นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะอดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) กล่าวถึงกรณีที่พรรคพลังประชาชน อาจเสนอแก้รัฐธรรมนูญให้ยกเลิกคณะกรรมการองค์กรอิสระที่มาจากการแต่งตั้งโดยประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ว่า ต้องเข้าใจว่าในขณะที่มีการปฏิวัติ คณะกรรมการองค์กรอิสระชุดต่างๆ เช่น ป.ป.ช. ยังว่างอยู่ จึงต้องมีการประกาศแต่งตั้ง แต่เมื่อได้ผ่านประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เท่ากับสถานะไม่ใช่องค์กรที่มาจาก คปค.แล้ว แต่เป็นองค์กรที่มาจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากผู้ออกเสียงประชามติ 14 ล้านเสียง เหมือนการทำงานโดยมี 14 ล้านเสียงอยู่ข้างหลัง ซึ่งเราก็ทำงานด้วยความระมัดระวัง เป็นกลางและไม่ต้องทำร้ายใคร แต่ถ้าใครจะไม่เห็นชอบให้ทำงานก็ยินดีที่จะรับฟัง
นายวิชา กล่าวว่า จะให้พูดว่าเห็นด้วยว่าจะเปลี่ยนแปลงตรงนี้คงพูดไม่ได้ เพราะการแสดงความเห็นเกี่ยวกับสถานะของเราจะขัดต่อผลประโยชน์ของเราเอง ตนตอบคำถามนี้ไม่ได้ การแสดงความเห็นเรื่องนี้ต้องเป็นเสียงของประชาชนที่ตรวจสอบเรา โดยอาจผ่านการลงมติเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนยืนยันว่า ถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญควรทำประชามติ ถามตั้งแต่เบื้องต้นว่า ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ที่จะแก้ และรับฟังความเห็นในเชิงลึกว่า ควรแก้มาตราไหน แล้วจึงประมวลให้เสร็จเรียบร้อย ทำตามแบบอย่างร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งเรามีหน่วยงานรับฟังความเห็นที่สามารถนำมาใช้ได้อยู่แล้ว เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ คือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่มีอำนาจในการยกเรื่องนี้มาทำได้เอง อย่างไรก็ตามขณะนี้ ตนเข้าใจว่าผู้ตรวจการแผ่นดินเอง ก็ทำเรื่องยกร่างข้อบังคับทางจริยธรรมอยู่ ทั้งนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถมีผู้ช่วยได้ คือ สภาพัฒนาการเมือง และสถาบันพระปกเกล้า
ส่วนในฐานะอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ควรจะแก้มาตราไหนนั้น นายวิชา กล่าวว่า ยังไม่มีการประเมิน จะพูดลอยๆ ไม่ได้ ต้องประเมินจากประชาชนว่าคิดเห็นอย่างไร โดยเอานัยที่ต่างกันอย่างสำคัญ ของรัฐธรรมนูญ 2540 กับ 2550 มาเปรียบเทียบกัน เช่น เรื่องระบบเลือกตั้งที่เปลี่ยนจากแบบบัญชีรายชื่อทั่วประเทศ เป็นระบบสัดส่วน 8 กลุ่ม ประชาชนเห็นว่าดีหรือไม่อย่างไร แต่ขณะนี้สิ่งที่พูดกันว่าต้องแก้ ยังออกมาจากนักการเมือง ไม่มีองค์ประกอบอื่นที่สำคัญ ทางภาคประชาสังคม นักวิชาการ เอ็นจีโอ และส่วนที่ต้องดูการพัฒนาการเมือง
นายวิชา กล่าวว่า จะให้พูดว่าเห็นด้วยว่าจะเปลี่ยนแปลงตรงนี้คงพูดไม่ได้ เพราะการแสดงความเห็นเกี่ยวกับสถานะของเราจะขัดต่อผลประโยชน์ของเราเอง ตนตอบคำถามนี้ไม่ได้ การแสดงความเห็นเรื่องนี้ต้องเป็นเสียงของประชาชนที่ตรวจสอบเรา โดยอาจผ่านการลงมติเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนยืนยันว่า ถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญควรทำประชามติ ถามตั้งแต่เบื้องต้นว่า ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ที่จะแก้ และรับฟังความเห็นในเชิงลึกว่า ควรแก้มาตราไหน แล้วจึงประมวลให้เสร็จเรียบร้อย ทำตามแบบอย่างร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งเรามีหน่วยงานรับฟังความเห็นที่สามารถนำมาใช้ได้อยู่แล้ว เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ คือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่มีอำนาจในการยกเรื่องนี้มาทำได้เอง อย่างไรก็ตามขณะนี้ ตนเข้าใจว่าผู้ตรวจการแผ่นดินเอง ก็ทำเรื่องยกร่างข้อบังคับทางจริยธรรมอยู่ ทั้งนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถมีผู้ช่วยได้ คือ สภาพัฒนาการเมือง และสถาบันพระปกเกล้า
ส่วนในฐานะอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ควรจะแก้มาตราไหนนั้น นายวิชา กล่าวว่า ยังไม่มีการประเมิน จะพูดลอยๆ ไม่ได้ ต้องประเมินจากประชาชนว่าคิดเห็นอย่างไร โดยเอานัยที่ต่างกันอย่างสำคัญ ของรัฐธรรมนูญ 2540 กับ 2550 มาเปรียบเทียบกัน เช่น เรื่องระบบเลือกตั้งที่เปลี่ยนจากแบบบัญชีรายชื่อทั่วประเทศ เป็นระบบสัดส่วน 8 กลุ่ม ประชาชนเห็นว่าดีหรือไม่อย่างไร แต่ขณะนี้สิ่งที่พูดกันว่าต้องแก้ ยังออกมาจากนักการเมือง ไม่มีองค์ประกอบอื่นที่สำคัญ ทางภาคประชาสังคม นักวิชาการ เอ็นจีโอ และส่วนที่ต้องดูการพัฒนาการเมือง