นายแพทย์ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยกรณีที่มีข่าวการระบาดของโรคมือเท้าปากในสถานรับเลี้ยงเด็กอ่อน และโรงเรียนอนุบาลในจังหวัดเชียงราย ลำปาง และสิงห์บุรี ทำให้ต้องมีการปิดโรงเรียนเป็นการชั่วคราว ว่า ได้กำชับสำนักงานควบคุมโรคทั้ง 12 เขตทั่วประเทศ ให้จับตาเฝ้าระวังโรคมือเท้าปากอย่างใกล้ชิดแล้ว เพื่อจำกัดวงการแพร่ระบาดของโรค อย่างไรก็ตาม มาตรการสำคัญที่จะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้ดีที่สุด คือ การแยกผู้ป่วยออกจากเด็กปกติ ดังนั้น หากพ่อแม่ผู้ปกครองพบว่าเด็กมีไข้สูง มีตุ่มน้ำใส ๆ ที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือในปาก ขอให้สงสัยว่าเป็นโรคมือเท้าปาก ห้ามให้เด็กไปโรงเรียนเด็ดขาด เพราะจะไปแพร่เชื้อให้เพื่อน ๆ ได้ และให้พาไปพบแพทย์ ส่วนครูหรือพี่เลี้ยงเด็ก หากสังเกตเห็นเด็กมีอาการน่าสงสัยว่าจะเป็นโรคมือเท้าปาก ขอให้แจ้งผู้ปกครองรับเด็กกลับ และให้หยุดเรียนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ พร้อมทั้งแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้ามาสอบสวนควบคุมโรคทันที สำหรับเด็กเล็ก ควรหลีกเลี่ยงการนำไปในที่สาธารณะที่มีคนอยู่รวมกันมาก ๆ เช่น สนามเด็กเล่น ห้างสรรพสินค้า ตลาด สระว่ายน้ำ เพราะจะเสี่ยงติดโรคได้ง่าย
นายแพทย์ธวัช กล่าวต่อว่า โรคมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอ็นเทอโรไวรัส (Enteroviruses) พบรายงานการเกิดทั่วโลก มักเป็นกับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี โดยเฉพาะกลุ่มอายุต่ำกว่า 5 ปี ติดต่อโดยการกินเชื้อผ่านเข้าปากโดยตรงจากมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ หรือน้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย และโดยการหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของการไอ จาม ของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อเข้าไป
สำหรับสถานการณ์การระบาดของโรคมือเท้าปากในประเทศไทย ในปี 2550 มีรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 14,255 ราย อยู่ในภาคกลาง 7,144 ราย ภาคเหนือ 3,882 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,020 ราย และภาคใต้ 1,209 ราย และมีผู้เสียชีวิต 2 ราย อยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นจังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุดถึง 3,995 ราย สำหรับในปีนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 - 25 มกราคม 2551 มีรายงานผู้ป่วยแล้ว 949 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่าจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า โดยจังหวัดเชียงราย พบผู้ป่วยสูงสุด 177 ราย รองลงมาเป็น ลำปาง 123 ราย นครสวรรค์ 65 ราย ขอนแก่น 47 ราย พิษณุโลกและพะเยา จังหวัดละ 46 ราย
นายแพทย์ธวัช กล่าวต่อว่า โรคมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอ็นเทอโรไวรัส (Enteroviruses) พบรายงานการเกิดทั่วโลก มักเป็นกับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี โดยเฉพาะกลุ่มอายุต่ำกว่า 5 ปี ติดต่อโดยการกินเชื้อผ่านเข้าปากโดยตรงจากมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ หรือน้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย และโดยการหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของการไอ จาม ของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อเข้าไป
สำหรับสถานการณ์การระบาดของโรคมือเท้าปากในประเทศไทย ในปี 2550 มีรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 14,255 ราย อยู่ในภาคกลาง 7,144 ราย ภาคเหนือ 3,882 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,020 ราย และภาคใต้ 1,209 ราย และมีผู้เสียชีวิต 2 ราย อยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นจังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุดถึง 3,995 ราย สำหรับในปีนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 - 25 มกราคม 2551 มีรายงานผู้ป่วยแล้ว 949 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่าจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า โดยจังหวัดเชียงราย พบผู้ป่วยสูงสุด 177 ราย รองลงมาเป็น ลำปาง 123 ราย นครสวรรค์ 65 ราย ขอนแก่น 47 ราย พิษณุโลกและพะเยา จังหวัดละ 46 ราย