นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์เคยเป็นพื้นที่เสี่ยงมาก่อน การพบไก่ตายและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเป็นเชื้อไข้หวัดนก หรือ H5N1 ในฟาร์มไก่ขนาดใหญ่ในครั้งนี้ จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังการติดเชื้อในคนอย่างเข้มงวด เพื่อให้การดูแลรักษาได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันการเสียชีวิต และป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วของสำนักงานควบคุมโรคเขต 8 และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ลงไปที่หมู่ 3 ตำบลพิกุล อำเภอชุมแสง เพื่อค้นหาผู้สัมผัสไก่ในฟาร์มทุกคนแล้ว ซึ่งมีพนักงานเกี่ยวข้องทั้งหมด 10 คน เบื้องต้นยังไม่พบผู้สัมผัสไก่ในฟาร์มมีอาการป่วยแต่อย่างใด
พร้อมสั่งการให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. เฝ้าติดตามอาการผู้สัมผัสอย่างใกล้ชิดทุกวัน และคนในชุมชนรอบข้างเป็นเวลา 14 วัน หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยตาข้อ กล้ามเนื้อและร่างกาย ไอแห้ง ๆ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ตาแดงหรือบวม ให้ส่งตัวไปรักษาในโรงพยาบาลทันที
สำหรับโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดนครสวรรค์ และพื้นที่ใกล้เคียง ได้สั่งการให้แพทย์ พยาบาล ตรวจสอบประวัติผู้ป่วยที่มีอาการไข้ ไอ หรือ มีปัญหาปอดอักเสบ ปอดบวมโดยละเอียด ให้ซักถามประวัติการสัมผัสสัตว์ปีก หรืออยู่ในพื้นที่มีสัตว์ปีกป่วยตายทุกราย เพื่อให้การดูแลรักษาได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ขณะนี้โรงพยาบาลทุกแห่งมีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยทั้งยาต้านไวรัส และห้องแยกปลอดเชื้อ
พร้อมสั่งการให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. เฝ้าติดตามอาการผู้สัมผัสอย่างใกล้ชิดทุกวัน และคนในชุมชนรอบข้างเป็นเวลา 14 วัน หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยตาข้อ กล้ามเนื้อและร่างกาย ไอแห้ง ๆ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ตาแดงหรือบวม ให้ส่งตัวไปรักษาในโรงพยาบาลทันที
สำหรับโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดนครสวรรค์ และพื้นที่ใกล้เคียง ได้สั่งการให้แพทย์ พยาบาล ตรวจสอบประวัติผู้ป่วยที่มีอาการไข้ ไอ หรือ มีปัญหาปอดอักเสบ ปอดบวมโดยละเอียด ให้ซักถามประวัติการสัมผัสสัตว์ปีก หรืออยู่ในพื้นที่มีสัตว์ปีกป่วยตายทุกราย เพื่อให้การดูแลรักษาได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ขณะนี้โรงพยาบาลทุกแห่งมีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยทั้งยาต้านไวรัส และห้องแยกปลอดเชื้อ