Youtube :Travel MGR

อส. พบ หอยเม่นหมวกกันน็อค สัตว์ทะเลหายาก ครั้งแรกที่หมู่เกาะสิมิลัน โดยพบประมาณ 50 ตัว บริเวณเกาะบางู
เพจ “อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน - Mu Ko Similan National park” ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของ “กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช” (อส.) เผยข่าวดี พบสัตว์ทะเลหายาก “หอยเม่นหมวกกันน็อค” ประมาณ 50 ตัว บริเวณเกาะบางู นับเป็นครั้งแรกของหมู่เกาะสิมิลันที่มีการค้นพบสัตว์หายากชนิดนี้
ทั้งนี้เพจอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการค้นพบหอยเม่นหมวกกันน็อค ว่า
ครั้งแรกของสิมิลันกับการค้นพบ หอยเม่นหมวกกันน็อค สัตว์ทะเลหายาก
เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 62 เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สล.2(เกาะสิมิลัน) นำโดยนางสาวเพ็ญศรี พิพัฒน์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ได้ออกลาดตระเวนเชิงคุณภาพ(smart patrol)และในการลาดตระเวนครั้งดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้ทำการสำรวจพบหอยเม่นหมวกกันน็อค ประมาณ 50 ตัว บริเวณเกาะบางู ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลหายากในประเทศไทยและเป็นการค้นพบสัตว์ชนิดนี้เป็นครั้งแรกของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

นอกจากนี้เพจอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับ หอยเม่นหมวกกันน็อค ดังนี้
หอยเม่นหมวกกันน็อค มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Colobocentrotus atratus
หอยเม่นหมวกกันน็อค(Helmet Urchins) หรือบางทีรู้จักกันในชื่อ หอยเม่นกระเบื้องมุงหลังคา(shingle urchin) รูปลักษณะที่แตกต่างจาก หอยเม่นทั่วไปก็คือ พวกเนื้อตัวที่เกลี้ยงเกลาดุจมุงด้วยกระเบื้อง ไร้ซึ่งหนามแหลมแม้แต่อันเดียว สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าหอยเม่นหมวกกันน็อคได้มีการปรับตัวให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่อาศัยเนื่องจากถิ่นที่อยู่ของพวกมันมีคลื่นลมรุนแรง ทำให้มีนักล่าน้อยนักที่จะเข้าถึงตัวพวกมันได้ ประกอบกับการที่อยู่ในพื้นที่มีคลื่นลมรุนแรง หนามแหลมนั้นเป็นอุปสรรค เนื่องจากมันจะต้านคลื่นอาจทำให้พวกมันถูกซัดหลุดจากโขดหินที่อยู่อาศัย และเมื่อไม่มีผู้ล่าหนามแหลมที่ใช้ป้องกันตัวจึงหมดความจำเป็นไป

นายสุธีรชัย สมทา นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล ประจำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ได้ให้ข้อมูลว่าจากการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยพบว่าได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการทบสอบแรงยึดเกาะของเม่นหมวกกันน็อค Santos & Flammang (2007) โดยพบว่า เม่นหมวกกันน็อคสามารถต้านทานแรงปะทะคลื่นได้ตั้งแต่ความเร็ว 17.5 เมตรต่อวินาที ไปจนถึง 27.5 เมตรต่อวินาที !! ซึ่งหากเปรียบเทียบให้เห็นภาพคือที่ความเร็ว 27.5 เมตรต่อวินาที เป็นแรงที่สามารถถอนต้นไม้ได้ทั้งต้น

หอยเม่นหมวกกันน็อค พบได้ทั่วไปตามโขดหินตามชายหาดที่มีคลื่นซัดถึง ในแถบ Indo-West Pacific และ ฮาวาย (Hawaii) แต่ในประเทศไทยนั้นมีรายงานการพบหอยเม่นชนิดนี้น้อยมาก โดยรายงานการพบครั้งแรกในปีพ.ศ. 2530 โดย ดร.สมชัย บุศราวิช จากโครงการ First PMBC/DANIDA Training course and workshop on taxonomy, biology and ecology of echinoderms และมีการรายงานการพบครั้งล่าสุดในปี 2547 โดย ดร.สุเมตต์ ปุจฉาการ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ในรายงาน
Putchakarn.S and Sonchaeng.P (2004). Echinoderm Fauna of Thailand:
History and Inventory Reviews. ScienceAsia 30 (2004): 417-428

สำหรับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ตั้งอยู่ในน่านน้ำเขตจังหวัดพังงา โดยที่ตั้งที่ทำการอุทยานฯ-ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ตั้งอยู่บนเกาะสี่ ที่อยู่ห่างจากท่าเทียบเรือทับละมุ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ประมาณ 70 กิโลเมตร
ทุก ๆ ฤดูกาลท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จะเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯ ระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม - 15 พฤษภาคม

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ประกอบด้วย 11 เกาะ แบ่งเป็น 9 เกาะ คือ เกาะหนึ่ง(หูหยง) เกาะสอง(ปายัง) เกาะสาม(ปาหยัน) เกาะสี่(เมียง) เกาะห้า เกาะหก(ปายู) เกาะเจ็ด(หินปูซาร์) เกาะแปด(สิมิลัน) เกาะเก้า(บางู) และอีก 2 เกาะที่ผนวกเข้าใหม่ภายหลังคือ เกาะตาชัยและเกาะบอน

หมู่เกาะสิมิลันเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลชื่อดังของเมืองไทย เป็นดังสวรรค์แห่งท้องทะเลอันดามัน มีน้ำทะเลสวยใส แนวชายหาดยาวสวยงาม พื้นทรายเนื้อละเอียดดุจแป้ง โดยมี “หินเรือใบ” บนเกาะ 8 เป็นดังสัญลักษณ์ของหมู่เกาะแห่งนี้ รวมถึงมีโลกใต้ท้องทะเลอันงดงามจนได้ชื่อว่าเป็นแหล่งดำน้ำลึกที่มีความสวยงามติด 1 ใน 10 ของโลก

นอกจากนี้หมู่เกาะสิมิลันยังมีสัตว์เฉพาะถิ่นน่าสนใจ อย่างเช่น ค้างคาวแม่ไก่เกาะ ค้างคาวปีกถุงเคราดำ พญากระรอกดำ นกชาปีไหน ปู่ไก่ และ “หอยมรกต” หนึ่งเดียวในโลกบนเกาะตาชัย ซึ่งล่าสุดพบหอยชนิดนี้เติบโตได้ดีบนเกาะตาชัย โดยคาดว่าอาจมาจากการปิดการท่องเที่ยวบนเกาะตาชัยเพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัว ซึ่งวันนี้ อส. ได้ทำการปิดเกาะตาชัยมากว่า 3 ปีแล้ว
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR
อส. พบ หอยเม่นหมวกกันน็อค สัตว์ทะเลหายาก ครั้งแรกที่หมู่เกาะสิมิลัน โดยพบประมาณ 50 ตัว บริเวณเกาะบางู
เพจ “อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน - Mu Ko Similan National park” ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของ “กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช” (อส.) เผยข่าวดี พบสัตว์ทะเลหายาก “หอยเม่นหมวกกันน็อค” ประมาณ 50 ตัว บริเวณเกาะบางู นับเป็นครั้งแรกของหมู่เกาะสิมิลันที่มีการค้นพบสัตว์หายากชนิดนี้
ทั้งนี้เพจอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการค้นพบหอยเม่นหมวกกันน็อค ว่า
ครั้งแรกของสิมิลันกับการค้นพบ หอยเม่นหมวกกันน็อค สัตว์ทะเลหายาก
เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 62 เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สล.2(เกาะสิมิลัน) นำโดยนางสาวเพ็ญศรี พิพัฒน์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ได้ออกลาดตระเวนเชิงคุณภาพ(smart patrol)และในการลาดตระเวนครั้งดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้ทำการสำรวจพบหอยเม่นหมวกกันน็อค ประมาณ 50 ตัว บริเวณเกาะบางู ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลหายากในประเทศไทยและเป็นการค้นพบสัตว์ชนิดนี้เป็นครั้งแรกของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
นอกจากนี้เพจอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับ หอยเม่นหมวกกันน็อค ดังนี้
หอยเม่นหมวกกันน็อค มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Colobocentrotus atratus
หอยเม่นหมวกกันน็อค(Helmet Urchins) หรือบางทีรู้จักกันในชื่อ หอยเม่นกระเบื้องมุงหลังคา(shingle urchin) รูปลักษณะที่แตกต่างจาก หอยเม่นทั่วไปก็คือ พวกเนื้อตัวที่เกลี้ยงเกลาดุจมุงด้วยกระเบื้อง ไร้ซึ่งหนามแหลมแม้แต่อันเดียว สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าหอยเม่นหมวกกันน็อคได้มีการปรับตัวให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่อาศัยเนื่องจากถิ่นที่อยู่ของพวกมันมีคลื่นลมรุนแรง ทำให้มีนักล่าน้อยนักที่จะเข้าถึงตัวพวกมันได้ ประกอบกับการที่อยู่ในพื้นที่มีคลื่นลมรุนแรง หนามแหลมนั้นเป็นอุปสรรค เนื่องจากมันจะต้านคลื่นอาจทำให้พวกมันถูกซัดหลุดจากโขดหินที่อยู่อาศัย และเมื่อไม่มีผู้ล่าหนามแหลมที่ใช้ป้องกันตัวจึงหมดความจำเป็นไป
นายสุธีรชัย สมทา นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล ประจำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ได้ให้ข้อมูลว่าจากการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยพบว่าได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการทบสอบแรงยึดเกาะของเม่นหมวกกันน็อค Santos & Flammang (2007) โดยพบว่า เม่นหมวกกันน็อคสามารถต้านทานแรงปะทะคลื่นได้ตั้งแต่ความเร็ว 17.5 เมตรต่อวินาที ไปจนถึง 27.5 เมตรต่อวินาที !! ซึ่งหากเปรียบเทียบให้เห็นภาพคือที่ความเร็ว 27.5 เมตรต่อวินาที เป็นแรงที่สามารถถอนต้นไม้ได้ทั้งต้น
หอยเม่นหมวกกันน็อค พบได้ทั่วไปตามโขดหินตามชายหาดที่มีคลื่นซัดถึง ในแถบ Indo-West Pacific และ ฮาวาย (Hawaii) แต่ในประเทศไทยนั้นมีรายงานการพบหอยเม่นชนิดนี้น้อยมาก โดยรายงานการพบครั้งแรกในปีพ.ศ. 2530 โดย ดร.สมชัย บุศราวิช จากโครงการ First PMBC/DANIDA Training course and workshop on taxonomy, biology and ecology of echinoderms และมีการรายงานการพบครั้งล่าสุดในปี 2547 โดย ดร.สุเมตต์ ปุจฉาการ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ในรายงาน
Putchakarn.S and Sonchaeng.P (2004). Echinoderm Fauna of Thailand:
History and Inventory Reviews. ScienceAsia 30 (2004): 417-428
สำหรับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ตั้งอยู่ในน่านน้ำเขตจังหวัดพังงา โดยที่ตั้งที่ทำการอุทยานฯ-ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ตั้งอยู่บนเกาะสี่ ที่อยู่ห่างจากท่าเทียบเรือทับละมุ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ประมาณ 70 กิโลเมตร
ทุก ๆ ฤดูกาลท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จะเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯ ระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม - 15 พฤษภาคม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ประกอบด้วย 11 เกาะ แบ่งเป็น 9 เกาะ คือ เกาะหนึ่ง(หูหยง) เกาะสอง(ปายัง) เกาะสาม(ปาหยัน) เกาะสี่(เมียง) เกาะห้า เกาะหก(ปายู) เกาะเจ็ด(หินปูซาร์) เกาะแปด(สิมิลัน) เกาะเก้า(บางู) และอีก 2 เกาะที่ผนวกเข้าใหม่ภายหลังคือ เกาะตาชัยและเกาะบอน
หมู่เกาะสิมิลันเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลชื่อดังของเมืองไทย เป็นดังสวรรค์แห่งท้องทะเลอันดามัน มีน้ำทะเลสวยใส แนวชายหาดยาวสวยงาม พื้นทรายเนื้อละเอียดดุจแป้ง โดยมี “หินเรือใบ” บนเกาะ 8 เป็นดังสัญลักษณ์ของหมู่เกาะแห่งนี้ รวมถึงมีโลกใต้ท้องทะเลอันงดงามจนได้ชื่อว่าเป็นแหล่งดำน้ำลึกที่มีความสวยงามติด 1 ใน 10 ของโลก
นอกจากนี้หมู่เกาะสิมิลันยังมีสัตว์เฉพาะถิ่นน่าสนใจ อย่างเช่น ค้างคาวแม่ไก่เกาะ ค้างคาวปีกถุงเคราดำ พญากระรอกดำ นกชาปีไหน ปู่ไก่ และ “หอยมรกต” หนึ่งเดียวในโลกบนเกาะตาชัย ซึ่งล่าสุดพบหอยชนิดนี้เติบโตได้ดีบนเกาะตาชัย โดยคาดว่าอาจมาจากการปิดการท่องเที่ยวบนเกาะตาชัยเพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัว ซึ่งวันนี้ อส. ได้ทำการปิดเกาะตาชัยมากว่า 3 ปีแล้ว
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR