Youtube :Travel MGR

สุดเขตชายแดนทางฝั่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี มีพื้นที่เล็กๆ ที่เคยเจริญรุ่งเรืองในอดีตจากการทำเหมืองแร่ดีบุก นั่นก็คือ “ปิล๊อก”
“ปิล๊อก” มาจากคำว่า “ผีหลอก” มีที่มาที่ไปคือ ในอดีตที่เคยเป็นดินแดนอันน่ากลัว มีการล้มตายจากการเข่นฆ่า และไข้ป่า โดยเฉพาะช่วงการเปิดเหมืองนั้น ได้เกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจไทยกับกรรมกรพม่า เพราะฝ่ายไทยห้ามกรรมกรพม่านำแร่ไปขายให้อังกฤษ แต่กรรมกรพม่าฝ่าฝืน จึงเกิดการปะทะกันทำให้มีผู้บาดเจ็บและล้มตายจำนวนมาก แต่ต่อมาชาวพม่าพูดเพี้ยนไปเป็น "ปิล๊อก" ซึ่งกลายเป็นชื่อและชื่อตำบลในเวลาต่อมา


ย้อนอดีตกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน มีผู้พบเห็นชาวพม่าเข้ามาลักลอบขุดแร่ในพื้นที่ตำบลปิล๊อกไปขายให้ทหารอังกฤษ คำเล่าลือนี้ทำให้กรมทรัพยากรธรณีสมัยนั้นนำคณะนายช่างมาสำรวจก็ถึงกับตะลึงอึ้งเมื่อพบว่าพื้นที่แถบนี้มีแร่ดีบุกและวุลแฟรมอยู่มากมาย
ต่อมา ปี พ.ศ. 2483 องค์การเหมืองแร่ กรมโลหะกิจ ได้เปิด “เหมืองปิล๊อก” ขึ้นเป็นแห่งแรกที่บ้านอีต่อง ต.ปิล๊อก หลังจากนั้นก็ได้มีเหมืองแร่อื่นๆ ทยอยเปิดตามกันมาอีกมากมายทั้งเหมืองเล็กเหมืองใหญ่ราว 50-60 เหมือง เกิดเมืองเหมืองขึ้นมา โดยผู้คนพากันเรียกบรรดาเหมืองทั้งหลายในพื้นที่แถบนี้แบบเหมารวมว่า “เหมืองปิล๊อก” ไปด้วย

เหมืองปิล๊อกยุคนั้นเฟื่องฟูมากเพราะแร่ราคาดี ทำให้บรรดาชาวเหมืองและนักแสวงโชคมั่งคั่งกันถ้วนหน้า แถมเหมืองแร่ยังสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับชุมชนรอบๆ อีกด้วย
นิยายเหมืองแร่แห่งปิล๊อกดำเนินเรื่องราวอยู่หลายสิบปี ก่อนประสบภาวะราคาแร่โลกตกต่ำในปี พ.ศ. 2528 บรรดาเหมืองแร่ทยอยปิดตัวลง ไม่เว้นแม้แต่เหมืองปิล๊อก ทิ้งไว้เพียงตำนานเมืองเหมืองอันรุ่งโรจน์และมนต์เสน่ห์แห่งปัจจุบันอันเรียบง่ายสงบงามให้ผู้สนใจออกดั้นด้นเดินทางไปค้นหา


สำหรับ “บ้านอีต่อง” เป็นหมู่บ้านชายแดนที่ตั้งของเหมืองปิล๊อก แม้ว่าจะเคยผ่านช่วงเฟื่องฟูและความเงียบเหงามาแล้ว แต่ในปัจจุบัน บ้านอีต่องกลับกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์ เป็นจุดมุ่งหมายของนักท่องเที่ยวมากหน้าหลายตาที่อยากมาสัมผัสบรรยากาศความเงียบสงบท่ามกลางอ้อมกอดของขุนเขา
แม้หน้าตาของบ้านและอาคารต่างๆ จะเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปมากแล้ว แต่บ้านอีต่องก็ยังคงความเรียบง่ายของและมีเสน่ห์แอบแฝงอยู่ สายน้ำด้านหน้า เดินผ่านตัวสะพานข้ามมายังชุมชน มีย่านร้านตลาด ที่จะคึกคักในช่วงเช้าและค่ำ โดยเฉพาะช่วงปลายปีต่อต้นปีที่ถือว่าเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวของบ้านอีต่อง จะเห็นนักท่องเที่ยวมากหน้าหลายตา เข้ามาสัมผัสบรรยากาศสงบงามของที่นี่


นอกจากคนที่ต้องการมาพักผ่อนซึมซับบรรยากาศที่บ้านอีต่องโดยเฉพาะ ยังมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปพิชิตเขาช้างเผือกที่อยู่ใกล้ๆ มาพักกายคลายความเหนื่อยล้า บอกเล่าเรื่องราวระหว่างทางเดินสู่กันฟัง
ยามเช้าที่บ้านอีต่อง ลองตื่นแต่เช้าตรู่มาใส่บาตรยามเช้า เดินเล่นรอบๆ หมู่บ้าน รับอากาศเย็นฉ่ำในช่วงฤดูหนาว ส่วนช่วงฤดูฝนจนถึงปลายฝนต้นหนาวก็จะเห็นหมอกหนาๆ ที่ลอยไหลเอื่อยๆ อยู่รอบตัว ทำให้ที่นี่กลายเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในม่านหมอก ดูสวยงามลึกลับไปอีกแบบ


จากบริเวณที่จอดรถ เดินเข้ามาทางย่านตลาดอีต่อง ทางขวามือจะเห็น “สะพานเหมืองแร่” ที่สร้างขึ้นมาหลายสิบปีแล้ว ถัดจากนั้นก็จะเป็นทางเดินบรสะพานที่สองข้างทางมีป้ายไม้ห้อยเรียงรายอยู่แน่นขนัด นับว่าเป็นอีกจุดไฮไลต์ของที่นี่ หากว่าใครมาถึงบ้านอีต่องแล้วก็มักจะซื้อป้ายไม้แผ่นบางๆ มาเขียนข้อความแล้วผูกไว้กับราวสะพาน ยามมีลมพัดผ่านป้ายไม้ก็จะปลิวไปมาส่งเสียงอันเป็นเอกลักษณ์


ภายใน “ตลาดอีต่อง” ก็มีร้านค้าเปิดอยู่ไม่มากนักหากไม่ใช่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว แต่ก็ยังมีสินค้าหลากหลายให้เลือกซื้อ โดยเฉพาะสินค้าของฝากจากพม่า รวมถึงอาหารการกินต่างๆ ส่วนร้านอาหารก็มีเพียงไม่กี่ร้าน เมนูเด็ดที่แนะนำก็เป็นพวกปู กุ้ง หมึก หอย สดๆ ที่ส่งตรงมาจากทะเลพม่า
บนเนินเขาใกล้กับหมู่บ้านมี “วัดเหมืองแร่ปิล๊อก” สามารถเดินขึ้นเนินไปสักการะพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดได้ หากมองจากด้านล่างก็จะเห็นเจดีย์สีทองอร่ามและพระพุทธรูปองค์ใหญ่


ติดกับทางเข้าหมู่บ้านอีกทาง จะเห็น “เหมืองปิล๊อก” ที่หลักฐานชั้นดีว่าในอดีตเคยมีเหมืองแร่อยู่ที่นี่ เดินเข้าไปดูด้านในก็ยังคงเห็นเศษรถเก่า เครื่องมือ เครื่องจักร และอาคารต่างๆ ที่เคยใช้งานในยุคเหมืองแร่รุ่งเรือง

จากตัวหมู่บ้านอีต่องเดินทางขึ้นไปชมวิวยัง “เนินเสาธง” หรือ “จุดประสานสัมพันธไมตรีนิจนิรันดร์ไทย-เมียร์มาร์” ที่มีเสาธงชาติของสองประเทศตั้งโดดเด่นเป็นสัญลักษณ์
เนินเสาธง เป็นยอดเขากั้นพรมแดนไทย-พม่า ที่นี่จึงมีทั้งทหารไทย ตชด. และทหารพม่าประจำการอยู่ ในขณะที่ทิวทัศน์บนนี้ หลักๆ ก็เห็นจะเป็นโรงพักแยกก๊าซธรรมชาติทั้งในฝั่งไทยและฝั่งพม่า ส่วนถ้าวันไหนท้องฟ้าเปิดเป็นใจ ในฝั่งพม่าสามารถมองไปไกลเห็นถึงทะเลอันดามันเลยทีเดียว


เลยขึ้นไปอีกนิดจะเป็น “ช่องทางมิตรภาพ” ลักษณะเป็นช่องเขาเล็กๆ ที่เป็นจุดเชื่อมต่อชายแดนไทย-พม่า ตรงจุดนี้สามารถเดินข้ามชายแดนเข้าไปถ่ายรูปคู่กับเสาธงพม่าได้


ส่วนจุดชมวิวสุดสวยของปิล๊อก ต้องยกให้ “จุดชมวิวเนินช้างศึก” อันเป็นที่ตั้งของฐาน ตชด.เหนือเมฆ หรือฐาน ตชด.ลอยฟ้า เพราะเมื่อขึ้นไปยืนบนนั้นแล้วมองลงมาเบื้องล่างจะเห็นวิวทิวทัศน์ของขุนเขาแห่งเทือกเขาตะนาวศรีอันสวยงามกว้างไกลสุดลูกหูลูกตา จะมาชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าหรือพระอาทิตย์ตกยามเย็น แม้แต่ขึ้นมาในช่วงกลางวัน ก็มีความงดงามน่าประทับใจไม่ต่างกัน


นอกจากจะเที่ยวแถวๆ บ้านอีต่องแล้ว หากมีเวลาก็สามารถแวะเที่ยวที่ “อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ” ที่อยู่ไม่ไกลได้ด้วย (หากมาจากตัว อ.ทองผาภูมิ จะอยู่ก่อนถึงบ้านอีต่อง)
เสน่ห์ของอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิก็คือ สภาพพื้นขุนเขาอันสลับซับซ้อน มีสันเขาด้านทิศตะวันตกกั้นเขตแดนไทย-พม่า จากที่ทำการอุทยานเข้าไปด้านในจะมี “เนินกูดดอย-ช้างเผือก” ที่มองลงไปด้านหนึ่งเห็นทิวทัศน์ขุนเขาอันสลับซับซ้อนกว้างไกลปานประหนึ่งทะเลภูเขา ส่วนอีกด้านหนึ่งมองไปเห็นทะเลสาบเขื่อนวชิราลงกรณหรือเขื่อนเขาแหลมสลับกับขุนเขาที่ขึ้นแทรกเป็นฉากหน้าและฉากหลัง


จากนั้นเดินเลยไปอีกจะเป็น “จุดชมวิวเนินช้างเผือก” ที่มองลงไปจะเห็นแนวเขาและยอดเขาช้างเผือกจุดสูงสุดของที่นี่ได้อย่างเด่นชัด ซึ่งทั้งเนินกูดดอยและเนินช้างเผือกต่างก็เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นชั้นดีที่สามารถมองเห็นดวงตะวันแรกแย้มยามเช้าได้อย่างสวยงามน่ายล
เลยทางเข้าอุทยานไปอีกนิดจะเป็น “น้ำตกจ๊อกกะดิ่น” เป็นน้ำตกขนาดย่อมสูงประมาณ 30 เมตร มีชั้นเดียว แต่ว่ามีความพิเศษตรงที่มีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นสีครามปนเขียว และที่สำคัญคือเป็นแอ่งน้ำพื้นทรายที่เหมาะแก่การเล่นน้ำไม่น้อยเลย



“ปิล๊อก” ในอ้อมกอดของขุนเขา นั้นมีเสน่ห์ในทุกฤดูกาล แม้หน้าร้อนร้อนจัด หน้าหนาวหนาวยะเยือก หน้าฝนฝนตกชุก ความแตกต่างอย่างสุดขั้วนี่แหละที่ทำให้หลายๆ คนอยากมายลความงามที่ผันเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา แต่ที่แน่ๆ คือความเงียบสงบและร่องรอยของกาลเวลาที่ยังคงอยู่นั้น ทำให้เมืองเล็กๆ ริมชายแดนแห่งนี้ยังน่าค้นหาไม่เสื่อมคลาย


* * * * * * * * * * * * * *
การเดินทางเข้ามาที่ปิล๊อกและบ้านอีต่อง ปัจจุบันสามารถขับรถเข้ามาได้อย่างสะดวกสบาย แต่ในช่วงฤดูฝนแนะนำให้ใช้รถกระบะหรือรถขับเคลื่อนสี่ล้อ เนื่องจากระหว่างทางมีถนนชำรุด หิน-ดินถล่มเป็นระยะ ส่วนช่วงหน้าแล้งรถยนต์สามารถขับเข้ามาได้ตามปกติ ระยะทางจากตัว อ.ทองผาภูมิ มายังบ้านอีต่องประมาณ 70 กิโลเมตร มีทางโค้งขึ้น-ลงเขาประมาณ 399 โค้ง (มีช่วงที่ถนนชำรุด และถนนอยู่ระหว่างการซ่อมแซมประมาณ 10 กิโลเมตร : ข้อมูลเดือนธันวาคม 2562) หากไม่มีรถส่วนตัว สามารถนั่งรถประจำทางมาลงที่ทองผาภูมิ จะมีรถสองแถวประจำทางเข้ามายังบ้านอีต่อง
ส่วนการเดินทางไปเที่ยวตามจุดต่างๆ นั้นบางจุดสามารถขับรถยนต์เข้าไปได้เลย ยกเว้นที่น้ำตกจ๊อกกะดิ่น ควรตรวจสภาพรถยนต์ให้พร้อมก่อน ส่วนที่เนินช้างศึก ไม่แนะนำให้ขับรถยนต์เข้าไป
หากไม่มีรถส่วนตัว หรือไม่มั่นใจสภาพเส้นทาง แนะนำให้ใช้บริการรถสองแถวรับจ้างในบริเวณบ้านอีต่อง จะมีบริการนำเที่ยวตามจุดต่างๆ ตลอดทั้งวัน (สอบถามราคาบริเวณจุดขึ้นรถ)
สำหรับที่พัก ที่บ้านอีต่องมีบ้านพักให้บริการหลายแห่ง แนะนำให้โทรศัพท์สอบถามห้องพักล่วงหน้า โดยเฉพาะช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวและวันหยุดต่างๆ มีลานกางเตนท์บริเวณลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ภายในโรงเรียน และบนเนินช้างศึก
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR
สุดเขตชายแดนทางฝั่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี มีพื้นที่เล็กๆ ที่เคยเจริญรุ่งเรืองในอดีตจากการทำเหมืองแร่ดีบุก นั่นก็คือ “ปิล๊อก”
“ปิล๊อก” มาจากคำว่า “ผีหลอก” มีที่มาที่ไปคือ ในอดีตที่เคยเป็นดินแดนอันน่ากลัว มีการล้มตายจากการเข่นฆ่า และไข้ป่า โดยเฉพาะช่วงการเปิดเหมืองนั้น ได้เกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจไทยกับกรรมกรพม่า เพราะฝ่ายไทยห้ามกรรมกรพม่านำแร่ไปขายให้อังกฤษ แต่กรรมกรพม่าฝ่าฝืน จึงเกิดการปะทะกันทำให้มีผู้บาดเจ็บและล้มตายจำนวนมาก แต่ต่อมาชาวพม่าพูดเพี้ยนไปเป็น "ปิล๊อก" ซึ่งกลายเป็นชื่อและชื่อตำบลในเวลาต่อมา
ย้อนอดีตกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน มีผู้พบเห็นชาวพม่าเข้ามาลักลอบขุดแร่ในพื้นที่ตำบลปิล๊อกไปขายให้ทหารอังกฤษ คำเล่าลือนี้ทำให้กรมทรัพยากรธรณีสมัยนั้นนำคณะนายช่างมาสำรวจก็ถึงกับตะลึงอึ้งเมื่อพบว่าพื้นที่แถบนี้มีแร่ดีบุกและวุลแฟรมอยู่มากมาย
ต่อมา ปี พ.ศ. 2483 องค์การเหมืองแร่ กรมโลหะกิจ ได้เปิด “เหมืองปิล๊อก” ขึ้นเป็นแห่งแรกที่บ้านอีต่อง ต.ปิล๊อก หลังจากนั้นก็ได้มีเหมืองแร่อื่นๆ ทยอยเปิดตามกันมาอีกมากมายทั้งเหมืองเล็กเหมืองใหญ่ราว 50-60 เหมือง เกิดเมืองเหมืองขึ้นมา โดยผู้คนพากันเรียกบรรดาเหมืองทั้งหลายในพื้นที่แถบนี้แบบเหมารวมว่า “เหมืองปิล๊อก” ไปด้วย
เหมืองปิล๊อกยุคนั้นเฟื่องฟูมากเพราะแร่ราคาดี ทำให้บรรดาชาวเหมืองและนักแสวงโชคมั่งคั่งกันถ้วนหน้า แถมเหมืองแร่ยังสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับชุมชนรอบๆ อีกด้วย
นิยายเหมืองแร่แห่งปิล๊อกดำเนินเรื่องราวอยู่หลายสิบปี ก่อนประสบภาวะราคาแร่โลกตกต่ำในปี พ.ศ. 2528 บรรดาเหมืองแร่ทยอยปิดตัวลง ไม่เว้นแม้แต่เหมืองปิล๊อก ทิ้งไว้เพียงตำนานเมืองเหมืองอันรุ่งโรจน์และมนต์เสน่ห์แห่งปัจจุบันอันเรียบง่ายสงบงามให้ผู้สนใจออกดั้นด้นเดินทางไปค้นหา
สำหรับ “บ้านอีต่อง” เป็นหมู่บ้านชายแดนที่ตั้งของเหมืองปิล๊อก แม้ว่าจะเคยผ่านช่วงเฟื่องฟูและความเงียบเหงามาแล้ว แต่ในปัจจุบัน บ้านอีต่องกลับกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์ เป็นจุดมุ่งหมายของนักท่องเที่ยวมากหน้าหลายตาที่อยากมาสัมผัสบรรยากาศความเงียบสงบท่ามกลางอ้อมกอดของขุนเขา
แม้หน้าตาของบ้านและอาคารต่างๆ จะเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปมากแล้ว แต่บ้านอีต่องก็ยังคงความเรียบง่ายของและมีเสน่ห์แอบแฝงอยู่ สายน้ำด้านหน้า เดินผ่านตัวสะพานข้ามมายังชุมชน มีย่านร้านตลาด ที่จะคึกคักในช่วงเช้าและค่ำ โดยเฉพาะช่วงปลายปีต่อต้นปีที่ถือว่าเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวของบ้านอีต่อง จะเห็นนักท่องเที่ยวมากหน้าหลายตา เข้ามาสัมผัสบรรยากาศสงบงามของที่นี่
นอกจากคนที่ต้องการมาพักผ่อนซึมซับบรรยากาศที่บ้านอีต่องโดยเฉพาะ ยังมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปพิชิตเขาช้างเผือกที่อยู่ใกล้ๆ มาพักกายคลายความเหนื่อยล้า บอกเล่าเรื่องราวระหว่างทางเดินสู่กันฟัง
ยามเช้าที่บ้านอีต่อง ลองตื่นแต่เช้าตรู่มาใส่บาตรยามเช้า เดินเล่นรอบๆ หมู่บ้าน รับอากาศเย็นฉ่ำในช่วงฤดูหนาว ส่วนช่วงฤดูฝนจนถึงปลายฝนต้นหนาวก็จะเห็นหมอกหนาๆ ที่ลอยไหลเอื่อยๆ อยู่รอบตัว ทำให้ที่นี่กลายเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในม่านหมอก ดูสวยงามลึกลับไปอีกแบบ
จากบริเวณที่จอดรถ เดินเข้ามาทางย่านตลาดอีต่อง ทางขวามือจะเห็น “สะพานเหมืองแร่” ที่สร้างขึ้นมาหลายสิบปีแล้ว ถัดจากนั้นก็จะเป็นทางเดินบรสะพานที่สองข้างทางมีป้ายไม้ห้อยเรียงรายอยู่แน่นขนัด นับว่าเป็นอีกจุดไฮไลต์ของที่นี่ หากว่าใครมาถึงบ้านอีต่องแล้วก็มักจะซื้อป้ายไม้แผ่นบางๆ มาเขียนข้อความแล้วผูกไว้กับราวสะพาน ยามมีลมพัดผ่านป้ายไม้ก็จะปลิวไปมาส่งเสียงอันเป็นเอกลักษณ์
ภายใน “ตลาดอีต่อง” ก็มีร้านค้าเปิดอยู่ไม่มากนักหากไม่ใช่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว แต่ก็ยังมีสินค้าหลากหลายให้เลือกซื้อ โดยเฉพาะสินค้าของฝากจากพม่า รวมถึงอาหารการกินต่างๆ ส่วนร้านอาหารก็มีเพียงไม่กี่ร้าน เมนูเด็ดที่แนะนำก็เป็นพวกปู กุ้ง หมึก หอย สดๆ ที่ส่งตรงมาจากทะเลพม่า
บนเนินเขาใกล้กับหมู่บ้านมี “วัดเหมืองแร่ปิล๊อก” สามารถเดินขึ้นเนินไปสักการะพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดได้ หากมองจากด้านล่างก็จะเห็นเจดีย์สีทองอร่ามและพระพุทธรูปองค์ใหญ่
ติดกับทางเข้าหมู่บ้านอีกทาง จะเห็น “เหมืองปิล๊อก” ที่หลักฐานชั้นดีว่าในอดีตเคยมีเหมืองแร่อยู่ที่นี่ เดินเข้าไปดูด้านในก็ยังคงเห็นเศษรถเก่า เครื่องมือ เครื่องจักร และอาคารต่างๆ ที่เคยใช้งานในยุคเหมืองแร่รุ่งเรือง
จากตัวหมู่บ้านอีต่องเดินทางขึ้นไปชมวิวยัง “เนินเสาธง” หรือ “จุดประสานสัมพันธไมตรีนิจนิรันดร์ไทย-เมียร์มาร์” ที่มีเสาธงชาติของสองประเทศตั้งโดดเด่นเป็นสัญลักษณ์
เนินเสาธง เป็นยอดเขากั้นพรมแดนไทย-พม่า ที่นี่จึงมีทั้งทหารไทย ตชด. และทหารพม่าประจำการอยู่ ในขณะที่ทิวทัศน์บนนี้ หลักๆ ก็เห็นจะเป็นโรงพักแยกก๊าซธรรมชาติทั้งในฝั่งไทยและฝั่งพม่า ส่วนถ้าวันไหนท้องฟ้าเปิดเป็นใจ ในฝั่งพม่าสามารถมองไปไกลเห็นถึงทะเลอันดามันเลยทีเดียว
เลยขึ้นไปอีกนิดจะเป็น “ช่องทางมิตรภาพ” ลักษณะเป็นช่องเขาเล็กๆ ที่เป็นจุดเชื่อมต่อชายแดนไทย-พม่า ตรงจุดนี้สามารถเดินข้ามชายแดนเข้าไปถ่ายรูปคู่กับเสาธงพม่าได้
ส่วนจุดชมวิวสุดสวยของปิล๊อก ต้องยกให้ “จุดชมวิวเนินช้างศึก” อันเป็นที่ตั้งของฐาน ตชด.เหนือเมฆ หรือฐาน ตชด.ลอยฟ้า เพราะเมื่อขึ้นไปยืนบนนั้นแล้วมองลงมาเบื้องล่างจะเห็นวิวทิวทัศน์ของขุนเขาแห่งเทือกเขาตะนาวศรีอันสวยงามกว้างไกลสุดลูกหูลูกตา จะมาชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าหรือพระอาทิตย์ตกยามเย็น แม้แต่ขึ้นมาในช่วงกลางวัน ก็มีความงดงามน่าประทับใจไม่ต่างกัน
นอกจากจะเที่ยวแถวๆ บ้านอีต่องแล้ว หากมีเวลาก็สามารถแวะเที่ยวที่ “อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ” ที่อยู่ไม่ไกลได้ด้วย (หากมาจากตัว อ.ทองผาภูมิ จะอยู่ก่อนถึงบ้านอีต่อง)
เสน่ห์ของอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิก็คือ สภาพพื้นขุนเขาอันสลับซับซ้อน มีสันเขาด้านทิศตะวันตกกั้นเขตแดนไทย-พม่า จากที่ทำการอุทยานเข้าไปด้านในจะมี “เนินกูดดอย-ช้างเผือก” ที่มองลงไปด้านหนึ่งเห็นทิวทัศน์ขุนเขาอันสลับซับซ้อนกว้างไกลปานประหนึ่งทะเลภูเขา ส่วนอีกด้านหนึ่งมองไปเห็นทะเลสาบเขื่อนวชิราลงกรณหรือเขื่อนเขาแหลมสลับกับขุนเขาที่ขึ้นแทรกเป็นฉากหน้าและฉากหลัง
จากนั้นเดินเลยไปอีกจะเป็น “จุดชมวิวเนินช้างเผือก” ที่มองลงไปจะเห็นแนวเขาและยอดเขาช้างเผือกจุดสูงสุดของที่นี่ได้อย่างเด่นชัด ซึ่งทั้งเนินกูดดอยและเนินช้างเผือกต่างก็เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นชั้นดีที่สามารถมองเห็นดวงตะวันแรกแย้มยามเช้าได้อย่างสวยงามน่ายล
เลยทางเข้าอุทยานไปอีกนิดจะเป็น “น้ำตกจ๊อกกะดิ่น” เป็นน้ำตกขนาดย่อมสูงประมาณ 30 เมตร มีชั้นเดียว แต่ว่ามีความพิเศษตรงที่มีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นสีครามปนเขียว และที่สำคัญคือเป็นแอ่งน้ำพื้นทรายที่เหมาะแก่การเล่นน้ำไม่น้อยเลย
“ปิล๊อก” ในอ้อมกอดของขุนเขา นั้นมีเสน่ห์ในทุกฤดูกาล แม้หน้าร้อนร้อนจัด หน้าหนาวหนาวยะเยือก หน้าฝนฝนตกชุก ความแตกต่างอย่างสุดขั้วนี่แหละที่ทำให้หลายๆ คนอยากมายลความงามที่ผันเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา แต่ที่แน่ๆ คือความเงียบสงบและร่องรอยของกาลเวลาที่ยังคงอยู่นั้น ทำให้เมืองเล็กๆ ริมชายแดนแห่งนี้ยังน่าค้นหาไม่เสื่อมคลาย
* * * * * * * * * * * * * *
การเดินทางเข้ามาที่ปิล๊อกและบ้านอีต่อง ปัจจุบันสามารถขับรถเข้ามาได้อย่างสะดวกสบาย แต่ในช่วงฤดูฝนแนะนำให้ใช้รถกระบะหรือรถขับเคลื่อนสี่ล้อ เนื่องจากระหว่างทางมีถนนชำรุด หิน-ดินถล่มเป็นระยะ ส่วนช่วงหน้าแล้งรถยนต์สามารถขับเข้ามาได้ตามปกติ ระยะทางจากตัว อ.ทองผาภูมิ มายังบ้านอีต่องประมาณ 70 กิโลเมตร มีทางโค้งขึ้น-ลงเขาประมาณ 399 โค้ง (มีช่วงที่ถนนชำรุด และถนนอยู่ระหว่างการซ่อมแซมประมาณ 10 กิโลเมตร : ข้อมูลเดือนธันวาคม 2562) หากไม่มีรถส่วนตัว สามารถนั่งรถประจำทางมาลงที่ทองผาภูมิ จะมีรถสองแถวประจำทางเข้ามายังบ้านอีต่อง
ส่วนการเดินทางไปเที่ยวตามจุดต่างๆ นั้นบางจุดสามารถขับรถยนต์เข้าไปได้เลย ยกเว้นที่น้ำตกจ๊อกกะดิ่น ควรตรวจสภาพรถยนต์ให้พร้อมก่อน ส่วนที่เนินช้างศึก ไม่แนะนำให้ขับรถยนต์เข้าไป
หากไม่มีรถส่วนตัว หรือไม่มั่นใจสภาพเส้นทาง แนะนำให้ใช้บริการรถสองแถวรับจ้างในบริเวณบ้านอีต่อง จะมีบริการนำเที่ยวตามจุดต่างๆ ตลอดทั้งวัน (สอบถามราคาบริเวณจุดขึ้นรถ)
สำหรับที่พัก ที่บ้านอีต่องมีบ้านพักให้บริการหลายแห่ง แนะนำให้โทรศัพท์สอบถามห้องพักล่วงหน้า โดยเฉพาะช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวและวันหยุดต่างๆ มีลานกางเตนท์บริเวณลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ภายในโรงเรียน และบนเนินช้างศึก
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR