xs
xsm
sm
md
lg

ตื่นตา! ฝูงวัวแดงเริงร่า กินหญ้าอ่อนป่าชิงเผาที่ห้วยขาแข้ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ฝูงวัวแดงเริงร่า เมื่อมาเจอทุ่งหญ้าแตกใบอ่อนระบัดขึ้นมาใหม่ หลังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ชิงเผาพื้นที่อย่างมีแบบแผน เพื่อจัดการฟื้นฟูแหล่งอาหารสัตว์ป่า กว่า 4,000 ไร่

นายธนิตย์ หนูยิ้ม ผอ. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12(นครสวรรค์) กล่าวว่า จากภาพตามคลิปวิดีโอที่ตั้งกล้องดักถ่ายไว้ สื่อแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และได้ข้อมูลเชิงวิชาการที่เป็นประโยชน์ ที่สามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และที่อื่นๆ ต่อไป


เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มีพื้นที่กว้างใหญ่กว่า 1 ล้าน 7 แสนไร่ เป็นผืนป่าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ใช้เป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ป่านาๆ ชนิด โดยเฉพาะสัตว์ป่าใกล้จะสูญพันธ์ เช่น ควายป่า กระทิง เสือโคร่ง เสือดาว แมวลายหินอ่อน
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชนิด จำนวน และความคงอยู่ของสัตว์ป่า คือ แหล่งอาหาร โดยเฉพาะหญ้า ถือเป็นอาหารหลักของสัตว์ป่าจำพวกสัตว์กีบ เช่น กวางป่า กระทิง วัวแดง เป็นต้น

เพื่อให้เกิดแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ ให้สัตว์ป่าได้กิน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงได้จัดทำโครงการปรับปรุงแหล่งอาหารสัตว์กีบโดยวิธีการชิงเผาขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2563 นี้ ได้ทำการเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสม กล่าวคือ เป็นทุ่งหญ้าเก่า ไม่มีต้นไม้ใหญ่ มีปริมาณเชื้อเพลิงสะสมไม่มากนัก เพื่อจัดการฟื้นฟูเป็นแหล่งอาหารสัตว์ป่า เนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่


จากนั้นได้เข้าไปจัดการโดยทำแนวกันไฟ และลดปริมาณเชื้อเพลิงในจุดเสี่ยง จากนั้นจึงทำการชิงเผาอย่างมีแบบแผน ควบคุม โดยมีเจ้าหน้าที่พร้อมอุปกรณ์ดับไฟครบมือ ควบคุมไฟไม่ให้รุนแรงเกิน และไม่ให้ลามออกนอกพื้นที่เป้าหมาย
ผลที่ตามหลังทำการชิงเผาอย่างมีแบบแผนภายใตตการควบคุมดังกล่าว เมื่อต้นเดือน เมษายน 2563 พบว่า เมื่อปลายเดือนเมษายน 2563 ซึ่งเป็นต้นฤดูฝน ปรากฏว่า ได้มีฝนตกลงมาหลังทำการชิงเผา ทำให้พื้นที่มีหญ้าแตกใบอ่อนเขียวขึ้นกระจายเป็นวงกว้าง เกิดเป็นทุ่งหญ้าขนาดใหญ่

เจ้าหน้าที่ พบฝูงวัวแดงจำนวนมาก ออกมาใช้พื้นที่ทุ่งหญ้าเพื่อหากินหญ้าอ่อนกันอย่างอิ่มท้อง อิ่มใจ หลังจากในช่วงแล้งที่ผ่านมาฝูงวัวแดง ได้ประทังชีวิตด้วยการแทะเล็มเปลือกต้นไม้ชนิดต่างๆ เป็นอาหาร มาร่วม 4 เดือน
เมื่อทราบข่าวนี้ ดร. อัจฉรา ซิ้มเจริญ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) ร่วมกับหัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ได้ติดตั้งกล้องดักถ่ายเพื่อบันทึกพฤติกรรมของฝูงวัวแดงที่ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาหากินในบริเวณนั้น ได้ภาพนิ่งและภาพวิดิโออย่างต่อเนื่อง ดูน้อยลง

....................................................................................................

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR



กำลังโหลดความคิดเห็น