นางนิศากร โฆษิตรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยว่า วันที่ 7-9 พฤษภาคมนี้ ภาครัฐและเอกชนจะร่วมสัมมนา “งานวิจัยและการจัดการแนวปะการังในวาระปีแห่งปะการังสากล 2551” ที่สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ จ.ภูเก็ต เพื่อวางแนวทางการอนุรักษ์ปะการังอย่างยั่งยืน เนื่องจากแนวปะการังชายฝั่งทะเลกว่า 90,000 ไร่ อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมร้อยละ 40 สมบูรณ์ร้อยละ 60 โดยในส่วนไม่สมบูรณ์นั้น มีทั้งจากการกระทำของมนุษย์และภัยธรรมชาติ เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันดูแลป้องกัน รวมถึงการดำน้ำดูปะการังอย่างถูกวิธี ส่วนภาวะโลกร้อนนั้นส่งผลกระทบต่อปะการังอย่างเห็นได้ชัด เมื่อปีที่แล้วเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวจากกระแสน้ำเย็นที่หินม่วงหินแดง จ.กระบี่ จึงต้องทำแผนงานการวิจัยรับมือกับภาวะโลกร้อน
ด้านนายนิพนธ์ พงศ์สุวรรณ นักวิชาการประมง 8 ว. ผู้เชี่ยวชาญด้านปะการัง สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่ง และป่าชายเลน จ.ภูเก็ต กล่าวว่า ปะการังในทะเลอันดามันน้ำตื้นได้รับความเสียหายมากกว่าปะการังน้ำลึก ซึ่งความเสียหายมาจากหลายสาเหตุ โดยขณะนี้ฝั่งอันดามันมีปะการังสมบูรณ์อยู่ประมาณ 4 แห่ง คือ หมู่เกาะสุรินทร์ สิมิลัน เกาะอาดังราวี จ.สตูล และเกาะรอก จ.กระบี่ ส่วนที่เหลือก็อยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์มาก แต่ไม่ถึงกับเสื่อมโทรม
ด้านนายนิพนธ์ พงศ์สุวรรณ นักวิชาการประมง 8 ว. ผู้เชี่ยวชาญด้านปะการัง สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่ง และป่าชายเลน จ.ภูเก็ต กล่าวว่า ปะการังในทะเลอันดามันน้ำตื้นได้รับความเสียหายมากกว่าปะการังน้ำลึก ซึ่งความเสียหายมาจากหลายสาเหตุ โดยขณะนี้ฝั่งอันดามันมีปะการังสมบูรณ์อยู่ประมาณ 4 แห่ง คือ หมู่เกาะสุรินทร์ สิมิลัน เกาะอาดังราวี จ.สตูล และเกาะรอก จ.กระบี่ ส่วนที่เหลือก็อยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์มาก แต่ไม่ถึงกับเสื่อมโทรม