นางสิริพรรณ นกสวน อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องไม่สร้างเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรง และต้องไม่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ขณะเดียวกันควรแก้ไขทั้งฉบับผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ด้วยการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. ที่มีตัวแทนจากทุกภาคส่วนมาแก้ไข เพราะการตั้ง ส.ส.ร.จะช่วยลดความกดดันของสังคม เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าควรแก้มาตรา 291 ที่เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญควบคู่ด้วย เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญทำได้ยากขึ้น เพราะเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และในประเทศที่พัฒนาแล้ว การแก้ไขต้องใช้เสียงที่เป็นฉันทามติสูงสุด ขณะเดียวกันเชื่อว่าหากรัฐบาลจะแก้ไขเฉพาะมาตรา 237 และ 309 โดยผ่านกระบวนการของ ส.ส. และส.ว. เท่านั้น จะทำให้ถูกมองว่าการแก้ไขเป็นไปอย่างไม่ชอบธรรม ซึ่งรัฐบาลไม่ควรดึงดันโดยอ้างเสียงข้างมากเป็นตัววัด
ส่วนการแก้ไขจะต้องทำประชามติหรือไม่นั้น นางสิริพรรณ กล่าวว่า หากทำประชามติเหมือนที่ผ่านมาจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง จึงไม่ควรดำเนินการ แต่ควรส่งเสริมให้มีการทำประชาพิจารณ์ ให้ประชาชน มีความเข้าใจกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญอย่างเข้มข้นจะทำให้เกิดประโยชน์มากกว่า
ทั้งนี้ เห็นว่า ารแก้ไขควรให้ระยะเวลา ไม่ควรเอาเงื่อนไขการยุบพรรคหรือสถานการณ์ทางการเมืองมาเป็นตัวบีบบังคับให้ต้องเร่งดำเนินการ และเห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 237 ที่พรรคไม่ควรร่วมรับผิดชอบกับการกระทำของกรรมการบริหารพรรค เพียงคนเดียว เพราะเป็นการตัดสิทธิขั้นพื้นฐาน ทำให้กลไกทางการเมือง และเสถียรภาพทางการเมืองลดลง ขณะเดียวกันหากมีการแก้ไข มาตรา 309 ก็จะทำให้ถูกมองว่าเป็นการทำลายกระบวนการตรวจสอบการทุจริตที่เป็นสาเหตุของการทำรัฐประหาร และจะนำมาสู่ความขัดแย้งในสังคมอีกครั้ง
อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าควรแก้มาตรา 291 ที่เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญควบคู่ด้วย เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญทำได้ยากขึ้น เพราะเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และในประเทศที่พัฒนาแล้ว การแก้ไขต้องใช้เสียงที่เป็นฉันทามติสูงสุด ขณะเดียวกันเชื่อว่าหากรัฐบาลจะแก้ไขเฉพาะมาตรา 237 และ 309 โดยผ่านกระบวนการของ ส.ส. และส.ว. เท่านั้น จะทำให้ถูกมองว่าการแก้ไขเป็นไปอย่างไม่ชอบธรรม ซึ่งรัฐบาลไม่ควรดึงดันโดยอ้างเสียงข้างมากเป็นตัววัด
ส่วนการแก้ไขจะต้องทำประชามติหรือไม่นั้น นางสิริพรรณ กล่าวว่า หากทำประชามติเหมือนที่ผ่านมาจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง จึงไม่ควรดำเนินการ แต่ควรส่งเสริมให้มีการทำประชาพิจารณ์ ให้ประชาชน มีความเข้าใจกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญอย่างเข้มข้นจะทำให้เกิดประโยชน์มากกว่า
ทั้งนี้ เห็นว่า ารแก้ไขควรให้ระยะเวลา ไม่ควรเอาเงื่อนไขการยุบพรรคหรือสถานการณ์ทางการเมืองมาเป็นตัวบีบบังคับให้ต้องเร่งดำเนินการ และเห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 237 ที่พรรคไม่ควรร่วมรับผิดชอบกับการกระทำของกรรมการบริหารพรรค เพียงคนเดียว เพราะเป็นการตัดสิทธิขั้นพื้นฐาน ทำให้กลไกทางการเมือง และเสถียรภาพทางการเมืองลดลง ขณะเดียวกันหากมีการแก้ไข มาตรา 309 ก็จะทำให้ถูกมองว่าเป็นการทำลายกระบวนการตรวจสอบการทุจริตที่เป็นสาเหตุของการทำรัฐประหาร และจะนำมาสู่ความขัดแย้งในสังคมอีกครั้ง