ผู้แทนรัฐบาลและองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม กว่า 1,000 คน จาก 163 ประเทศทั่วโลก เข้าร่วมประชุมเพื่อหามาตรการลดสภาวะโลกร้อน และหาข้อสรุปในการร่างพิธีสารฉบับใหม่แทนที่พิธีสารเกียวโตที่กำลังจะสิ้นสุดลง ในปี 2555 โดยในวันนี้เป็นวันแรกของการประชุม และเป็นการหารือให้ทุกประเทศลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ ก๊าซเรือนกระจก สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งประเทศร่ำรวยและยากจนต่างเห็นตรงกันว่า การหยุดภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน แต่กลับเกี่ยงกันว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ริเริ่ม ฝ่ายสหรัฐฯ ที่ไม่เคยลงนามในพิธีสารเกียวโต กล่าวว่า ประเทศกำลังพัฒนา เช่น จีนและอินเดีย ควรจะลงนามในข้อตกลงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก่อน ขณะที่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปแย้งว่า ชาติอุตสาหกรรมอย่างสหรัฐฯ ควรเป็นผู้นำ
ขณะเดียวกัน บริเวณด้านนอกสถานที่จัดการประชุม มีกลุ่มองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมนุมต่อต้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานทางเลือก โดยกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้ความรอบคอบในการพิจารณาพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะพลังงานนิวเคลียร์ที่อาจส่งผลกระทบร้ายแรง เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ
ขณะเดียวกัน บริเวณด้านนอกสถานที่จัดการประชุม มีกลุ่มองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมนุมต่อต้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานทางเลือก โดยกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้ความรอบคอบในการพิจารณาพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะพลังงานนิวเคลียร์ที่อาจส่งผลกระทบร้ายแรง เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ