นายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานการประชุมการเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ของภาคธุรกิจว่า หลังพบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอช 5 เอ็น 1 แพร่จากสัตว์ปีกมายังมนุษย์ตั้งแต่ปี 2546 และมีความเป็นห่วงว่าจะเกิดการกลายพันธุ์เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่มีความรุนแรงและแพร่ระบาดติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ ซึ่งจะสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก ดังนั้น การเตรียมความพร้อมรับมือโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ จึงถือเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะหน่วยงานด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ โทรคมนาคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบมากหากเกิดการระบาดใหญ่จริง และเป็นที่น่ายินดีว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ภาคธุรกิจหลายแห่งได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดจากโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่
อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการพูดคุยและปรับแผนให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง จึงจัดประชุมเตรียมความพร้อมเป็นระยะ ๆ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอช 5 เอ็น 1 แล้วกว่า 300 คน ในจำนวนนี้ 240 คนเสียชีวิต พบโรคนี้ใน 61 ประเทศ สำหรับประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดสูงมี 4 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย อียิปต์ จีน และเวียดนาม สำหรับประเทศไทยมีระบบการควบคุมป้องกันโรคอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แต่จำเป็นต้องกระตุ้นเตือนให้ประชาชนที่เลี้ยงสัตว์ปีกตามบ้านเรือนและไก่ชน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20 ของจำนวนสัตว์ปีกในประเทศไทย ให้ตระหนักถึงอันตรายของไข้หวัดนกและวิธีป้องกันโรคโดยเฉพาะการไม่จับสัตว์ปีกป่วยด้วยมือเปล่า การล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสสัตว์ปีก
อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการพูดคุยและปรับแผนให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง จึงจัดประชุมเตรียมความพร้อมเป็นระยะ ๆ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอช 5 เอ็น 1 แล้วกว่า 300 คน ในจำนวนนี้ 240 คนเสียชีวิต พบโรคนี้ใน 61 ประเทศ สำหรับประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดสูงมี 4 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย อียิปต์ จีน และเวียดนาม สำหรับประเทศไทยมีระบบการควบคุมป้องกันโรคอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แต่จำเป็นต้องกระตุ้นเตือนให้ประชาชนที่เลี้ยงสัตว์ปีกตามบ้านเรือนและไก่ชน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20 ของจำนวนสัตว์ปีกในประเทศไทย ให้ตระหนักถึงอันตรายของไข้หวัดนกและวิธีป้องกันโรคโดยเฉพาะการไม่จับสัตว์ปีกป่วยด้วยมือเปล่า การล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสสัตว์ปีก