นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้ 3 กรม คือ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ และกรมส่งเสริมการส่งออก ไปจัดทำแผนที่จะกระตุ้นให้ผู้ส่งออกไทยหันมาใช้สิทธิประโยชน์ตามกรอบที่ไทยทำข้อตกลงเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศ
นางสาวชุติมา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการติดตามดูตัวเลขการใช้สิทธิตามกรอบข้อตกลงเอฟทีเอของผู้ส่งออกไทยพบว่า หลังจากที่ไทยได้ทำข้อตกลงเอฟทีเอกับประเทศต่าง ๆ ผู้ส่งออกใช้สิทธิประโยชน์ค่อนข้างน้อยมากในช่วง 4 - 5 ปีที่ผ่านมา เห็นได้จากภายใต้กรอบเอฟทีเอไทย-จีน ผู้ส่งออกไทยได้ใช้สิทธิประโยชน์เพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ถือว่าค่อนข้างน้อยมาก แม้ว่าช่วงที่ผ่านมา การส่งออกของไทยไปยังกลุ่มประเทศที่ทำเอฟทีเอด้วยกันจะมีมูลค่าเพิ่ม แต่ยังเห็นว่าสัดส่วนปริมาณและมูลค่าในการส่งออกน่าจะสามารถขยายตัวได้เพิ่มมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ดังนั้น ทั้ง 3 กรมดังกล่าว จะเร่งหาทางกระตุ้นให้ผู้ส่งออกไทยในแต่ละกลุ่มสินค้าหันมาใช้สิทธิประโยชน์ตามกรอบเอฟทีเอให้มากขึ้น เพราะหากแต่ละกลุ่มสินค้าหันมาใช้สิทธิประโยชน์จากเอฟทีเอกันอย่างเต็มที่ ในสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 70-80 ของการส่งออกก็จะเป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้าไทยภายใต้กรอบเอฟทีเอ ซึ่งทั้ง 3 กรม จะเร่งจัดทำแผนกระตุ้นให้ผู้ส่งออกหันมาใช้สิทธิตามกรอบข้อตกลงเอฟทีให้เป็นรูปธรรมภายใน 1-2 เดือนนี้ ก่อนนำเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เห็นชอบต่อไป โดยภาครัฐจะจัดทำข้อมูลเพื่อให้เอกชนได้หันมาใช้ข้อมูลในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นฐานในการขยายตลาด เพราะที่ผ่านมาภาครัฐมีการจัดเตรียมข้อมูล แต่น่าเสียดายภาคเอกชนมาใช้ข้อมูลค่อนข้างน้อย
อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า สำหรับการเจรจาภายใต้กรอบข้อตกลงเอฟทีเอต่าง ๆ กรมเจรจาได้รายงานความคืบหน้าทุกเรื่องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รับทราบ โดยงานเจรจาแรกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์คนใหม่ จะอยู่ในช่วงเดือนเมษายนนี้ จะมีการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการค้าอย่างไม่เป็นทางการที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และในปีนี้ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำอาเซียน ซึ่งมีหลาย ๆ เรื่องที่ผู้นำจะมีความเห็นชอบต่อไป
นางสาวชุติมา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการติดตามดูตัวเลขการใช้สิทธิตามกรอบข้อตกลงเอฟทีเอของผู้ส่งออกไทยพบว่า หลังจากที่ไทยได้ทำข้อตกลงเอฟทีเอกับประเทศต่าง ๆ ผู้ส่งออกใช้สิทธิประโยชน์ค่อนข้างน้อยมากในช่วง 4 - 5 ปีที่ผ่านมา เห็นได้จากภายใต้กรอบเอฟทีเอไทย-จีน ผู้ส่งออกไทยได้ใช้สิทธิประโยชน์เพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ถือว่าค่อนข้างน้อยมาก แม้ว่าช่วงที่ผ่านมา การส่งออกของไทยไปยังกลุ่มประเทศที่ทำเอฟทีเอด้วยกันจะมีมูลค่าเพิ่ม แต่ยังเห็นว่าสัดส่วนปริมาณและมูลค่าในการส่งออกน่าจะสามารถขยายตัวได้เพิ่มมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ดังนั้น ทั้ง 3 กรมดังกล่าว จะเร่งหาทางกระตุ้นให้ผู้ส่งออกไทยในแต่ละกลุ่มสินค้าหันมาใช้สิทธิประโยชน์ตามกรอบเอฟทีเอให้มากขึ้น เพราะหากแต่ละกลุ่มสินค้าหันมาใช้สิทธิประโยชน์จากเอฟทีเอกันอย่างเต็มที่ ในสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 70-80 ของการส่งออกก็จะเป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้าไทยภายใต้กรอบเอฟทีเอ ซึ่งทั้ง 3 กรม จะเร่งจัดทำแผนกระตุ้นให้ผู้ส่งออกหันมาใช้สิทธิตามกรอบข้อตกลงเอฟทีให้เป็นรูปธรรมภายใน 1-2 เดือนนี้ ก่อนนำเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เห็นชอบต่อไป โดยภาครัฐจะจัดทำข้อมูลเพื่อให้เอกชนได้หันมาใช้ข้อมูลในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นฐานในการขยายตลาด เพราะที่ผ่านมาภาครัฐมีการจัดเตรียมข้อมูล แต่น่าเสียดายภาคเอกชนมาใช้ข้อมูลค่อนข้างน้อย
อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า สำหรับการเจรจาภายใต้กรอบข้อตกลงเอฟทีเอต่าง ๆ กรมเจรจาได้รายงานความคืบหน้าทุกเรื่องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รับทราบ โดยงานเจรจาแรกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์คนใหม่ จะอยู่ในช่วงเดือนเมษายนนี้ จะมีการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการค้าอย่างไม่เป็นทางการที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และในปีนี้ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำอาเซียน ซึ่งมีหลาย ๆ เรื่องที่ผู้นำจะมีความเห็นชอบต่อไป