นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงปัญหาการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ที่ยืดเยื้อมากว่า 2 ปี และทำให้ รฟท.ไม่มีผู้บริหารตัวจริง ว่า อาจจะมีการทบทวนการสรรหาผู้ว่าการ รฟท.ครั้งล่าสุดอีกครั้ง เนื่องจากการดำเนินการสรรหาผ่านกระบวนการของบอร์ด รฟท.ในช่วงที่ผ่านมา เป็นบอร์ดที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติ ดังนั้นเมื่อปัจจุบันมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว ก็น่าจะมีการตรวจสอบเรื่องนี้อีกครั้ง โดยจะให้คณะกรรมการ รฟท.ชุดใหม่ ที่จะแต่งตั้งในอนาคต นำเรื่องการสรรหากลับมาพิจารณา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวด้วยว่า การสรรหาในช่วงที่ผ่านมา นอกจากที่มาของบอร์ด รฟท.แล้ว การสรรหาก็เกิดความขัดแย้ง โดยก่อนการปฏิวัติก็มีผู้ว่าที่มาจาการสรรหาแล้ว 1 คน แต่หลังจากนั้นก็มีการสรรหาใหม่เพิ่มขึ้นอีก 1 คน กลายเป็นมีผู้ว่าที่มาจากการสรรหาแล้ว 2 และล่าสุดก็กลายเป็นข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลแล้ว
ทั้งนี้ ยอมรับว่า กระทรวงคมนาคมห่วงงานในหลายด้านในการรถไฟฯ เนื่องจากมีโครงการใหญ่ต้องผลักดัน เช่น โครงการรถไฟรางคู่ โครงการรถไฟฟ้า แต่องค์กรกลับมีปัญหาการสรรหาผู้บริหารที่เป็นเบอร์ 1 ขององค์กร ดังนั้นกระทรวงคมนาคมจะทำเรื่องให้มีความชัดเจนเร็วที่สุด
สำหรับกรณีปัญหาสรรหาผู้ว่าการ รฟท.เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคดีดำเลขที่ 2341/2550 คุ้มครอง กระบวนการสรรหาผู้ว่าการ รฟท. ที่นายยุทธนา ทัพเจริญ เป็นผู้ยื่นคำร้อง โดยเห็นว่ากระบวนการสรรหานายยุทธนา ชอบด้วยกฎหมาย และขอให้คณะกรรมการ รฟท.ชุดปัจจุบัน ระงับการเสนอชื่อนายบัญชา คงนคร ที่ผ่านการสรรหาในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ต่อคณะรัฐมนตรีจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ คดีดังกล่าว นายยุทธนา ทัพเจริญ รองผู้ว่าการ รฟท. ที่ผ่านการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสมัยที่มีนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่เมื่อเกิดการปฏิวัติขึ้น รัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้ล้มกระบวนการสรรหา และเริ่มต้นใหม่ ซึ่งผลปรากฏว่า นายบัญชา คงนคร รองผู้ว่าการ รฟท.อีกคน ผ่านการสรรหา แต่ยังติดอยู่ในขั้นตอนสุดท้าย ในการที่คณะกรรมการ รฟท.จะเสนอรายชื่อให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการเมืองมีการเลือกตั้งและรัฐบาลใหม่เข้าทำหน้าที่ก่อน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวด้วยว่า การสรรหาในช่วงที่ผ่านมา นอกจากที่มาของบอร์ด รฟท.แล้ว การสรรหาก็เกิดความขัดแย้ง โดยก่อนการปฏิวัติก็มีผู้ว่าที่มาจาการสรรหาแล้ว 1 คน แต่หลังจากนั้นก็มีการสรรหาใหม่เพิ่มขึ้นอีก 1 คน กลายเป็นมีผู้ว่าที่มาจากการสรรหาแล้ว 2 และล่าสุดก็กลายเป็นข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลแล้ว
ทั้งนี้ ยอมรับว่า กระทรวงคมนาคมห่วงงานในหลายด้านในการรถไฟฯ เนื่องจากมีโครงการใหญ่ต้องผลักดัน เช่น โครงการรถไฟรางคู่ โครงการรถไฟฟ้า แต่องค์กรกลับมีปัญหาการสรรหาผู้บริหารที่เป็นเบอร์ 1 ขององค์กร ดังนั้นกระทรวงคมนาคมจะทำเรื่องให้มีความชัดเจนเร็วที่สุด
สำหรับกรณีปัญหาสรรหาผู้ว่าการ รฟท.เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคดีดำเลขที่ 2341/2550 คุ้มครอง กระบวนการสรรหาผู้ว่าการ รฟท. ที่นายยุทธนา ทัพเจริญ เป็นผู้ยื่นคำร้อง โดยเห็นว่ากระบวนการสรรหานายยุทธนา ชอบด้วยกฎหมาย และขอให้คณะกรรมการ รฟท.ชุดปัจจุบัน ระงับการเสนอชื่อนายบัญชา คงนคร ที่ผ่านการสรรหาในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ต่อคณะรัฐมนตรีจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ คดีดังกล่าว นายยุทธนา ทัพเจริญ รองผู้ว่าการ รฟท. ที่ผ่านการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสมัยที่มีนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่เมื่อเกิดการปฏิวัติขึ้น รัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้ล้มกระบวนการสรรหา และเริ่มต้นใหม่ ซึ่งผลปรากฏว่า นายบัญชา คงนคร รองผู้ว่าการ รฟท.อีกคน ผ่านการสรรหา แต่ยังติดอยู่ในขั้นตอนสุดท้าย ในการที่คณะกรรมการ รฟท.จะเสนอรายชื่อให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการเมืองมีการเลือกตั้งและรัฐบาลใหม่เข้าทำหน้าที่ก่อน