คิตตี้ แมคคินซีย์ โฆษกประจำภูมิภาคของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) กล่าวว่า ยูเอ็นเอชซีอาร์กำลังหารือถึงความจำเป็นในการบอยคอตการท่องเที่ยวของไทยในอนาคต หลังจากเมื่อ 2 ปีที่แล้วเจ้าหน้าที่ไทยปฏิเสธที่จะอนุญาตให้กลุ่มกะเหรี่ยงคอยาว 20 คนเดินทางลี้ภัยไปยังประเทศที่ 3 แม้ว่าจะมีคำยืนยันที่จะรับกลุ่มกะเหรี่ยงคอยาวเข้าไปลี้ภัยในฟินแลนด์และนิวซีแลนด์แล้วก็ตาม
“เราไม่เข้าใจว่าเหตุใดประเทศไทยจึงไม่อนุญาตให้กะเหรี่ยงคอยาวทั้ง 20 คนเดินทางไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ ซึ่งข้อสงสัยในการกักขังกลุ่มกะเหรี่ยงไว้ในประเทศก็คือ การที่กะเหรี่ยงกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของท้องถิ่นนั่นเอง” โฆษกประจำภูมิภาคของยูเอ็นเอชซีอาร์ระบุ
แมคคินซีย์ กล่าวด้วยว่า ทางการไทยได้ปฏิบัติต่อกลุ่มกะเหรี่ยงคอยาวแตกต่างจากกะเหรี่ยงกลุ่มอื่น ขณะที่เมื่อเร็วๆ นี้ผู้อพยพชาวพม่ากว่า 20,000 คนกลับได้รับอนุญาตให้สามารถลี้ภัยไปยังประเทศที่ 3 ได้
“ทางการไทยกักขังกะเหรี่ยงกลุ่มนี้ไม่ต่างจากสวนสัตว์มนุษย์ ซึ่งทางแก้ปัญหาก็คือ การห้ามนักท่องเที่ยวไม่ให้เดินทางไปเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าวอีก” แมคคินซีย์กล่าว
ทั้งนี้ในปี 2005 ยูเอ็นเอชซีอาร์ได้เริ่มยื่นข้อเสนอลี้ภัยไปยังประเทศที่ 3 ให้กับผู้อพยพชาวพม่าหลายพันคนซึ่งลี้ภัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งผู้อพยพจำนวนมากยินยอมรับข้อเสนอดังกล่าว อย่างไรก็ตามในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทางการไทยกลับปฏิเสธที่จะลงนามในเอกสารลี้ภัยให้กับครอบครัวของกะเหรี่ยงคอยาว 20 คน
ด้านวชิระ โชติรสเศรณี ปลัดอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบค่ายผู้ลี้ภัยในพื้นที่ดังกล่าว อธิบายว่า ความจริงแล้วกะเหรี่ยงคอยาวกลุ่มนี้ไม่ใช่ผู้อพยพลี้ภัย เพราะตามกฎแล้วผู้อพยพต้องอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย แต่กะเหรี่ยงกลุ่มนี้เป็นผู้อพยพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเลือกที่จะอาศัยอยู่นอกค่ายผู้ลี้ภัย และมีรายได้จากนักท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของท้องถิ่นแต่อย่างใด
บีบีซี รายงานด้วยว่า เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่การเดินทางไปเยี่ยมชมหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนติดกับชายแดนพม่า ถูกใช้เป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เดินทางเข้ามาเยี่ยมชมประเทศไทย ขณะที่นักท่องเที่ยวมีส่วนในการช่วยเพิ่มรายได้ให้กับกะเหรี่ยงคอยาวและครอบครัว ซึ่งทั้งหมดอพยพจากพม่าเข้ามาอยู่ในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา
“เราไม่เข้าใจว่าเหตุใดประเทศไทยจึงไม่อนุญาตให้กะเหรี่ยงคอยาวทั้ง 20 คนเดินทางไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ ซึ่งข้อสงสัยในการกักขังกลุ่มกะเหรี่ยงไว้ในประเทศก็คือ การที่กะเหรี่ยงกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของท้องถิ่นนั่นเอง” โฆษกประจำภูมิภาคของยูเอ็นเอชซีอาร์ระบุ
แมคคินซีย์ กล่าวด้วยว่า ทางการไทยได้ปฏิบัติต่อกลุ่มกะเหรี่ยงคอยาวแตกต่างจากกะเหรี่ยงกลุ่มอื่น ขณะที่เมื่อเร็วๆ นี้ผู้อพยพชาวพม่ากว่า 20,000 คนกลับได้รับอนุญาตให้สามารถลี้ภัยไปยังประเทศที่ 3 ได้
“ทางการไทยกักขังกะเหรี่ยงกลุ่มนี้ไม่ต่างจากสวนสัตว์มนุษย์ ซึ่งทางแก้ปัญหาก็คือ การห้ามนักท่องเที่ยวไม่ให้เดินทางไปเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าวอีก” แมคคินซีย์กล่าว
ทั้งนี้ในปี 2005 ยูเอ็นเอชซีอาร์ได้เริ่มยื่นข้อเสนอลี้ภัยไปยังประเทศที่ 3 ให้กับผู้อพยพชาวพม่าหลายพันคนซึ่งลี้ภัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งผู้อพยพจำนวนมากยินยอมรับข้อเสนอดังกล่าว อย่างไรก็ตามในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทางการไทยกลับปฏิเสธที่จะลงนามในเอกสารลี้ภัยให้กับครอบครัวของกะเหรี่ยงคอยาว 20 คน
ด้านวชิระ โชติรสเศรณี ปลัดอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบค่ายผู้ลี้ภัยในพื้นที่ดังกล่าว อธิบายว่า ความจริงแล้วกะเหรี่ยงคอยาวกลุ่มนี้ไม่ใช่ผู้อพยพลี้ภัย เพราะตามกฎแล้วผู้อพยพต้องอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย แต่กะเหรี่ยงกลุ่มนี้เป็นผู้อพยพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเลือกที่จะอาศัยอยู่นอกค่ายผู้ลี้ภัย และมีรายได้จากนักท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของท้องถิ่นแต่อย่างใด
บีบีซี รายงานด้วยว่า เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่การเดินทางไปเยี่ยมชมหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนติดกับชายแดนพม่า ถูกใช้เป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เดินทางเข้ามาเยี่ยมชมประเทศไทย ขณะที่นักท่องเที่ยวมีส่วนในการช่วยเพิ่มรายได้ให้กับกะเหรี่ยงคอยาวและครอบครัว ซึ่งทั้งหมดอพยพจากพม่าเข้ามาอยู่ในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา