสริมด้านการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพคนในพื้นที่ หรือเรื่องของสุขอนามัยซึ่งต้องนำบทเรียนของมาบตาพุดมาใช้" นายอาคมระบุ
รองเลขาธิการ สศช. กล่าวว่า การส่งเสริมอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งยังไม่มีการดำเนินการเรื่องโครงสร้างพื้นฐานนั้น เพราะต้องทำควบคู่กับการเชิญชวนนักลงทุน หากมีความชัดเจน รัฐบาลจึงจะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐจำเป็นต้องจัดหา โดยขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ประกาศเชิญชวน และมีนักลงทุนแสดงเจตจำนงเบื้องต้น ได้แก่ บริษัท Arcelor Mittal บริษัท Nippon Steel Coporation บริษัท JEF และบริษัท Baostell
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สภาพัฒน์ ช่วยดูว่า การส่งเสริมอุตสาหกรรมเหล็กที่เหมาะสมเป็นอย่างไร ซึ่งต้องดูทั้งเรื่องเทคโนโลยี การมีส่วนร่วมของชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยได้แจ้งกับนักลงทุนทั้ง 4 รายในเรื่องนี้แล้ว
"เรื่องผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมไม่น่าห่วงเท่าไร เพราะอุตสาหกรรมเหล็กในเรื่องของเทคโนโลยีมีพัฒนาการมาตลอด แต่สิ่งที่ต้องทำเพิ่มคือจะอยู่กับชุมชนอย่างไร เช่นในกรณีของจีนจะมีข้อกำหนดว่า ต้องมีงบลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม 5 เปอร์เซ็นต์ ของงบประมาณ แต่เงินอย่างเดียวไม่ยั่งยืน ต้องเป็นเรื่องของความสัมพันธ์กับชุมชน ดูแลชุมชน จะยั่งยืนกว่า เช่น การจ้างงาน การส่งเสริมด้านการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพคนในพื้นที่ หรือเรื่องของสุขอนามัยซึ่งต้องนำบทเรียนของมาบตาพุดมาใช้" นายอาคมระบุ