Facebook :Travel @ Manager
เรื่องราวสุดสะเทือนใจที่หลายคนอาจเคยได้ยินมาบ้าง เกี่ยวกับเหตุการณ์ความโหดร้ายของกลุ่มคนที่ทำร้ายเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างทารุณในกัมพูชา แม้เวลาจะผ่านล่วงเลยมากว่า 40 ปีแล้ว แต่ความทรงจำที่บีบคั้นหัวใจให้เจ็บปวดรวดร้าวเหล่านั้นยังคงฝังลึกจนต้องขวัญผวา และเล่ากันมาจนถึงทุกวันนี้ กับ “ศูนย์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เจืองแอ็ก”
“ศูนย์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เจืองแอ็ก” หรือ “The Killing Field of Choeung Ek” ตั้งอยู่ห่างจากกรุงพนมเปญ กัมพูชา ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นหนึ่งในทุ่งสังหารหรืออนุสรณ์สถานที่ระลึกถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกัมพูชา ปัจจุบันเปิดให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชม เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์อันโหดร้าย
หากย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1975 เกิดเหตุการณ์อันน่าสลดใจให้ทุกคนในกัมพูชา ล้วนได้รับความทรมานหลังจากเกิดเหตุการณ์ในประเทศที่สวยงามแห่งนี้ ในวันนั้นนายพอลพต ผู้นำกองทัพเขมรแดง ได้สั่งสังหารชาวกัมพูชากว่า 3 ล้านคน ตายด้วยเงื้อมมือของเขาจากประชากรทั้งหมดราว 8 ล้านคน
บริเวณทุ่งสังหารเจืองแอ็กแห่งนี้ เป็นเพียง 1 ใน 300 ทุ่งสังหารที่มีอยู่ในกัมพูชา มีประชาชนมากกว่า 2 หมื่นคนถูกฆาตกรรม ถูกประหารอย่างเลือดเย็นด้วยความเกลียดชัง ความโง่เขลา และความกลัว ปัจจุบันเป็นสถานที่รำลึกถึงผู้ที่ดับสูญไป หลังจากซื้อตั๋วเข้าชมแล้ว เจ้าหน้าที่ให้โบร์ชัวร์เป็นเอกสารประกอบการเข้าชมพร้อมหูฟัง โดยผู้ที่เข้ามาเยี่ยมเยือน สามารถรับฟังประวัติของที่นี่ จากเครื่องบันทึกเสียงบรรยายเป็นภาษาต่างๆ ได้ทั่วโลก
เมื่อเข้ามาด้านในจะมีจุดเยี่ยมชมเป็นจุดๆ ให้หยุดรับชมและรับฟังเสียงบรรยาย เริ่มแรกจะกล่าวถึงประวัติและความเป็นมาว่าเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1975 กองกำลังของนายพอลพตได้มุ่งหน้าสู่กรุงพนมเปญ ซึ่งกองกำลังนี้ถูกเรียกว่า “ขแมร์รูท” หรือ “เขมรแดง” มีความหมายว่า เขมร คือ กลุ่มชาติพันธุ์หลักของกัมพูชา และ แดงก็คือสีของคอมมิวนิสต์นั่นเอง
ภายในเวลา 48 ชั่วโมง กองกำลังเขมรแดงได้ปิดโรงเรียนและบริษัทห้างร้าน สถานที่อันควรเคารพบูชา และสถานบันเทิงต่างๆ โรงพยาบาล โรงงาน และสถานีตำรวจทั้งหมด ผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กทุกคนในเมือง ไม่ว่าจะมีอายุเท่าไรได้ถูกบังคับให้ออกจากเมือง ครอบครัวถูกแยกออกจากกัน และถูกส่งไปคนละทิศคนละทาง ในเวลาเพียง 3 วัน ดินแดนแห่งนี้ก็กลายเป็นรกร้างว่างเปล่า พวกเขาถูกกวาดต้อนส่งไปทำงานใช้แรงงานอย่างหนัก ทั้งวันทั้งคืนโดยไม่ได้พักผ่อน จนหมดแรงและสิ้นชีพลงไปในที่สุด
สำหรับจุดเยี่ยมชมภายในทุ่งสังหารเจืองแอ็ก จุดอื่นๆ ที่น่าสนใจก็คือ จุดป้ายหยุดรถบรรทุก สถานกักกันที่มืดและสิ้นหวัง หลุมศพรวม 450 ศพ ตู้กระจกเสื้อผ้าของเหยื่อ ต้นไม้สังหาร ตู้กระจกกระดูกและฟันของเหยื่อ เป็นต้น
ส่วนไฮไลต์ของการเยี่ยมชมของที่นี่ ซึ่งถือเป็นจุดที่สำคัญก็คือ “สถูปรำลึก” เป็นสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา เริ่มแรกโครงสร้างรูปแบบเนินหรือโดมใช้เพื่อการเก็บรักษาร่างหรืออัฐิที่คนบูชา สถูปแห่งนี้เป็นสถูปที่สูงที่สุด และตกแต่งด้วยสัญลักษณ์ของฮินดูและพุทธ ใต้หลังคาที่ส่วนอยู่เหนือเสาจะมองเห็นนกที่ทุกมุม นั่นก็คือครุฑ ถือเป็นเทพพิทักษ์ศักดิ์สิทธ์ที่ประกอบรูปลักษณ์ด้วยนกยักษ์ สิงโต และมนุษย์
ส่วนมุมที่มุมหลังคาที่ยื่นมาด้านบนจะมองเห็นงูยักษ์หรือที่รู้จักในนามนาค มีความคล้ายกับมังกรมีหางสีทองไล่ตามมุมหลังคา และพันเป็นเกลียวที่ยอดของสถูป โดยความความหมายว่า นาค คือเผ่าพันธุ์ในตำนาน ซึ่งว่ากันว่าเป็นบิดาของเผ่าพันธุ์เขมร นาคเป็นศัตรูกับครุฑมาแต่ดั้งเดิม เมื่อสิ่งที่เป็นศัตรูกันมาอยู่ร่วมกันที่นี่มันคือสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ
ภายในสถูปที่รำลึกนี้สร้างขึ้นโดยรัฐบาลกัมพูชาในปีค.ศ. 1988 เพื่อเป็นที่ระลึกแด่ผู้ที่เสียชีวิตที่เจืองเอ็กแห่งนี้ ก่อนหน้านั้นศพของพวกเขาเก็บอยู่ในเรือนไม้ชั่วคราว ต่อมาในปีค.ศ. 2011 มีทุ่งสังหารอีกมากกว่า 300 แห่งได้ถูกค้นพบในกัมพูชา โดยประมาณ 80 แห่งได้ก่อตั้งเป็นอนุสาวรีย์อย่างเป็นทางการและกลายเป็นอาคารที่รำลึก ส่วนทุ่งสังหารบางแห่งไม่ยังสามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากมีกับระเบิดห้อมล้อม หรือถูกซ่อนอยู่ในป่ารก และหลายแห่งสูญหายไปแล้ว
ก่อนที่จะเข้าไปในสถูปแห่งนี้จะต้องถอดรองเท้าวางไว้ที่ชั้นวางด้านหน้า เพื่อเป็นการแสดงความเคารพก่อนที่จะเข้าไป ภายในสถูปมีทั้งหมด 17 ชั้น จำนวนชั้นที่มีทั้งหมด 17 ชั้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงวันที่ 17 เมษายน 1975 วันที่เขมรแดงเข้ามาที่กรุงพนมเปญ กะโหลกหรือกระดูกของผู้เสียชีวิตที่เจืองเอ็ก ได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ ทั้งหมดถูกเรียงวางอยู่บนทุกชั้น 10
ส่วนชั้นแรกเก็บกะโหลกไว้ประมาณ 9,000 ชิ้น วางเรียงตามหมวดหมู่ทางวิทยาศาสตร์และติดสลากเรียบร้อย ชั้นบนจะเป็นที่เก็บกระดูกชิ้นใหญ่อื่นๆ เช่น กระดูกขาหรือแขน ส่วนกระดูกซี่โครง เชิงกราน และกระดูกชิ้นเล็กๆ ถูกทิ้งไว้ใต้พื้นดิน เพราะไม่มีที่มากพอจะแสดงทั้งหมด
เมื่อเดินออกจากสถูปจะมองเห็นอาคารที่อยู่ทางซ้ายมือ นั่นคือพิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเบื้องหลังของผู้ที่ก่อความน่าสะพรึงกลัวนี้ขึ้นในกัมพูชา มีเครื่องแบบเขมรแดง และเครื่องมือในการฆ่าด้วยเช่นกัน และมีภาพยนตร์แสดงภาพสถานที่แห่งนี้เมื่อครั้งแรกที่ค้นพบด้วย
ปัจจุบันศูนย์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เจืองแอ็กยังคงความสยดสยอง ภายใต้ต้นหญ้าสีเขียวชอุ่มที่ขึ้นปกคลุมรอบบริเวณ ทุกย่างก้าวของการย่ำเดินไป ก็เหมือนการเดินอยู่บนหลุมศพของชาวกัมพูชาหลายหมื่นคน แม้ความโหดร้ายนี้จะยุติไปแล้ว แต่ภาพในความทรงจำของหลายคนยังคงไม่ลบเลือน หากใครมาท่องเที่ยวที่กรุงพนมเปญแล้ว ลองหาโอกาสเข้ามาเยี่ยมชมพร้อมฟังเรื่องราวและรำลึกกับดินแดนแห่งความทรงจำแห่งนี้สักครา
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
เรื่องราวสุดสะเทือนใจที่หลายคนอาจเคยได้ยินมาบ้าง เกี่ยวกับเหตุการณ์ความโหดร้ายของกลุ่มคนที่ทำร้ายเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างทารุณในกัมพูชา แม้เวลาจะผ่านล่วงเลยมากว่า 40 ปีแล้ว แต่ความทรงจำที่บีบคั้นหัวใจให้เจ็บปวดรวดร้าวเหล่านั้นยังคงฝังลึกจนต้องขวัญผวา และเล่ากันมาจนถึงทุกวันนี้ กับ “ศูนย์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เจืองแอ็ก”
“ศูนย์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เจืองแอ็ก” หรือ “The Killing Field of Choeung Ek” ตั้งอยู่ห่างจากกรุงพนมเปญ กัมพูชา ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นหนึ่งในทุ่งสังหารหรืออนุสรณ์สถานที่ระลึกถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกัมพูชา ปัจจุบันเปิดให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชม เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์อันโหดร้าย
หากย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1975 เกิดเหตุการณ์อันน่าสลดใจให้ทุกคนในกัมพูชา ล้วนได้รับความทรมานหลังจากเกิดเหตุการณ์ในประเทศที่สวยงามแห่งนี้ ในวันนั้นนายพอลพต ผู้นำกองทัพเขมรแดง ได้สั่งสังหารชาวกัมพูชากว่า 3 ล้านคน ตายด้วยเงื้อมมือของเขาจากประชากรทั้งหมดราว 8 ล้านคน
บริเวณทุ่งสังหารเจืองแอ็กแห่งนี้ เป็นเพียง 1 ใน 300 ทุ่งสังหารที่มีอยู่ในกัมพูชา มีประชาชนมากกว่า 2 หมื่นคนถูกฆาตกรรม ถูกประหารอย่างเลือดเย็นด้วยความเกลียดชัง ความโง่เขลา และความกลัว ปัจจุบันเป็นสถานที่รำลึกถึงผู้ที่ดับสูญไป หลังจากซื้อตั๋วเข้าชมแล้ว เจ้าหน้าที่ให้โบร์ชัวร์เป็นเอกสารประกอบการเข้าชมพร้อมหูฟัง โดยผู้ที่เข้ามาเยี่ยมเยือน สามารถรับฟังประวัติของที่นี่ จากเครื่องบันทึกเสียงบรรยายเป็นภาษาต่างๆ ได้ทั่วโลก
เมื่อเข้ามาด้านในจะมีจุดเยี่ยมชมเป็นจุดๆ ให้หยุดรับชมและรับฟังเสียงบรรยาย เริ่มแรกจะกล่าวถึงประวัติและความเป็นมาว่าเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1975 กองกำลังของนายพอลพตได้มุ่งหน้าสู่กรุงพนมเปญ ซึ่งกองกำลังนี้ถูกเรียกว่า “ขแมร์รูท” หรือ “เขมรแดง” มีความหมายว่า เขมร คือ กลุ่มชาติพันธุ์หลักของกัมพูชา และ แดงก็คือสีของคอมมิวนิสต์นั่นเอง
ภายในเวลา 48 ชั่วโมง กองกำลังเขมรแดงได้ปิดโรงเรียนและบริษัทห้างร้าน สถานที่อันควรเคารพบูชา และสถานบันเทิงต่างๆ โรงพยาบาล โรงงาน และสถานีตำรวจทั้งหมด ผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กทุกคนในเมือง ไม่ว่าจะมีอายุเท่าไรได้ถูกบังคับให้ออกจากเมือง ครอบครัวถูกแยกออกจากกัน และถูกส่งไปคนละทิศคนละทาง ในเวลาเพียง 3 วัน ดินแดนแห่งนี้ก็กลายเป็นรกร้างว่างเปล่า พวกเขาถูกกวาดต้อนส่งไปทำงานใช้แรงงานอย่างหนัก ทั้งวันทั้งคืนโดยไม่ได้พักผ่อน จนหมดแรงและสิ้นชีพลงไปในที่สุด
สำหรับจุดเยี่ยมชมภายในทุ่งสังหารเจืองแอ็ก จุดอื่นๆ ที่น่าสนใจก็คือ จุดป้ายหยุดรถบรรทุก สถานกักกันที่มืดและสิ้นหวัง หลุมศพรวม 450 ศพ ตู้กระจกเสื้อผ้าของเหยื่อ ต้นไม้สังหาร ตู้กระจกกระดูกและฟันของเหยื่อ เป็นต้น
ส่วนไฮไลต์ของการเยี่ยมชมของที่นี่ ซึ่งถือเป็นจุดที่สำคัญก็คือ “สถูปรำลึก” เป็นสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา เริ่มแรกโครงสร้างรูปแบบเนินหรือโดมใช้เพื่อการเก็บรักษาร่างหรืออัฐิที่คนบูชา สถูปแห่งนี้เป็นสถูปที่สูงที่สุด และตกแต่งด้วยสัญลักษณ์ของฮินดูและพุทธ ใต้หลังคาที่ส่วนอยู่เหนือเสาจะมองเห็นนกที่ทุกมุม นั่นก็คือครุฑ ถือเป็นเทพพิทักษ์ศักดิ์สิทธ์ที่ประกอบรูปลักษณ์ด้วยนกยักษ์ สิงโต และมนุษย์
ส่วนมุมที่มุมหลังคาที่ยื่นมาด้านบนจะมองเห็นงูยักษ์หรือที่รู้จักในนามนาค มีความคล้ายกับมังกรมีหางสีทองไล่ตามมุมหลังคา และพันเป็นเกลียวที่ยอดของสถูป โดยความความหมายว่า นาค คือเผ่าพันธุ์ในตำนาน ซึ่งว่ากันว่าเป็นบิดาของเผ่าพันธุ์เขมร นาคเป็นศัตรูกับครุฑมาแต่ดั้งเดิม เมื่อสิ่งที่เป็นศัตรูกันมาอยู่ร่วมกันที่นี่มันคือสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ
ภายในสถูปที่รำลึกนี้สร้างขึ้นโดยรัฐบาลกัมพูชาในปีค.ศ. 1988 เพื่อเป็นที่ระลึกแด่ผู้ที่เสียชีวิตที่เจืองเอ็กแห่งนี้ ก่อนหน้านั้นศพของพวกเขาเก็บอยู่ในเรือนไม้ชั่วคราว ต่อมาในปีค.ศ. 2011 มีทุ่งสังหารอีกมากกว่า 300 แห่งได้ถูกค้นพบในกัมพูชา โดยประมาณ 80 แห่งได้ก่อตั้งเป็นอนุสาวรีย์อย่างเป็นทางการและกลายเป็นอาคารที่รำลึก ส่วนทุ่งสังหารบางแห่งไม่ยังสามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากมีกับระเบิดห้อมล้อม หรือถูกซ่อนอยู่ในป่ารก และหลายแห่งสูญหายไปแล้ว
ก่อนที่จะเข้าไปในสถูปแห่งนี้จะต้องถอดรองเท้าวางไว้ที่ชั้นวางด้านหน้า เพื่อเป็นการแสดงความเคารพก่อนที่จะเข้าไป ภายในสถูปมีทั้งหมด 17 ชั้น จำนวนชั้นที่มีทั้งหมด 17 ชั้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงวันที่ 17 เมษายน 1975 วันที่เขมรแดงเข้ามาที่กรุงพนมเปญ กะโหลกหรือกระดูกของผู้เสียชีวิตที่เจืองเอ็ก ได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ ทั้งหมดถูกเรียงวางอยู่บนทุกชั้น 10
ส่วนชั้นแรกเก็บกะโหลกไว้ประมาณ 9,000 ชิ้น วางเรียงตามหมวดหมู่ทางวิทยาศาสตร์และติดสลากเรียบร้อย ชั้นบนจะเป็นที่เก็บกระดูกชิ้นใหญ่อื่นๆ เช่น กระดูกขาหรือแขน ส่วนกระดูกซี่โครง เชิงกราน และกระดูกชิ้นเล็กๆ ถูกทิ้งไว้ใต้พื้นดิน เพราะไม่มีที่มากพอจะแสดงทั้งหมด
เมื่อเดินออกจากสถูปจะมองเห็นอาคารที่อยู่ทางซ้ายมือ นั่นคือพิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเบื้องหลังของผู้ที่ก่อความน่าสะพรึงกลัวนี้ขึ้นในกัมพูชา มีเครื่องแบบเขมรแดง และเครื่องมือในการฆ่าด้วยเช่นกัน และมีภาพยนตร์แสดงภาพสถานที่แห่งนี้เมื่อครั้งแรกที่ค้นพบด้วย
ปัจจุบันศูนย์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เจืองแอ็กยังคงความสยดสยอง ภายใต้ต้นหญ้าสีเขียวชอุ่มที่ขึ้นปกคลุมรอบบริเวณ ทุกย่างก้าวของการย่ำเดินไป ก็เหมือนการเดินอยู่บนหลุมศพของชาวกัมพูชาหลายหมื่นคน แม้ความโหดร้ายนี้จะยุติไปแล้ว แต่ภาพในความทรงจำของหลายคนยังคงไม่ลบเลือน หากใครมาท่องเที่ยวที่กรุงพนมเปญแล้ว ลองหาโอกาสเข้ามาเยี่ยมชมพร้อมฟังเรื่องราวและรำลึกกับดินแดนแห่งความทรงจำแห่งนี้สักครา
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager