ดร.จิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า จากกรณีที่โรงพยาบาลบ้านค่าย อ.บ้านค่าย จ.ระยอง รับรักษาผู้ป่วย จำนวน 3 ราย ซึ่งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ชาที่ลิ้น ปลายมือปลายเท้า แขนขาอ่อนแรง อุจจาระร่วง หลังจากได้รับประทานส้มตำปลาร้า และจากการตรวจสอบพบว่าปลาร้าที่นำมาทำส้มตำมีปลาปักเป้าผสมอยู่ นั้น ทางกรมประมงได้มีการแจ้งให้ผู้ผลิตใส่ใจตรวจสอบคัดแยกวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากพิษของปลาปักเป้าน้ำจืดเป็นพิษอัมพาต หรือ พีเอสพี (PSP,Paralytic Shellfish Poisoning) และมีความรุนแรงของพิษสูงกว่าพิษของปลาปักเป้าทะเลที่ชื่อ เททโทรโดท๊อกซิน (Tetrodotoxin)
อย่างไรก็ตาม ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยตรวจสอบปลาที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปลาร้าอีกชั้นหนึ่ง เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมไปถึงเผยแพร่ข้อมูลของพิษจากปลาปักเป้า เพื่อให้ผู้ผลิตมีความเข้าใจถึงอันตรายของปลาดังกล่าว สำหรับการทำปลาร้าส่วนใหญ่มักจะใช้ปลาน้ำจืด เช่น ปลากระดี่ ปลาสร้อย ปลาช่อน ปลานิล เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยตรวจสอบปลาที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปลาร้าอีกชั้นหนึ่ง เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมไปถึงเผยแพร่ข้อมูลของพิษจากปลาปักเป้า เพื่อให้ผู้ผลิตมีความเข้าใจถึงอันตรายของปลาดังกล่าว สำหรับการทำปลาร้าส่วนใหญ่มักจะใช้ปลาน้ำจืด เช่น ปลากระดี่ ปลาสร้อย ปลาช่อน ปลานิล เป็นต้น