สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช แห่งสหรัฐอเมริกา ได้แสดงความผิดหวังอย่างมากที่กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออกหรือโอเปค ตัดสินใจที่จะไม่เพิ่มเพดานการผลิตซึ่งข่าวดังกล่าวส่งผลทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งที่ 104 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ภายหลังการประชุมรัฐมนตรีชาติสมาชิกโอเปค ที่กรุงเวียนนาของออสเตรีย นายชากิบ เคลิล รัฐมนตรีพลังงานของแอลจีเรีย ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานโอเปก ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ทางกลุ่มโอเปกมีปริมาณการผลิตน้ำมันอยู่ที่วันละ 32,000,000 บาร์เรล ดังนั้น ตลาดจึงยังคงมีซัพพลายน้ำมันอย่างเพียงพอ และโอเปคยังมองไม่เห็นความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องเพิ่มกำลังการผลิตในช่วงนี้
สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกมองว่า หากโอเปกเพิ่มการผลิตให้อยู่ในระดับ 300,000 - 500,000 บาร์เรลต่อวัน ก็น่าจะลดความร้อนแรงของราคาน้ำมันในตลาดโลก และจะช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจได้
ทั้งนี้ หลังจากการประชุมของกลุ่มโอเปก ตัวแทนของโอเปกได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ที่ประชุมมีมติที่จะรักษาปริมาณการผลิตเท่าเดิมต่อไป เนื่องจากโอเปกมองว่าราคาน้ำมันโลกที่ทำสถิติใหม่ในขณะนี้เป็นผลจากปัจจัยที่โอเปคไม่สามารถจะควบคุมได้ เช่น การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ และการเก็งกำไร ไม่ได้เกิดจากตลาดขาดแคลนน้ำมัน
ภายหลังการประชุมรัฐมนตรีชาติสมาชิกโอเปค ที่กรุงเวียนนาของออสเตรีย นายชากิบ เคลิล รัฐมนตรีพลังงานของแอลจีเรีย ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานโอเปก ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ทางกลุ่มโอเปกมีปริมาณการผลิตน้ำมันอยู่ที่วันละ 32,000,000 บาร์เรล ดังนั้น ตลาดจึงยังคงมีซัพพลายน้ำมันอย่างเพียงพอ และโอเปคยังมองไม่เห็นความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องเพิ่มกำลังการผลิตในช่วงนี้
สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกมองว่า หากโอเปกเพิ่มการผลิตให้อยู่ในระดับ 300,000 - 500,000 บาร์เรลต่อวัน ก็น่าจะลดความร้อนแรงของราคาน้ำมันในตลาดโลก และจะช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจได้
ทั้งนี้ หลังจากการประชุมของกลุ่มโอเปก ตัวแทนของโอเปกได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ที่ประชุมมีมติที่จะรักษาปริมาณการผลิตเท่าเดิมต่อไป เนื่องจากโอเปกมองว่าราคาน้ำมันโลกที่ทำสถิติใหม่ในขณะนี้เป็นผลจากปัจจัยที่โอเปคไม่สามารถจะควบคุมได้ เช่น การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ และการเก็งกำไร ไม่ได้เกิดจากตลาดขาดแคลนน้ำมัน