นักวิจัยสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ของสหรัฐฯ พบสาเหตุที่ทำให้ไวรัสไข้หวัดนกในสัตว์ปีกระบาดสู่คน ซึ่งการค้นพบดังกล่าวจะส่งผลดีต่อการพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ในอนาคต
รายงานผลการศึกษาซึ่งลงพิมพ์ในวารสารเนเชอร์ของอังกฤษระบุว่า ไวรัสไข้หวัดนกจะไปจับกับตัวรับที่ชื่ออัลฟา 2 - 6 ของมนุษย์ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ไวรัสหวัดนกสามารถระบาดข้ามสายพันธุ์จากสัตว์ปีกสู่คนได้ ศาสตราจารย์ราม ซาสิเซขะรัน เจ้าของผลการศึกษา เชื่อว่า การค้นพบครั้งนี้จะช่วยให้นักวิจัยสามารถระบุสายพันธุ์ของไวรัสที่อาจแทรกเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ได้ในระยะอันใกล้ รวมทั้งเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อการปรับปรุงแนวทางการรักษาทั้งโรคไข้หวัดนกและโรคไข้หวัดใหญ่ต่อไป
การศึกษาก่อนหน้านี้ ระบุว่า ไวรัสไข้หวัดที่พบในคนส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์เอช 1 และเอช 3 ขณะที่ไวรัสสายพันธุ์เอช 5 ระบาดเฉพาะในสัตว์ปีก เมื่อเกิดการระบาดข้ามสายพันธุ์สู่คนจึงส่งผลร้ายแรงเพราะภูมิต้านทานของร่างกายไม่สามารถต้านไวรัส ซึ่งจากการติดตามผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกโดยองค์การอนามัยโลกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า ผู้ป่วยมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าร้อยละ 60
รายงานผลการศึกษาซึ่งลงพิมพ์ในวารสารเนเชอร์ของอังกฤษระบุว่า ไวรัสไข้หวัดนกจะไปจับกับตัวรับที่ชื่ออัลฟา 2 - 6 ของมนุษย์ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ไวรัสหวัดนกสามารถระบาดข้ามสายพันธุ์จากสัตว์ปีกสู่คนได้ ศาสตราจารย์ราม ซาสิเซขะรัน เจ้าของผลการศึกษา เชื่อว่า การค้นพบครั้งนี้จะช่วยให้นักวิจัยสามารถระบุสายพันธุ์ของไวรัสที่อาจแทรกเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ได้ในระยะอันใกล้ รวมทั้งเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อการปรับปรุงแนวทางการรักษาทั้งโรคไข้หวัดนกและโรคไข้หวัดใหญ่ต่อไป
การศึกษาก่อนหน้านี้ ระบุว่า ไวรัสไข้หวัดที่พบในคนส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์เอช 1 และเอช 3 ขณะที่ไวรัสสายพันธุ์เอช 5 ระบาดเฉพาะในสัตว์ปีก เมื่อเกิดการระบาดข้ามสายพันธุ์สู่คนจึงส่งผลร้ายแรงเพราะภูมิต้านทานของร่างกายไม่สามารถต้านไวรัส ซึ่งจากการติดตามผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกโดยองค์การอนามัยโลกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า ผู้ป่วยมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าร้อยละ 60