รายงานขององค์การนิรโทษกรรมสากล ระบุว่าเมื่อปีก่อนมียอดนักโทษใน 24 ประเทศ ถูกประหารชีวิตรวมกันอย่างน้อย 1,252 คน โดยร้อยละ 88 ของการประหารชีวิตเกิดขึ้นในประเทศจีน ที่มีการประหารชีวิตนักโทษมากที่สุด 470 คน ขณะที่อิหร่านมีจำนวนกว่า 317 คน ซาอุดีอาระเบีย อย่างน้อย 143 คน ปากีสถาน อย่างน้อย 135 คน และสหรัฐอเมริกาซึ่งรายงานไม่ได้เปิดเผยจำนวน
อย่างไรก็ดี องค์การนิรโทษกรรมสากลกล่าวเตือนว่า สถิติการประหารชีวิตดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณขั้นต่ำ และไม่สามารถคำนวณตัวเลขที่แท้จริงได้ เนื่องจากในบางประเทศทำการประหารชีวิตนักโทษกันอย่างลับๆ พร้อมเรียกร้องให้ยุติการกระทำดังกล่าวและเปิดเผยข้อมูลการประหารชีวิตนักโทษ โดยเฉพาะในประเทศจีนที่จะเป็นเจ้าจัดมหกรรมโอลิมปิกในเดือนสิงหาคมนี้
ทั้งนี้ ตามกฎหมายจีนกำหนดโทษประหารชีวิตต่อความผิดอาญาเกือบ 70 สถาน อาทิ การโกงภาษี ขโมยใบกำกับภาษี ทำลายอุปกรณ์จ่ายกระแสไฟฟ้า จำหน่ายยาปลอม การยักยอกเงิน รับสินบน และความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
อย่างไรก็ดี องค์การนิรโทษกรรมสากลกล่าวเตือนว่า สถิติการประหารชีวิตดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณขั้นต่ำ และไม่สามารถคำนวณตัวเลขที่แท้จริงได้ เนื่องจากในบางประเทศทำการประหารชีวิตนักโทษกันอย่างลับๆ พร้อมเรียกร้องให้ยุติการกระทำดังกล่าวและเปิดเผยข้อมูลการประหารชีวิตนักโทษ โดยเฉพาะในประเทศจีนที่จะเป็นเจ้าจัดมหกรรมโอลิมปิกในเดือนสิงหาคมนี้
ทั้งนี้ ตามกฎหมายจีนกำหนดโทษประหารชีวิตต่อความผิดอาญาเกือบ 70 สถาน อาทิ การโกงภาษี ขโมยใบกำกับภาษี ทำลายอุปกรณ์จ่ายกระแสไฟฟ้า จำหน่ายยาปลอม การยักยอกเงิน รับสินบน และความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด