นางรัตนาพร นามมนตรี ประธานเครือข่ายกลุ่มถือหุ้นรายย่อย บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) พร้อมพวก ยื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และนายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ผ่านทาง น.ส.ดวงพร รุจิเรข รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถือหุ้น ตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ประกอบมาตรา 83 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยเห็นว่าทั้ง 3 คน ร่วมกันกระทำความผิดด้วยการควบคุม ยึดครองทรัพย์สินและคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี ไปเป็นประโยชน์ส่วนตนกับพวก โดยไม่มีอำนาจโดยชอบธรรมด้วยกฎหมาย หรือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ โดยมีเจตนาให้เกิดความเสียหายกับบริษัท ไอทีวี รวมถึงพนักงาน ผู้ถือหุ้น และประชาชนส่วนใหญ่ เนื่องจากทรัพย์สินและคลื่นความถี่ของไอทีวี ยังอยู่ในความครอบครองของบริษัท ไอทีวี ตามสัญญาเข้าร่วมดำเนินการ วันที่ 3 กรกฎาคม 2538 ซึ่งมีกำหนดสัญญา 30 ปี
นางรัตนาพร ตั้งข้อสังเกตว่า การแปรสภาพไอทีวี เป็นทีวีสาธารณะ น่าจะไม่สง่างาม เพราะเป็นการยึดไปโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และนำเครือข่ายผู้ด้อยโอกาสมาเป็นข้ออ้าง พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตถึงบทบาทการทำงานของนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ เพราะมองว่าบทบาทของทีดีอาร์ไอ คือการดูแลภาพรวมเศรษฐกิจ แต่กลับมาดูแลเรื่องการยึดสัมปทานทีไอทีวีเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ เครือข่ายกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อย เตรียมฟ้องร้องต่อกรรมการสิทธิมนุษยชน ให้ร่วมเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม รวมทั้งจะฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ให้เพิกถอนพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย รวมทั้งจะฟ้องร้องว่า การกระทำในการแปรสภาพไอทีวีเป็นทีวีสาธารณะ ทำให้หุ้นไอทีวีในตลาดหลักทรัพย์ฯ กลายเป็นหุ้นที่ไม่มีมูลค่า ซึ่งจะประเมินมูลค่าความเสียหายและฟ้องร้องทางแพ่ง
และในวันพรุ่งนี้ (15 ม.ค.) จะยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี อีกครั้ง ให้ระงับการแปรสภาพทีไอทีวี เป็นทีวีสาธารณะ
นายจุลยุทธ เปิดเผยว่า วันนี้พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ทำให้สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีจะต้องปรับเปลี่ยนตามกฎหมายทันที ขณะนี้ได้ตั้งคณะกรรมการชั่วคราว 5 คน เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย โดยขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านจะต้องมีการปรับผังรายการทีวีทันที ให้สอดคล้องกับกฎหมาย ส่วนกรณีศาลปกครองรับเรื่องร้องเรียนพนักงานทีไอทีวีอยู่นั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อกฎหมาย เพราะเป็นคนละประเด็นกัน
ส่วนการปรับลดพนักงานในส่วนเจ้าหน้าที่เทคนิคจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ แต่ส่วนอื่นต้องเป็นไปตามกฎหมาย
นางรัตนาพร ตั้งข้อสังเกตว่า การแปรสภาพไอทีวี เป็นทีวีสาธารณะ น่าจะไม่สง่างาม เพราะเป็นการยึดไปโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และนำเครือข่ายผู้ด้อยโอกาสมาเป็นข้ออ้าง พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตถึงบทบาทการทำงานของนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ เพราะมองว่าบทบาทของทีดีอาร์ไอ คือการดูแลภาพรวมเศรษฐกิจ แต่กลับมาดูแลเรื่องการยึดสัมปทานทีไอทีวีเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ เครือข่ายกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อย เตรียมฟ้องร้องต่อกรรมการสิทธิมนุษยชน ให้ร่วมเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม รวมทั้งจะฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ให้เพิกถอนพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย รวมทั้งจะฟ้องร้องว่า การกระทำในการแปรสภาพไอทีวีเป็นทีวีสาธารณะ ทำให้หุ้นไอทีวีในตลาดหลักทรัพย์ฯ กลายเป็นหุ้นที่ไม่มีมูลค่า ซึ่งจะประเมินมูลค่าความเสียหายและฟ้องร้องทางแพ่ง
และในวันพรุ่งนี้ (15 ม.ค.) จะยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี อีกครั้ง ให้ระงับการแปรสภาพทีไอทีวี เป็นทีวีสาธารณะ
นายจุลยุทธ เปิดเผยว่า วันนี้พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ทำให้สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีจะต้องปรับเปลี่ยนตามกฎหมายทันที ขณะนี้ได้ตั้งคณะกรรมการชั่วคราว 5 คน เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย โดยขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านจะต้องมีการปรับผังรายการทีวีทันที ให้สอดคล้องกับกฎหมาย ส่วนกรณีศาลปกครองรับเรื่องร้องเรียนพนักงานทีไอทีวีอยู่นั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อกฎหมาย เพราะเป็นคนละประเด็นกัน
ส่วนการปรับลดพนักงานในส่วนเจ้าหน้าที่เทคนิคจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ แต่ส่วนอื่นต้องเป็นไปตามกฎหมาย