สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับสภาสถาบันนักวิชาการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (สสมท.) ได้จัดเสวนา "กรณีศึกษาสหวิริยาฟ้องแหล่งข่าวรายการสยามเช้านี้ : การใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการละเมิดกับการปกป้องเสรีภาพในการสื่อสาร" โดยนำกรณี น.ส.วัชรี พลอยแดง เจ้าของร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งติดป้ายหน้าร้านข้อความ "ไม่รับตัดเสื้อแดงทุกชนิด" โดยไม่รับตัดเสื้อสีแดงของบริษัทสหวิริยา และสัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า เสื้อแดงเป็นสัญลักษณ์ความขัดแย้งของชาวบางสะพาน อีกทั้งการสร้างโรงถลุงเหล็กของบริษัทเครือสหวิริยา เป็นอุตสาหกรรมชั้นต่ำ ส่งผลให้สหวิริยาดำเนินการฟ้องหมิ่นประมาท เป็นประเด็นหลักในการเสวนา
น.ส.วัชรี กล่าวว่า ได้อธิบายกับสื่อมวลชนที่มาสัมภาษณ์ว่า ชาวบ้านเกิดความขัดแย้งแตกแยกออกเป็น 2 กลุ่ม จึงไม่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมกับความขัดแย้งของกลุ่มเสื้อเขียวและเสื้อแดง ในปัญหาการสร้างโรงถลุงเหล็ก ส่วนการระบุที่ตนว่า โรงถลุงเหล็กเป็นอุตสาหกรรมชั้นต่ำนั้นเป็นการเปรียบเทียบกับ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมชั้นสูง ไม่ได้มีเจตนาดูถูกโรงถลุงเหล็กให้เสื่อมเสีย
ด้านนายสุวรรณ ทองกลอย ทนายความบริษัทสหวิริยา กล่าวว่า การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งต้องการที่จะออกมาปกป้องสิ่งใดก็แล้วแต่ ควรจะไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนว่าสิ่งที่พูดหรือแสดงออกไปนั้นจะทำให้บุคคลอื่นเสียหายหรือไม่ หากก่อให้เกิดความเสียหายก็ไม่ควรที่จะพูดออกมาเพราะจะยิ่งทำให้ประชาชนเกิดการเข้าใจผิดเพิ่มขึ้น สำหรับการจัดเสวนาขึ้นในครั้งนี้ตนคิดว่าเป็นโอกาสดีที่จะชี้แจงและทำความเข้าใจกับ น.ส.วัชรี เสียใหม่ อีกทั้งตนขอเสนอว่าให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงไปจัดการประชุมเสวนากันอีกครั้ง พร้อมทั้งสื่อก็ควรที่จะลงไปเจาะลึกและตีแผ่ถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ในโอกาสต่อไปด้วย
นายไพโรจน์ มกร์ดารา ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการพิเศษ เครือสหวิริยา กล่าวว่า เจตนารมณ์ของทางบริษัทฯ ไม่ต้องการที่จะเอาผิดกับใคร ต้องการทำความจริงให้ปรากฏ ซึ่งในช่วงที่มีความขัดแย้งคุกรุ่น การลงไปพูดคุยโดยตรงทำได้ยาก แต่เมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ศาลจะมีกระบวนการไกล่เกลี่ย ซึ่งเป็นเวทีที่จะทำให้มีการพูดคุยและในที่สุดก็จะยุติปัญหาตรงนั้น ไม่ได้ต้องการลงโทษหรือเรียกร้องค่าเสียหาย โดยก่อนหน้านี้ก็เคยมีคดีฟ้องร้องกับแกนนำกลุ่มคัดค้านแต่ที่สุดก็ไกล่เกลี่ยมีมีการทำความเข้าใจกัน
นอกจากนี้ เสื้อสีแดงของบริษัทก็เป็นชุดพนักงานที่ใช้ทั้งในกรุงเทพและบางสะพาน ไม่เกี่ยวข้องกลุ่มชาวบ้านที่ใช้เสื้อแดงเป็นสัญลักษณ์ ขัดแย้งกับกลุ่มเสื้อเขียว และไม่มีนโยบายการใช้ความรุนแรง ดังนั้นเมื่อมีการนำเสนอข่าวว่าบริษัทเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงส่งผลกระทบต่อธุรกิจ อย่างไรก็ตาม หากเป็นการเข้าใจผิดก็ยินดีพร้อมที่จะประนีประนอมและไกล่เกลี่ยเพื่อให้เป็นผลดีต่อทุกฝ่ายเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม นายไพโรจน์ ชี้แจงว่า การที่บริษัทไม่ฟ้องช่อง 5 หรือรายการสยามเช้านี้ของเนชั่น เพราะคิดว่าต้นทางของข่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิด จึงต้องดำเนินการไปฟ้องแหล่งข่าว หรือผู้พูดแทน บริษัทมีเจตนาจะสร้างความเข้าใจอยู่ร่วมกับคนในชุมชนอย่างถูกต้อง สิ่งใดที่คนในชุมชนเสนอมาก็ได้รับมาทำอยู่ตลอดเวลา
ทางด้าน ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ปัญหาเกิดจากกระบวนการสื่อสารที่อาจคลาดเคลื่อนและเข้าใจไม่ตรงกัน แต่แม้คดีนี้จะจบ แต่ความขัดแย้งในเชิงโครงสร้างยังจะมีอยู่ ซึ่งตนไม่โทษบริษัทและประชาชน เพราะตัวละครสำคัญ คือ กระทรวงอุตสาหกรรม และสภาพัฒน์ ซึ่งจะต้องดูแลเรื่องโครงสร้างพื้นฐานและการยอมรับของประชาชนก่อนให้เอกชนเข้าไปทำหน้าที่ จึงอยากเรียกร้องบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งคาดว่ากว่าจะขยับก็คงต้องใช้เวลา ดังนั้นระหว่างนี้องค์กรสื่อควรเข้ามามีบทบาทในการสร้างความไว้วางใจ เพราะหากสื่อทำหน้าที่ชัดเจน ปัญหาการฟ้องร้องในลักษณะนี้จะไม่เกิด
ขณะที่การทำความจริงให้ปรากฏ ก็ควรจัดตั้งคณะทำงานมีตัวแทนจากภาครัฐ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ องค์กรสื่อ ชาวบ้านทั้งสองฝ่าย และบริษัทสหวิริยา ทำการศึกษาในปัญหาและประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นและดำเนินการตรวจสอบพิสูจน์ หากผลลัพธ์ออกเช่นใดก็ต้องยอมรับทั้งสองฝ่าย
น.ส.วัชรี กล่าวว่า ได้อธิบายกับสื่อมวลชนที่มาสัมภาษณ์ว่า ชาวบ้านเกิดความขัดแย้งแตกแยกออกเป็น 2 กลุ่ม จึงไม่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมกับความขัดแย้งของกลุ่มเสื้อเขียวและเสื้อแดง ในปัญหาการสร้างโรงถลุงเหล็ก ส่วนการระบุที่ตนว่า โรงถลุงเหล็กเป็นอุตสาหกรรมชั้นต่ำนั้นเป็นการเปรียบเทียบกับ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมชั้นสูง ไม่ได้มีเจตนาดูถูกโรงถลุงเหล็กให้เสื่อมเสีย
ด้านนายสุวรรณ ทองกลอย ทนายความบริษัทสหวิริยา กล่าวว่า การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งต้องการที่จะออกมาปกป้องสิ่งใดก็แล้วแต่ ควรจะไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนว่าสิ่งที่พูดหรือแสดงออกไปนั้นจะทำให้บุคคลอื่นเสียหายหรือไม่ หากก่อให้เกิดความเสียหายก็ไม่ควรที่จะพูดออกมาเพราะจะยิ่งทำให้ประชาชนเกิดการเข้าใจผิดเพิ่มขึ้น สำหรับการจัดเสวนาขึ้นในครั้งนี้ตนคิดว่าเป็นโอกาสดีที่จะชี้แจงและทำความเข้าใจกับ น.ส.วัชรี เสียใหม่ อีกทั้งตนขอเสนอว่าให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงไปจัดการประชุมเสวนากันอีกครั้ง พร้อมทั้งสื่อก็ควรที่จะลงไปเจาะลึกและตีแผ่ถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ในโอกาสต่อไปด้วย
นายไพโรจน์ มกร์ดารา ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการพิเศษ เครือสหวิริยา กล่าวว่า เจตนารมณ์ของทางบริษัทฯ ไม่ต้องการที่จะเอาผิดกับใคร ต้องการทำความจริงให้ปรากฏ ซึ่งในช่วงที่มีความขัดแย้งคุกรุ่น การลงไปพูดคุยโดยตรงทำได้ยาก แต่เมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ศาลจะมีกระบวนการไกล่เกลี่ย ซึ่งเป็นเวทีที่จะทำให้มีการพูดคุยและในที่สุดก็จะยุติปัญหาตรงนั้น ไม่ได้ต้องการลงโทษหรือเรียกร้องค่าเสียหาย โดยก่อนหน้านี้ก็เคยมีคดีฟ้องร้องกับแกนนำกลุ่มคัดค้านแต่ที่สุดก็ไกล่เกลี่ยมีมีการทำความเข้าใจกัน
นอกจากนี้ เสื้อสีแดงของบริษัทก็เป็นชุดพนักงานที่ใช้ทั้งในกรุงเทพและบางสะพาน ไม่เกี่ยวข้องกลุ่มชาวบ้านที่ใช้เสื้อแดงเป็นสัญลักษณ์ ขัดแย้งกับกลุ่มเสื้อเขียว และไม่มีนโยบายการใช้ความรุนแรง ดังนั้นเมื่อมีการนำเสนอข่าวว่าบริษัทเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงส่งผลกระทบต่อธุรกิจ อย่างไรก็ตาม หากเป็นการเข้าใจผิดก็ยินดีพร้อมที่จะประนีประนอมและไกล่เกลี่ยเพื่อให้เป็นผลดีต่อทุกฝ่ายเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม นายไพโรจน์ ชี้แจงว่า การที่บริษัทไม่ฟ้องช่อง 5 หรือรายการสยามเช้านี้ของเนชั่น เพราะคิดว่าต้นทางของข่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิด จึงต้องดำเนินการไปฟ้องแหล่งข่าว หรือผู้พูดแทน บริษัทมีเจตนาจะสร้างความเข้าใจอยู่ร่วมกับคนในชุมชนอย่างถูกต้อง สิ่งใดที่คนในชุมชนเสนอมาก็ได้รับมาทำอยู่ตลอดเวลา
ทางด้าน ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ปัญหาเกิดจากกระบวนการสื่อสารที่อาจคลาดเคลื่อนและเข้าใจไม่ตรงกัน แต่แม้คดีนี้จะจบ แต่ความขัดแย้งในเชิงโครงสร้างยังจะมีอยู่ ซึ่งตนไม่โทษบริษัทและประชาชน เพราะตัวละครสำคัญ คือ กระทรวงอุตสาหกรรม และสภาพัฒน์ ซึ่งจะต้องดูแลเรื่องโครงสร้างพื้นฐานและการยอมรับของประชาชนก่อนให้เอกชนเข้าไปทำหน้าที่ จึงอยากเรียกร้องบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งคาดว่ากว่าจะขยับก็คงต้องใช้เวลา ดังนั้นระหว่างนี้องค์กรสื่อควรเข้ามามีบทบาทในการสร้างความไว้วางใจ เพราะหากสื่อทำหน้าที่ชัดเจน ปัญหาการฟ้องร้องในลักษณะนี้จะไม่เกิด
ขณะที่การทำความจริงให้ปรากฏ ก็ควรจัดตั้งคณะทำงานมีตัวแทนจากภาครัฐ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ องค์กรสื่อ ชาวบ้านทั้งสองฝ่าย และบริษัทสหวิริยา ทำการศึกษาในปัญหาและประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นและดำเนินการตรวจสอบพิสูจน์ หากผลลัพธ์ออกเช่นใดก็ต้องยอมรับทั้งสองฝ่าย