สธ.เตือนมือ เท้า ปาก ระบาดช่วงฤดูผน แนะสถานเลี้ยงเด็ก ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล เฝ้าระวังเข้ม เผยรอบ 8 เดือนแรกปีนี้ พบป่วยเกือบ 5,000 ราย 92% เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เสียชีวิต 3 ราย แนะหากพบเด็กมีไข้ มีผื่นขึ้นตามฝ่ามือฝ่าเท้า ในปาก ให้แยกเด็กและแจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ทันที เพื่อควบคุมไม่ให้โรคระบาด
วันที่ 13 กันยายน นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูฝน มีโอกาสเกิดโรคมือเท้าปาก (Hand, Food Mouth disease) ซึ่งมักเป็นกับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ไม่ค่อยพบในวัยรุ่น การระบาดของโรคนี้มักเกิดขึ้นบ่อยในกลุ่มเด็ก เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล กลุ่มที่เสี่ยงติดโรคได้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในพื้นที่ที่มีระบบสุขาภิบาลไม่ดี อยู่อย่างแออัด
นายมานิตกล่าวต่อว่า จากการเฝ้าระวังสถานการณ์ในปี 2552 นี้ สำนักระบาดวิทยาได้รายงานตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2552 พบผู้ป่วยโรคมือเท้าปากทั่วประเทศ 4,859 ราย เสียชีวิต 3 ราย แยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคกลาง 2,093 ราย โดยพบผู้ป่วยมากที่สุดที่จังหวัดสมุทรปราการ 242 ราย เสียชีวิต 1 รายที่จังหวัดนครปฐม ภาคเหนือ 1,457 ราย มากที่สุดที่จังหวัดน่าน 202 ราย เสียชีวิต 2 ราย ที่จังหวัดกำแพงเพชร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 884 ราย มากที่สุดที่จังหวัดนครราชสีมา 186 ราย ไม่มีเสียชีวิต และ ภาคใต้ 425 ราย มากที่สุดที่จังหวัดตรัง 109 ราย ไม่มีเสียชีวิต ผู้ป่วยที่พบมีทุกกลุ่มอายุ แต่มากที่สุดเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีลงมา พบร้อยละ 92 ของผู้ป่วยทั้งหมด เนื่องจากกลุ่มนี้ยังไม่มีภูมิต้านทานโรค
นายมานิตกล่าวอีกว่า ในการควบคุมป้องกันโรคได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ สำนักงานควบคุมป้องกันโรคทุกเขต เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด หากพบผู้ป่วยจะส่งทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็วเข้าควบคุมโรคทันทีเพื่อไม่ให้แพร่ระบาดในวงกว้าง และให้ทุกจังหวัดประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในการปฏิบัติตัวป้องกันโรค ขณะเดียวกันได้ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังกระทรวงศึกษาธิการ กทม. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ร่วมเฝ้าระวัง ป้องกันในศูนย์เด็กเล็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ โดยดูแลความสะอาดสถานที่ อุปกรณ์เครื่องใช้ของเล่นเด็ก ให้เฝ้าระวังเด็กโดยตรวจเด็กก่อนเข้าห้องเรียน
ด้าน นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคมือเท้าปากพบได้ทั่วโลก มักเกิดกระจัดกระจายหรือระบาดเป็นครั้งคราว เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enteroviruses) ซึ่งเป็นเชื้อที่จะเพิ่มขยายจำนวนในลำไส้ของคน ที่พบในไทยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อค็อกซากีไวรัส เอ 1 และเอ 16 (coxsackievirus A1, A16) อาการไม่ค่อยรุนแรง จะหายได้เองภายใน 7-10 วัน ส่วนชนิดที่รุนแรงคือเอ็นเทอโรไวรัส 71 ( EV71) ซึ่งอาจทำให้มีอาการสมองอักเสบ ทำให้อาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ในไทยพบได้น้อยมาก
“หลังติดเชื้อไวรัสมือเท้าปากประมาณ 3-5 วัน จะมีอาการป่วย เริ่มด้วยการมีไข้สูงในช่วง 1-2 วันแรก ต่อมาไข้จะลดลง และมีตุ่มแผลในปาก ส่วนใหญ่พบที่เพดานปาก ลิ้น มักพบที่ลิ้น กระพุ้งแก้ม ทำให้เจ็บปาก ไม่อยากกินอาหาร และมีตุ่มพองสีขาวรอบ ๆ แดง พบตามด้านข้างของนิ้วมือ นิ้วเท้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า มักไม่คัน เวลากดจะเจ็บ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยแตกเป็นแผล และอาการจะหายได้เองประมาณ 1 สัปดาห์ มีเพียงส่วนน้อยอาจมีอาการทางสมองร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้รุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ หากพบผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าว ขอให้พาไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อการดูแลที่ถูกวิธี โดยโรคนี้ไม่มียารักษาโรคเฉพาะ มีเพียงยาบรรเทาอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ปวด” นพ.ม.ล.สมชายกล่าว
นพ.ม.ล.สมชาย กล่าวต่อด้วยว่า โรคนี้ติดต่อกันโดยการสัมผัสเชื้อที่ปะปนอยู่ในน้ำมูกน้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วย หรือติดต่อทางการไอจามรดกัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน สามารถปฏิบัติตัวป้องกันได้ โดยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยฝึกเด็กให้ล้างมือจนเป็นนิสัย พี่เลี้ยงและผู้ดูแลเด็กต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่เป็นประจำหลังจากทำความสะอาดเด็กหลังขับถ่ายหรือเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก และก่อนการเตรียมอาหารหรือป้อนอาหารเด็ก รวมถึงการแยกแก้วน้ำหรือของใช้อื่นๆ ของเด็กแต่ละคน ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย และรักษาความสะอาดทั่วๆ ไป โดยเฉพาะ ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัว
ทั้งนี้ สถานเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนต่างๆ ควรให้ความรู้และขอความร่วมมือผู้ปกครองป้องกันการระบาด คือ หากเด็กมีไข้ หรือมีผื่นขึ้นขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในปาก ขอให้ดูแลเด็กเป็นเวลา 5-7 วัน และแจ้งให้สถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนทราบ เพื่อให้คำแนะนำและรีบแจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ทราบทันที เพื่อให้คำแนะนำและพิจารณาจัดส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว เข้าดำเนินการควบคุมไม่ให้โรคแพร่สู่เด็กอื่น และขอให้แยกเด็กป่วยออกจากเด็กทั่วๆ ไป โดยติดต่อให้ผู้ปกครองพากลับบ้านและไปพบแพทย์ หากเด็กมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง ซึม ไม่ยอมรับประทานหรือดื่มนม ร้องโยเย อาเจียนมาก หอบ ให้รีบนำเด็กไปโรงพยาบาลทันที
วันที่ 13 กันยายน นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูฝน มีโอกาสเกิดโรคมือเท้าปาก (Hand, Food Mouth disease) ซึ่งมักเป็นกับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ไม่ค่อยพบในวัยรุ่น การระบาดของโรคนี้มักเกิดขึ้นบ่อยในกลุ่มเด็ก เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล กลุ่มที่เสี่ยงติดโรคได้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในพื้นที่ที่มีระบบสุขาภิบาลไม่ดี อยู่อย่างแออัด
นายมานิตกล่าวต่อว่า จากการเฝ้าระวังสถานการณ์ในปี 2552 นี้ สำนักระบาดวิทยาได้รายงานตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2552 พบผู้ป่วยโรคมือเท้าปากทั่วประเทศ 4,859 ราย เสียชีวิต 3 ราย แยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคกลาง 2,093 ราย โดยพบผู้ป่วยมากที่สุดที่จังหวัดสมุทรปราการ 242 ราย เสียชีวิต 1 รายที่จังหวัดนครปฐม ภาคเหนือ 1,457 ราย มากที่สุดที่จังหวัดน่าน 202 ราย เสียชีวิต 2 ราย ที่จังหวัดกำแพงเพชร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 884 ราย มากที่สุดที่จังหวัดนครราชสีมา 186 ราย ไม่มีเสียชีวิต และ ภาคใต้ 425 ราย มากที่สุดที่จังหวัดตรัง 109 ราย ไม่มีเสียชีวิต ผู้ป่วยที่พบมีทุกกลุ่มอายุ แต่มากที่สุดเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีลงมา พบร้อยละ 92 ของผู้ป่วยทั้งหมด เนื่องจากกลุ่มนี้ยังไม่มีภูมิต้านทานโรค
นายมานิตกล่าวอีกว่า ในการควบคุมป้องกันโรคได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ สำนักงานควบคุมป้องกันโรคทุกเขต เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด หากพบผู้ป่วยจะส่งทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็วเข้าควบคุมโรคทันทีเพื่อไม่ให้แพร่ระบาดในวงกว้าง และให้ทุกจังหวัดประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในการปฏิบัติตัวป้องกันโรค ขณะเดียวกันได้ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังกระทรวงศึกษาธิการ กทม. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ร่วมเฝ้าระวัง ป้องกันในศูนย์เด็กเล็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ โดยดูแลความสะอาดสถานที่ อุปกรณ์เครื่องใช้ของเล่นเด็ก ให้เฝ้าระวังเด็กโดยตรวจเด็กก่อนเข้าห้องเรียน
ด้าน นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคมือเท้าปากพบได้ทั่วโลก มักเกิดกระจัดกระจายหรือระบาดเป็นครั้งคราว เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enteroviruses) ซึ่งเป็นเชื้อที่จะเพิ่มขยายจำนวนในลำไส้ของคน ที่พบในไทยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อค็อกซากีไวรัส เอ 1 และเอ 16 (coxsackievirus A1, A16) อาการไม่ค่อยรุนแรง จะหายได้เองภายใน 7-10 วัน ส่วนชนิดที่รุนแรงคือเอ็นเทอโรไวรัส 71 ( EV71) ซึ่งอาจทำให้มีอาการสมองอักเสบ ทำให้อาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ในไทยพบได้น้อยมาก
“หลังติดเชื้อไวรัสมือเท้าปากประมาณ 3-5 วัน จะมีอาการป่วย เริ่มด้วยการมีไข้สูงในช่วง 1-2 วันแรก ต่อมาไข้จะลดลง และมีตุ่มแผลในปาก ส่วนใหญ่พบที่เพดานปาก ลิ้น มักพบที่ลิ้น กระพุ้งแก้ม ทำให้เจ็บปาก ไม่อยากกินอาหาร และมีตุ่มพองสีขาวรอบ ๆ แดง พบตามด้านข้างของนิ้วมือ นิ้วเท้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า มักไม่คัน เวลากดจะเจ็บ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยแตกเป็นแผล และอาการจะหายได้เองประมาณ 1 สัปดาห์ มีเพียงส่วนน้อยอาจมีอาการทางสมองร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้รุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ หากพบผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าว ขอให้พาไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อการดูแลที่ถูกวิธี โดยโรคนี้ไม่มียารักษาโรคเฉพาะ มีเพียงยาบรรเทาอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ปวด” นพ.ม.ล.สมชายกล่าว
นพ.ม.ล.สมชาย กล่าวต่อด้วยว่า โรคนี้ติดต่อกันโดยการสัมผัสเชื้อที่ปะปนอยู่ในน้ำมูกน้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วย หรือติดต่อทางการไอจามรดกัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน สามารถปฏิบัติตัวป้องกันได้ โดยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยฝึกเด็กให้ล้างมือจนเป็นนิสัย พี่เลี้ยงและผู้ดูแลเด็กต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่เป็นประจำหลังจากทำความสะอาดเด็กหลังขับถ่ายหรือเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก และก่อนการเตรียมอาหารหรือป้อนอาหารเด็ก รวมถึงการแยกแก้วน้ำหรือของใช้อื่นๆ ของเด็กแต่ละคน ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย และรักษาความสะอาดทั่วๆ ไป โดยเฉพาะ ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัว
ทั้งนี้ สถานเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนต่างๆ ควรให้ความรู้และขอความร่วมมือผู้ปกครองป้องกันการระบาด คือ หากเด็กมีไข้ หรือมีผื่นขึ้นขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในปาก ขอให้ดูแลเด็กเป็นเวลา 5-7 วัน และแจ้งให้สถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนทราบ เพื่อให้คำแนะนำและรีบแจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ทราบทันที เพื่อให้คำแนะนำและพิจารณาจัดส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว เข้าดำเนินการควบคุมไม่ให้โรคแพร่สู่เด็กอื่น และขอให้แยกเด็กป่วยออกจากเด็กทั่วๆ ไป โดยติดต่อให้ผู้ปกครองพากลับบ้านและไปพบแพทย์ หากเด็กมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง ซึม ไม่ยอมรับประทานหรือดื่มนม ร้องโยเย อาเจียนมาก หอบ ให้รีบนำเด็กไปโรงพยาบาลทันที