นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดสหภาพยุโรป (อียู) ปี 2550 ว่า การส่งออกไปอียูยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยปีที่แล้วมียอดส่งออกคิดเป็นมูลค่า 22,856.60 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2549 กว่าร้อยละ 26.03 สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ รถปิกอัพ เครื่องปรับอากาศ ไก่ปรุงสุก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องประดับ ยางพารา และวงจรพิมพ์ เป็นต้น
สำหรับการส่งออกภายใต้โครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) อียูตลอดทั้งปี 2550 กรมการค้าต่างประเทศ ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Form A ของอียูจำนวน 193,963 ฉบับ คิดเป็นมูลค่ากว่า 6,913.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.22 โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่มีการใช้สิทธิส่งออกภายใต้โครงการจีเอสพีของอียูมีมูลค่าสูง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เลนส์แว่นตา รองเท้า สับปะรดกระป๋อง ผลิตภัณฑ์จากยางพารา และกุ้งปรุงแต่ง เป็นต้น
ส่วนโครงการจีเอสพี อียูในช่วงปี 2552-2554 นั้น นางอภิรดี กล่าวว่า ขณะนี้อียูอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนกฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ระบบจีเอสพี และเปิดโอกาสให้ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ สามารถแสดงข้อคิดเห็นต่อร่างกฎแหล่งกำเนิดสินค้า เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของประเทศสมาชิกอียู
ทั้งนี้ เพื่อจัดทำร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาแหล่งกำเนิดสินค้า โดยจะมีผลบังคับใช้พร้อมกันในวันที่ 1 มกราคม 2552 ซึ่งกรมฯ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมหารือ เพื่อขอรับทราบข้อคิดเห็นต่อร่างกฎแหล่งกำเนิดสินค้าดังกล่าว และจะได้แจ้งไปยังสำนักงานพาณิชย์ ณ กรุงบรัสเซลส์ เพื่อประสานกับอียู
นอกจากนี้ ได้จัดเตรียมแนวทางรองรับและจะเร่งประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ผู้ส่งออกและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป
สำหรับการส่งออกภายใต้โครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) อียูตลอดทั้งปี 2550 กรมการค้าต่างประเทศ ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Form A ของอียูจำนวน 193,963 ฉบับ คิดเป็นมูลค่ากว่า 6,913.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.22 โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่มีการใช้สิทธิส่งออกภายใต้โครงการจีเอสพีของอียูมีมูลค่าสูง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เลนส์แว่นตา รองเท้า สับปะรดกระป๋อง ผลิตภัณฑ์จากยางพารา และกุ้งปรุงแต่ง เป็นต้น
ส่วนโครงการจีเอสพี อียูในช่วงปี 2552-2554 นั้น นางอภิรดี กล่าวว่า ขณะนี้อียูอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนกฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ระบบจีเอสพี และเปิดโอกาสให้ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ สามารถแสดงข้อคิดเห็นต่อร่างกฎแหล่งกำเนิดสินค้า เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของประเทศสมาชิกอียู
ทั้งนี้ เพื่อจัดทำร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาแหล่งกำเนิดสินค้า โดยจะมีผลบังคับใช้พร้อมกันในวันที่ 1 มกราคม 2552 ซึ่งกรมฯ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมหารือ เพื่อขอรับทราบข้อคิดเห็นต่อร่างกฎแหล่งกำเนิดสินค้าดังกล่าว และจะได้แจ้งไปยังสำนักงานพาณิชย์ ณ กรุงบรัสเซลส์ เพื่อประสานกับอียู
นอกจากนี้ ได้จัดเตรียมแนวทางรองรับและจะเร่งประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ผู้ส่งออกและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป