นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่มีนักวิชาการเสนอทางออกแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อให้มีองค์กรแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างฝ่ายการเมืองและภาคประชาชน ว่า โดยหลักการหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งระบบถือเป็นเรื่องดี หากมีสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเป็นผู้ยกร่าง จะทำให้ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งของฝ่ายการเมืองไม่ถูกครหา และที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐสภาเป็นผู้แก้ไข ถือเป็นหลักการทั่วไปที่ให้รัฐสภามีอำนาจ ทั้งนี้ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ให้รัฐสภาเป็นผู้แก้ไข เพราะมองว่าเป็นการแก้ไขในจุดที่มีปัญหา จึงแก้เป็นจุด ๆ แต่ปัญหาขณะนี้ คือ ความกังวลว่า การแก้ไขเป็นการแก้เพื่อประโยชน์ให้พ้นจากความผิด จึงแตกต่างจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
อดีตรองประธาน ส.ส.ร. กล่าวว่า โดยหลักการหากมีคนกลาง คือ ส.ส.ร. เข้ามาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถือเป็นหลักการที่รับได้ โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มี ส.ส.ร. และมีกระบวนการสรรหา ซึ่งสมาชิก ส.ส.ร.น่าจะมาจากตัวแทนของภาคส่วนต่างๆ ที่ประชาชนยอมรับ แต่เชื่อว่าพรรคพลังประชาชนคงไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว เพราะการเอาคนกลางมาแก้ไขไม่ตรงกับเจตนาของผู้เสนอแก้ไข ทางออกที่ดีที่สุดในขณะนี้หากรัฐบาลต้องการตั้งกรรมาธิการศึกษาปัญหาการใช้รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ทำได้ ส่วนการตั้งกรรมาธิการขึ้นมาแก้ไข เชื่อว่าจะลำบาก เพราะต้องมีผู้คัดค้าน
อดีตรองประธาน ส.ส.ร. กล่าวว่า โดยหลักการหากมีคนกลาง คือ ส.ส.ร. เข้ามาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถือเป็นหลักการที่รับได้ โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มี ส.ส.ร. และมีกระบวนการสรรหา ซึ่งสมาชิก ส.ส.ร.น่าจะมาจากตัวแทนของภาคส่วนต่างๆ ที่ประชาชนยอมรับ แต่เชื่อว่าพรรคพลังประชาชนคงไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว เพราะการเอาคนกลางมาแก้ไขไม่ตรงกับเจตนาของผู้เสนอแก้ไข ทางออกที่ดีที่สุดในขณะนี้หากรัฐบาลต้องการตั้งกรรมาธิการศึกษาปัญหาการใช้รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ทำได้ ส่วนการตั้งกรรมาธิการขึ้นมาแก้ไข เชื่อว่าจะลำบาก เพราะต้องมีผู้คัดค้าน