พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการข่าวสาร กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า เปิดเผยว่า ตามที่กลุ่มแนวร่วมในพื้นที่ อ.ยะหา จ.ยะลา ได้เข้ามอบตัวกับทางการจำนวน 80 คน เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ที่ผ่านมา ถือเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจที่ทุกคนอยากให้พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดความสงบสุขในเร็ววัน และปัจจัยที่ทำให้สมาชิกแนวร่วมกลุ่มดังกล่าวเข้ามอบตัว น่าจะเกิดจาก 3 ปัจจัย คือ จากมาตรการบีบคั้นทางทหาร หลังจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกองกำลังเข้าปิดล้อม ตรวจค้นและเข้ากดดันพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบากมากขึ้น
นอกจากนี้ แนวร่วมกลุ่มดังกล่าวอาจจะไม่ได้รับความช่วยเหลือและไม่มีทางออก หรือคิดว่าคงต้องเผชิญกับแนวทางการปฏิบัติที่เข้มแข็งจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกองกำลังหลังมีการซัดทอดถึง และจากนโยบายรัฐบาลและทางกองทัพที่ได้เปิดโอกาสและทำความเข้าใจตามแนวทางสันติวิธี
ซึ่งทั้งหมดถือเป็นปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้คนกลุ่มนี้ยอมเข้ามอบตัวกับทางการ เนื่องจากพวกเขาได้มองเห็นและรับรู้แล้วว่า ผู้ที่เข้ามอบตัวกับภาครัฐก่อนหน้านี้ ทุกคนได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติสุขและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกทั้งไม่ได้ถูกจับตามองจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐเหมือนในอดีตที่ผ่านมาแต่อย่างใด
ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการข่าวสาร กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวด้วยว่า ในขั้นต้นทางการจำเป็นต้องนำตัวคนกลุ่มดังกล่าวไปปรับเปลี่ยนความคิดและความเชื่อตามพระราชบัญญัติความมั่นคงก่อน เนื่องจากพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวได้ประกาศไว้อย่างชัดเจนว่า กลุ่มแนวร่วมที่เข้ามอบตัวเป็นกลุ่มบุคคลที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ และถูกปลุกระดมชักจูงไปในทางที่ผิด จึงจำเป็นต้องนำตัวมาปรับเปลี่ยนความคิดและความเชื่อแทนการลงโทษ จากนั้นทางการก็จะเข้าไปส่งเสริมด้านอาชีพเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในพื้นที่ได้ต่อไป
นอกจากนี้ แนวร่วมกลุ่มดังกล่าวอาจจะไม่ได้รับความช่วยเหลือและไม่มีทางออก หรือคิดว่าคงต้องเผชิญกับแนวทางการปฏิบัติที่เข้มแข็งจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกองกำลังหลังมีการซัดทอดถึง และจากนโยบายรัฐบาลและทางกองทัพที่ได้เปิดโอกาสและทำความเข้าใจตามแนวทางสันติวิธี
ซึ่งทั้งหมดถือเป็นปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้คนกลุ่มนี้ยอมเข้ามอบตัวกับทางการ เนื่องจากพวกเขาได้มองเห็นและรับรู้แล้วว่า ผู้ที่เข้ามอบตัวกับภาครัฐก่อนหน้านี้ ทุกคนได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติสุขและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกทั้งไม่ได้ถูกจับตามองจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐเหมือนในอดีตที่ผ่านมาแต่อย่างใด
ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการข่าวสาร กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวด้วยว่า ในขั้นต้นทางการจำเป็นต้องนำตัวคนกลุ่มดังกล่าวไปปรับเปลี่ยนความคิดและความเชื่อตามพระราชบัญญัติความมั่นคงก่อน เนื่องจากพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวได้ประกาศไว้อย่างชัดเจนว่า กลุ่มแนวร่วมที่เข้ามอบตัวเป็นกลุ่มบุคคลที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ และถูกปลุกระดมชักจูงไปในทางที่ผิด จึงจำเป็นต้องนำตัวมาปรับเปลี่ยนความคิดและความเชื่อแทนการลงโทษ จากนั้นทางการก็จะเข้าไปส่งเสริมด้านอาชีพเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในพื้นที่ได้ต่อไป